Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เช็คกระดานเรียงแถวผู้ประมูล!! ช่องเด็ก10ราย(จำนวน3ช่อง) ช่องข่าว 16ราย (จำนวน7ช่อง) ช่องวาไรตี้20ราย(จำนวน7ช่อง) ช่องHD 13ราย(จำนวน7ช่อง)


ประเด็นหลัก

แม้ว่าผู้ประกอบการหลายค่าย กำลังรอจิ๊กซอว์สุดท้ายค่าเช่าโครงข่าย เพื่อนำไปจัดแผนระดมทุนเตรียมงบประมาณสำหรับลงสนามประมูล "ทีวีดิจิทัล" เดือนต.ค. นี้ แต่มีหลายบริษัทเช่นกันที่ประกาศแผน พร้อมงบลงทุนเพิ่มช่วงชิงช่อง "ทีวีดิจิทัล" ที่จะเปิดประมูลครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปีของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย

กลุ่มธุรกิจหลักๆ ที่เตรียมจะเข้าประมูลในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก เริ่มจาก "ฟรีทีวี" ภาคเอกชน ชิงช่องเต็มเพดาน 3 ช่อง โดย บีอีซี เวิลด์ (ช่อง 3) มีความพร้อมทั้งคอนเทนท์ข่าวและวาไรตี้ สนใจประมูลช่องเอชดีและวาไรตี้ และอาจพ่วงช่องเด็ก,ช่อง 7 ในนาม "บีบีทีวี โปรดัคชั่น" ประกาศลงศึกทีวีดิจิทัลเช่นกัน จัดทัพใหญ่ทั้งบริษัทแม่และบริษัทในเครือ ร่วมทดลองเคาะประมูลทีวีดิจิทัล มาแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ช่อง 9 ในนาม บมจ.อสมท ครม.เห็นชอบแผนลงทุนทีวีดิจิทัลและโครงข่าย เตรียมงบไว้ถึง 5,000 ล้านบาท และสำรองเงินกู้ไว้อีก 11,000 ล้านบาท

ฟากกลุ่ม "สื่อสาร" สนใจร่วมวงชิงประมูลทีวีดิจิทัลเช่นกัน ด้วยเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่สามารถนำคอนเทนท์ ในกิจการบรอดแคสต์ไปต่อยอดดำเนินธุรกิจกับฝั่งโทรคมนาคม ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคมัลติแพลตฟอร์ม กลุ่มที่ประกาศเปิดตัวแล้ว คือ ไอ-สปอร์ต เครือสามารถฯ สนใจช่องข่าว, กลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่น ในนามทรูวิชั่นส์ สนใจทุกประเภท ทั้ง เด็ก, ข่าว, วาไรตี้ และ เอชดี แต่สามารถประมูลเต็มเพดานได้ 3 ช่อง โดยเตรียมนำช่องทีเอ็นเอ็น ไปออกอากาศทีวีดิจิทัล 1 ช่อง อีกทั้งมีความพร้อมด้านคอนเทนท์หลากหลายจากทรูวิชั่นส์ ที่ประกอบธุรกิจเคเบิลทีวีมากว่า 20 ปี





















______________________________________




นับถอยหลังชิง'ทีวีดิจิทัล' 4กลุ่มทุนเปิดศึก


นับถอยหลังชิง "ทีวีดิจิทัล" 4 กลุ่มทุนเปิดศึกประมูลช่อง


ขั้นตอนประมูลโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง จากทั้งหมด 48 ช่อง โดย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดกรอบเวลาประมูลไว้ต้นเดือนต.ค. นี้ เริ่มเข้าสู่กระบวนการนับถอยหลังตามกำหนดเวลาที่ กสทช. เตรียมการให้การออกอากาศทีวีดิจิทัลครั้งแรกของไทย มีขึ้นวันที่ 5 ธ.ค. นี้

โดยได้มอบใบอนุญาต "โครงข่าย" (Mux) ในกิจการใช้คลื่นความถี่อายุ 15 ปี ให้ผู้ประกอบการ 4 ราย ประกอบด้วย บมจ.อสมท, ไทยพีบีเอส, กรมประชาสัมพันธ์ และกองทัพบก ช่อง 5 ไปเมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นการจัดสรรใบอนุญาตแรกของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยใบอนุญาต 4 ประเภท คือ บริการโครงข่าย สิ่งอำนวยความสะดวก ช่องรายการ และ บริการประยุกต์ (โมบายทีวีและแอพพลิเคชั่น)

ขั้นตอนประมูล "ช่องรายการ" ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง อายุใบอนุญาต 15 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ (ประกาศประมูลทีวีดิจิทัล ) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้

หลังจากนั้น กสทช. ออกประกาศหนังสือเชิญชวน (Information Memorandum : I M) ให้ผู้สนใจเข้ามาซื้อซองประมูลช่องรายการ 4 ประเภท คือ ช่องเด็ก 3 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูล ช่องละ 140 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท, ช่องข่าว 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูล ช่องละ 220 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 2 ล้านบาท, ช่อง วาไรตี้ 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูล ช่องละ 380 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 5 ล้านบาท และช่องเอชดี 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูล ช่องละ 1,510 ล้านบาท เคาะประมูลครั้งละ 10 ล้านบาท คาดกระบวนการนี้จะอยู่ในเดือนก.ย. นี้ หรือ 30 วันก่อนการประมูล

มูลค่าราคาเริ่มต้นประมูลทั้ง 24 ช่อง อยู่ที่ 15,190 ล้านบาท เป็นเม็ดเงินที่เตรียมนำไปจัดสรรเป็น "คูปอง" ส่วนลดซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีดิจิทัลให้กับ 22 ล้านครัวเรือนไทยทั่วประเทศ

สิ่งที่ผู้ประกอบการเอกชนในอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์และคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ กำลังจับตามอง คือ การกำหนดราคาค่าใช้บริการโครงข่ายรายเดือนจากผู้ได้รับใบอนุญาตทั้ง 4 ราย ว่าจะเรียกเก็บอัตราใด เพราะถือว่าเป็น "ต้นทุน" ที่อาจสูงกว่ามูลค่าช่องรายการ ที่กำลังเตรียมประมูล เห็นได้จากราคาที่ อสมท ประกาศล่าสุด คือ ช่องเอชดี ปีละ 180 ล้านบาท และ ช่องมาตรฐาน (SD) ที่ปีละ 72 ล้านบาท โดยเป็นต้นทุนที่ช่องรายการต้องรับภาระตลอดอายุใบอนุญาต 15 ปี

แม้ว่าผู้ประกอบการหลายค่าย กำลังรอจิ๊กซอว์สุดท้ายค่าเช่าโครงข่าย เพื่อนำไปจัดแผนระดมทุนเตรียมงบประมาณสำหรับลงสนามประมูล "ทีวีดิจิทัล" เดือนต.ค. นี้ แต่มีหลายบริษัทเช่นกันที่ประกาศแผน พร้อมงบลงทุนเพิ่มช่วงชิงช่อง "ทีวีดิจิทัล" ที่จะเปิดประมูลครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปีของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย

กลุ่มธุรกิจหลักๆ ที่เตรียมจะเข้าประมูลในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก เริ่มจาก "ฟรีทีวี" ภาคเอกชน ชิงช่องเต็มเพดาน 3 ช่อง โดย บีอีซี เวิลด์ (ช่อง 3) มีความพร้อมทั้งคอนเทนท์ข่าวและวาไรตี้ สนใจประมูลช่องเอชดีและวาไรตี้ และอาจพ่วงช่องเด็ก,ช่อง 7 ในนาม "บีบีทีวี โปรดัคชั่น" ประกาศลงศึกทีวีดิจิทัลเช่นกัน จัดทัพใหญ่ทั้งบริษัทแม่และบริษัทในเครือ ร่วมทดลองเคาะประมูลทีวีดิจิทัล มาแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ช่อง 9 ในนาม บมจ.อสมท ครม.เห็นชอบแผนลงทุนทีวีดิจิทัลและโครงข่าย เตรียมงบไว้ถึง 5,000 ล้านบาท และสำรองเงินกู้ไว้อีก 11,000 ล้านบาท

ฟากกลุ่ม "สื่อสาร" สนใจร่วมวงชิงประมูลทีวีดิจิทัลเช่นกัน ด้วยเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่สามารถนำคอนเทนท์ ในกิจการบรอดแคสต์ไปต่อยอดดำเนินธุรกิจกับฝั่งโทรคมนาคม ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคมัลติแพลตฟอร์ม กลุ่มที่ประกาศเปิดตัวแล้ว คือ ไอ-สปอร์ต เครือสามารถฯ สนใจช่องข่าว, กลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่น ในนามทรูวิชั่นส์ สนใจทุกประเภท ทั้ง เด็ก, ข่าว, วาไรตี้ และ เอชดี แต่สามารถประมูลเต็มเพดานได้ 3 ช่อง โดยเตรียมนำช่องทีเอ็นเอ็น ไปออกอากาศทีวีดิจิทัล 1 ช่อง อีกทั้งมีความพร้อมด้านคอนเทนท์หลากหลายจากทรูวิชั่นส์ ที่ประกอบธุรกิจเคเบิลทีวีมากว่า 20 ปี

ด้าน ชินคอร์ป วางแผนเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัลรวม 3 ช่อง อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเป็นช่องเด็ก, ข่าว, วาไรตี้ หรือเด็ก, วาไรตี้, เอชดี ด้วยเห็นว่าธุรกิจทีวีดิจิทัลเป็น 1 ใน 4 ธุรกิจหลักของบริษัทด้านดิจิทัล คอนเทนท์ ในการขับเคลื่อนองค์กร ประกอบด้วย "เทเลคอม, มีเดีย, ไอที และ ดิจิทัล คอนเทนท์" กำหนดงบลงทุนเบื้องต้นราว 2,000 ล้านบาท

"โมโน โปรดักชั่น" ของกลุ่ม จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล สนใจร่วมประมูลเช่นกัน ทั้งช่องข่าว, วาไรตี้ หรือ เอชดี

เช่นเดียวกับกลุ่ม "สื่อสิ่งพิมพ์" ที่ขยายธุรกิจในรูปแบบมัลติ แพลตฟอร์ม มาก่อนหน้าการประกาศจัดสรรคลื่นทีวีดิจิทัลของ กสทช. ด้วยการเปิดช่อง "ทีวีดาวเทียม" โดย เครือเนชั่น เจ้าของช่องทีวีดาวเทียม รวม 3 ช่อง พร้อมร่วมประมูล 1 ช่อง เช่นเดียวกับเดลินิวส์ และ โพสต์ พับลิชชิ่ง ที่สนใจประมูลช่องข่าว ขณะที่ ไทยรัฐ เตรียมเปิดตัวไทยรัฐทีวี เดือนก.ย. นี้ กำลังศึกษาการประมูลช่องข่าวหรือวาไรตี้

กลุ่มธุรกิจ ทีวีดาวเทียมและคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ นับเป็นกลุ่มที่มีผู้เล่นจำนวนมากเตรียมพร้อมเข้าสู่เวทีประมูลทีวีดิจิทัล

กลุ่มทุนขนาดใหญ่ นำโดย "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" เจ้าของช่องทีวีดาวเทียม 10 ช่อง รวมถึงแพลตฟอร์ม "จีเอ็มเอ็ม แซท" ประกาศแผนลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท สำหรับร่วมประมูลเต็มเพดาน 3 ช่อง พร้อมนำช่อง "จีเอ็มเอ็ม วัน" ออกอากาศในช่องเอชดี หากชนะการประมูล

ด้าน อาร์เอส วางแผนเข้าร่วมประมูล 1 ช่อง ประเภทวาไรตี้ ด้วยการนำช่อง 8 ที่ออกอากาศทางทีวีดาวเทียมไปสู่ทีวีดิจิทัล

ขณะที่ "เวิร์คพอยท์" จับมือเป็นพันธมิตรกับ "พีเอสไอ" วางแผนเข้าร่วมประมูลช่องเด็กและวาไรตี้ หรือช่องเอชดี

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มทีวีดาวเทียมช่องข่าว ไม่ว่าจะเป็น สปริงนิวส์, วอยซ์ทีวี ได้ประกาศตัวเข้าร่วมชิงทีวีดิจิทัลช่องข่าวเช่นกัน ขณะที่ ทีวีดาวเทียม ในกลุ่มเด็กและวาไรตี้ สนใจประมูลช่อง

ตามคอนเทนท์ที่ถนัด เช่น โรสมีเดีย, อมรินทร์พริ้นติ้ง, เอ็มแชนแนล บริษัทร่วมทุนเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ กันตนา รวมทั้งกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นโอกาสในการขยายตัวสู่ธุรกิจโทรทัศน์ภายใต้ใบอนุญาต 15 ปี ที่มีความพร้อมด้านเงินทุน อย่างเช่น บางกอกมีเดียบรอดแคสติ้ง ซึ่งถือหุ้นโดย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของช่อง "อิน แชนแนล" ทาง ทรู วิชั่นส์ ประกาศตัวลงชิงช่องเอชดี ด้วยเช่นกัน

เวทีการแข่งขันประมูลทีวีดิจิทัลในเดือนต.ค. นี้ ช่องข่าวและวาไรตี้ ถือเป็น 2 ประเภทที่มีการแข่งขันสูง โดยมีผู้สนใจที่ประกาศตัวร่วมประมูลกว่า "เท่าตัว" ของจำนวนใบอนุญาตที่จัดสรรในแต่ละประเภท อาจจะเพิ่มอีกเมื่อใกล้เวลาประมูล สำหรับช่องเอชดีและเด็ก มีจำนวนใกล้เคียงจำนวนช่องที่จะเปิดประมูล

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130813/522840/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%96
%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%
87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8
%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5-
4%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9
%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.