Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2556 ปอท.และนายกปู ชี้(จะตรวจสอบในบางกรณีเท่านั้น) // LINE ประกาศไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวถือเป็นสิทธิสากล // เครือข่ายพลเมืองเน็ต แนะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ


ประเด็นหลัก

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ยืนยันการตรวจสอบ แชทไลน์ จะไม่กระทบกับสิทธิของประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากการตรวจสอบจะเป็นเพียงความผิดที่กระทบความมั่นคง กระทบความสงบเรียบร้อย และความผิดเกี่ยวกับศิลธรรม โดยปอท.ได้ติดต่อผู้ให้บริการไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทประเทศเกาหลี แต่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในญี่ปุ่น ให้ความร่วมมือกับไทยเป็นอย่างดี ขั้นตอนคือ ปอท. จะมีการตรวจสอบทั้ง3ความผิดให้แน่ชัดก่อน แล้วจึงประสานขอข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการขอความร่วมมือ ไม่จำเป็นต้องมีหมายศาล เพราะข้อมูลอยู่นอกราชอาณาจักร

จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะให้ข้อมูลย้อนหลัง 90วัน กับปอท. เฉพาะข้อมูลรายบุคคล ว่าใครติดต่อกับใคร ซึ่งจะไม่มีเนื้อหาที่พิมพ์หากัน ขณะเดียวกันสำหรับการตรวจสอบข้อมูลในโซเชียลมีเดียทั้งหมด ปอท.จะมีติดตามตรวจสอบเฉพาะบุคคลตามฐานข้อมูลกระทำความผิด มีด้วยกัน4ข้อ คือการซื้อขายอาวุธ ยาเสพติด การค้าประเวณี และการละเมิดลิขสิทธิ์


       น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวการควบคุมการใช้แอปพลิเคชัน "ไลน์" โดยยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับภัยความมั่นคง และมองว่าการที่ ปอท.จะดำเนินการนั้น เป็นเพียงบางกรณีและรายบุคคลเท่านั้น



"ไอซีที ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จาก ปอท. และไม่ได้ร่วมมือที่จะเข้าไปดำเนินการ เพราะไอซีทีไม่เห็นด้วยกับ นโยบาย ปอท.ในครั้งนี้  ข

ขณะเดียวกันรัฐไม่มีนโยบายปิดกั้น หรือล่วงละเมิด สิทธิเสรีภาพของประชาชน" รมว.ไอซีที ล่าสุดไลน์มีผู้ใช้งานแล้ว 200 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ใช้งานประมาณ 15 ล้านราย




เมื่อวันที่ 13 ส.ค. นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่ากองบังคับการปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี (ปอท.) จะตรวจสอบผู้ใช้บริการโซเชียลมีเดียในทางผิดกฎหมาย กระทบต่อความมั่นคง และศีลธรรมอันดี ว่า ล่าสุดทราบว่า ปอท. อยู่ระหว่างรอคำตอบจากญี่ปุ่น ว่าจะอนุมัติตามที่ขอได้หรือไม่ ซึ่งคาดว่าคำตอบมี 2อย่าง คือ 1.ตกลงให้ความร่วมมือ 2.ปฏิเสธ ซึ่งหากญี่ปุ่นปฏิเสธประชาชนก็ใช้ไลน์กันต่อไป แต่หากตกลงให้ความร่วมมือ เชื่อว่า หลายคน อาจหยุดใช้ไลน์ เพราะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมาก

ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวต่อว่า ประชาชนสามารถทำได้ 2ทาง ในการรักษาสิทธิ์ คือ 1.ร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2.ร้องศาลรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้ยังไม่กฎหมายเกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นต้องตีกลับไปที่กฎหมายใหญ่ คือรัฐธรรมนูญ




ไลน์ชี้แจงไม่ได้รับคำขอข้อมูลปอท.-ยันรักษาข้อมูลผู้ใช้


ไลน์ ชี้ไม่ได้รับคำขอข้อมูลทางการจาก ปอท. ยันรักษาข้อมูลและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
วันนี้ (13 ส.ค.)  LINE Corporation (ไลน์ คอร์ปอเรชั่น )ได้ชี้แจงว่า  ยังไม่ได้รับคำขออย่างเป็นทางการจากทางกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ดังนั้น ไลน์ จึงยังไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆในประเด็นดังกล่าวได้ในตอนนี้  ทั้งนี้ไลน์มีนโยบายหลักในการรักษาข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานและยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล


ทั้งนี้แอพพลิเคชั่นไลน์  เป็นแอพพลิเคชั่นโทรและส่งข้อความฟรี ทั่วโลกโดยไม่ต้องคำนึงถึงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถูกพัฒนาโดยเนเวอร์(Naver) ประเทศญี่ปุ่นในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นเมื่อเดือน มี.ค. 2554  และได้เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือน มิ.ย. 2554 ต่อมาได้ถูก บริษัท เอ็นเอชเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตรายใหญ่จากประเทศเกาหลีใต้เข้าถือหุ้น และเมื่อเดือน มี.ค. 2556 บริษัท เอ็นเอชเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท เอ็นเอชเอ็น เจแปน ได้แยกส่วนธุรกิจไลน์ออกมา โดยก่อตั้ง ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น ขึ้น เพื่อบริหารและพัฒนาธุรกิจของไลน์โดยเฉพาะ ปัจจุบันแอพลิเคชั่นไลน์มียอดผู้ใช้งานแล้ว 200 ล้านคนทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานจำนวน 15 ล้านราย (เม.ย 56) แต่ปัจจุบันมีตัวเลขผู้ใช้งานอย่างไม่เป็นทางการสูงถึง 20 ล้านรายแล้ว























______________________________________




ไอซีที ลั่น รัฐไม่มีนโยบายปิดกั้นแชท "ไลน์"


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ลั่นรัฐไม่มีนโยบายปิดกั้นแอพลิเคชั่นไลน์ ย้ำไลน์ใช้งานทั่วโลก และเป้นสิทธิเสรีภาพของทุกคน พร้อมเผยยังไม่มีความร่วมมือกับ ปทอ.ดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น...

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวกองบังคับการปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี (ปอท.) จะตรวจสอบผู้ใช้บริการโซเชียลมีเดียในทางผิดกฎหมาย กระทบต่อความมั่นคง และศีลธรรมอันดี ว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากไลน์ถือเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้กันทั่วโลกและเป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ไม่ควรถูกละเมิด ซึ่ง ปอท.ไม่จำเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบการใช้งานใดๆ และเซิร์ฟเวอร์หลักที่ใช้เก็บข้อมูลการใช้งานทั้งหมดก็เป็นของบริษัทผู้ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตไลน์จะอนุญาตหรือไม่ด้วย

"ไอซีที ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จาก ปอท. และไม่ได้ร่วมมือที่จะเข้าไปดำเนินการ เพราะไอซีทีไม่เห็นด้วยกับ นโยบาย ปอท.ในครั้งนี้  ข

ขณะเดียวกันรัฐไม่มีนโยบายปิดกั้น หรือล่วงละเมิด สิทธิเสรีภาพของประชาชน" รมว.ไอซีที ล่าสุดไลน์มีผู้ใช้งานแล้ว 200 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ใช้งานประมาณ 15 ล้านราย







โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/363207

______________________________________________


แนะฟ้อง ศาลรธน. คุ้มครองแชทไลน์


เครือข่ายพลเมืองเน็ต แนะปชช.ร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิ์แชทไลน์ ขณะที่เฝ้าจับตาญี่ปุ่นตอบตกลงหรือปฏิเสธ...

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่ากองบังคับการปราบปราม การกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี (ปอท.) จะตรวจสอบผู้ใช้บริการโซเชียลมีเดียในทางผิดกฎหมาย กระทบต่อความมั่นคง และศีลธรรมอันดี ว่า ล่าสุดทราบว่า ปอท. อยู่ระหว่างรอคำตอบจากญี่ปุ่น ว่าจะอนุมัติตามที่ขอได้หรือไม่ ซึ่งคาดว่าคำตอบมี 2อย่าง คือ 1.ตกลงให้ความร่วมมือ 2.ปฏิเสธ ซึ่งหากญี่ปุ่นปฏิเสธประชาชนก็ใช้ไลน์กันต่อไป แต่หากตกลงให้ความร่วมมือ เชื่อว่า หลายคน อาจหยุดใช้ไลน์ เพราะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมาก

ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวต่อว่า ประชาชนสามารถทำได้ 2ทาง ในการรักษาสิทธิ์ คือ 1.ร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2.ร้องศาลรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้ยังไม่กฎหมายเกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นต้องตีกลับไปที่กฎหมายใหญ่ คือรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ ส่วนตัวมองว่า สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายเพราะเรื่องนี้ยังไม่มีกฎหมายใดรองรับ แต่มองว่าไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม กรณีแชทดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในประเทศจีนแล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมแชท ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลจีน ในการมอนิเตอร์ และสามารถบล็อกข้อความที่ส่งผ่านได้ แต่สำหรับประเทศไทยมองว่า ประชาชนยังไม่มีความมั่นใจในการใช้อำนาจของรัฐบาล เพราะประชาชนไม่รู้ว่าเมื่อไรที่รัฐจะนำไปใช้ หรืออาจนำใช้ทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันรัฐสามารถขอดูข้อความโดยใช้ข้ออ้างของพ.ร.บ.ความั่นคงได้ แต่ในทางกลับกันก็ใช้้เป็นข้ออ้างไม่เปิดเผยข้อมูลของภาครัฐด้วย.





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/363200

__________________________________________________________


"ปู"โร่แจง ปอท.คุม LINE แค่บางกรณีและรายบุคคล


       น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวการควบคุมการใช้แอปพลิเคชัน "ไลน์" โดยยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับภัยความมั่นคง และมองว่าการที่ ปอท.จะดำเนินการนั้น เป็นเพียงบางกรณีและรายบุคคลเท่านั้น


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000100411&Keyword=line

________________________________________________________


ไลน์ชี้แจงไม่ได้รับคำขอข้อมูลปอท.-ยันรักษาข้อมูลผู้ใช้


ไลน์ ชี้ไม่ได้รับคำขอข้อมูลทางการจาก ปอท. ยันรักษาข้อมูลและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
วันนี้ (13 ส.ค.)  LINE Corporation (ไลน์ คอร์ปอเรชั่น )ได้ชี้แจงว่า  ยังไม่ได้รับคำขออย่างเป็นทางการจากทางกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ดังนั้น ไลน์ จึงยังไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆในประเด็นดังกล่าวได้ในตอนนี้  ทั้งนี้ไลน์มีนโยบายหลักในการรักษาข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานและยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล


ทั้งนี้แอพพลิเคชั่นไลน์  เป็นแอพพลิเคชั่นโทรและส่งข้อความฟรี ทั่วโลกโดยไม่ต้องคำนึงถึงเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถูกพัฒนาโดยเนเวอร์(Naver) ประเทศญี่ปุ่นในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นเมื่อเดือน มี.ค. 2554  และได้เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือน มิ.ย. 2554 ต่อมาได้ถูก บริษัท เอ็นเอชเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตรายใหญ่จากประเทศเกาหลีใต้เข้าถือหุ้น และเมื่อเดือน มี.ค. 2556 บริษัท เอ็นเอชเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท เอ็นเอชเอ็น เจแปน ได้แยกส่วนธุรกิจไลน์ออกมา โดยก่อตั้ง ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น ขึ้น เพื่อบริหารและพัฒนาธุรกิจของไลน์โดยเฉพาะ ปัจจุบันแอพลิเคชั่นไลน์มียอดผู้ใช้งานแล้ว 200 ล้านคนทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานจำนวน 15 ล้านราย (เม.ย 56) แต่ปัจจุบันมีตัวเลขผู้ใช้งานอย่างไม่เป็นทางการสูงถึง 20 ล้านรายแล้ว

http://www.dailynews.co.th/technology/225878

_____________________________________


อึ้ง! ปอท. จะคุมการเล่น LINE นักก.ม.-นักวิชาการ สับแหลก!


เป็นเรื่องทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ เพียงชั่วพริบตา หลังจาก พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ออกมาเปิดเผยว่า ได้ส่งทีมงานไปประเทศญี่ปุ่นและเข้าพบผู้บริหาร ของผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น ไลน์ (LINE) เพื่อขอความร่วมมือในการเข้าไปตรวจสอบข้อมูลการสนทนาผ่านแอพพลิเคชั่น  LINE  รวมถึงข้อมูลรายชื่อของผู้ใช้รายนั้นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งอยู่ระหว่างรอผู้ให้บริการพิจารณาว่าจะจะยอมรับคำร้องขอหรือไม่



นักกฎหมายสับทำไม่ได้ผิดก.ม.

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายเทคโนโลยี ให้สัมภาษณ์ว่า จากกรณีที่เป็นข่าว คิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถกระทำได้แน่ เนื่องจากผู้บริหารแอพพลิเคชั่น LINE ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถให้ข้อมูลได้ เพราะเป็นการผิดสัญญาและละเมิดสิทธิ์ เพราะการที่จะนำข้อมูลของผู้ที่ใช้บริการจากบริษัทแม่ของ LINE ที่ประเทศญี่ปุ่นมาเปิดเผยหมายความว่า ผู้ใช้บริการต้องกระทำความผิดตามก.ม.ของประเทศญี่ปุ่นด้วย

“การให้ข้อมูลของผู้ใช้บริการในลักษณะนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อศาลสั่ง ซึ่งข้อมูลตามที่ข่าวเสนอออกมา มองว่าเป็นเรื่องของจิตวิทยาที่ต้องการป้องปรามผู้ใช้งาน”

นายไพบูลย์ กล่าวย้ำว่า การขอข้อมูลมีได้สองทาง คือ 1.ขอข้อมูลเอกสารมาจากบริษัทแม่ของ LINE ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้อขอคำสั่งจากศาล และ2.ดักข้อมูลลับ ซึ่งผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

“ถ้าตำรวจนำข้อมูลที่ได้จาก LINE มาใช้เป็นหลักฐานเพื่อดำเนินการต่างๆ ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของชื่อ LINE นั้น สามารถฟ้องกลับตำรวจและบริษัทแม่ของ LINE ที่ญี่ปุ่นได้ทันที เพื่อให้ให้ชี้แจงการได้มาซึ่งข้อมูล”

นายไพบูลย์ มองว่า การออกมาให้ข่าวเรื่องการจะคุมการใช้งานแอพพลิเคชั่น LINE เป็นเพียงความต้องการลดกระแสการต่อต้านทางการเมืองเลยมาล่วงล้ำสิทธิ์ของประชาชนในการติดต่อสื่อสาร



นักวิชาการชี้ทำยาก “ละเมิดสิทธิ์”

ความเห็นจากนักวิชาการคอมพิวเตอร์ เปิดเผยว่า การใช้แอพพลิเคชั่นสนทนา "ไลน์ (LINE)" มีการใส่อีเมล์ลงทะเบียนเข้าใช้ ปัจจุบันสามารถเล่นได้ทั้งบนโทรศัพพ์มือถือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊ค แม้จะเป็นเพจในตัว แต่เห็นว่าข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการสนทนาหรือแชท มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงถือว่ามีปริมาณข้อมูลมหาศาล โดยทั่วไปผู้ให้บริการมักไม่เก็บข้อมูลสนทนาเหล่านี้ไว้ ดังนั้นเรื่องการตรวจสอบจึงค่อนข้างยาก อาจทำในลักษณะตรวจแบบสืบย้อนตามหาต้นทางการเผยแพร่ข้อมูลบางอย่างเป็นการเฉพาะมากกว่า แต่ทั้งนี้การเข้าไปดูข้อมูลการสนทนาของผู้อื่น โดยที่เจ้าตัวไม่รู้และไม่ได้อนุญาตย่อมให้ความรู้สึกถูกละเมิดสิทธิพื้นฐานในการแสดงออก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่น LINE  ในไทยมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้งาน 15 ล้านคน.

http://www.dailynews.co.th/technology/225733

_____________________________________________


ปอท.เผยขั้นตอนตรวจสอบแชทไลน์ กระทบความมั่นคง 4 กรณี ค้าอาวุธ ประเวณี ยาเสพติด ละเมิดลิขสิทธิ์


พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) ยืนยันการตรวจสอบ แชทไลน์ จะไม่กระทบกับสิทธิของประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากการตรวจสอบจะเป็นเพียงความผิดที่กระทบความมั่นคง กระทบความสงบเรียบร้อย และความผิดเกี่ยวกับศิลธรรม โดยปอท.ได้ติดต่อผู้ให้บริการไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทประเทศเกาหลี แต่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในญี่ปุ่น ให้ความร่วมมือกับไทยเป็นอย่างดี ขั้นตอนคือ ปอท. จะมีการตรวจสอบทั้ง3ความผิดให้แน่ชัดก่อน แล้วจึงประสานขอข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการขอความร่วมมือ ไม่จำเป็นต้องมีหมายศาล เพราะข้อมูลอยู่นอกราชอาณาจักร

จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะให้ข้อมูลย้อนหลัง 90วัน กับปอท. เฉพาะข้อมูลรายบุคคล ว่าใครติดต่อกับใคร ซึ่งจะไม่มีเนื้อหาที่พิมพ์หากัน ขณะเดียวกันสำหรับการตรวจสอบข้อมูลในโซเชียลมีเดียทั้งหมด ปอท.จะมีติดตามตรวจสอบเฉพาะบุคคลตามฐานข้อมูลกระทำความผิด มีด้วยกัน4ข้อ คือการซื้อขายอาวุธ ยาเสพติด การค้าประเวณี และการละเมิดลิขสิทธิ์
ซึ่งศูนย์โซเชี่ยลมีเดียของ ปอท.และสตช. จะคอยตรวจสอบผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง และใช้เทคโนโลยีที่สามารถหาเนื้อหาเฉพาะส่วนที่เป็นความผิด เพื่อดำเนินคดีตามกฏหมาย ดังนั้น ผู้ที่เล่นเฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ และโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ ต้องระวังการเผยแพร่ เช่นการกดไลค์ และการแชร์ เพราะจะถือเป็นความผิดทันที ซึ่งปอท.มีอำนาจในการเรียกตัวมาสอบปากคำ ว่ามีเจตนากระทำความผิดนั้นๆหรือไม่


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376387213

_____________________________________


ตำรวจแถลงดักข้อมูล LINEเฉพาะอาชญากรรมและความมั่นคงเท่านั้น!



จากกรณีที่มีข่าวว่าทางตำรวจจะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลการสนทนาในแอพพลิเคชั่น LINE ซึ่งเป็นละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้น ตอนนี้ทางผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ออกมาให้ข้อมูลแล้วว่าจะเข้าไปดักจับข้อมูลเฉพาะของผู้ใช้ที่มีแนวโน้มใช้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย กระทบต่อความมั่นคง กระทบต่อศีลธรรมอันดี โดยการขอนั้นจะขอเป็นกรณีๆไป ซึ่งทาง NAVER ต้นสังกัด LINE ก็ยินดีให้ความร่วมมือ



 รูปจากสำนักข่าว Tnews
รูปจากสำนักข่าว Tnews



จากข่าวบอกว่าเรื่องนี้มีการติดต่อไปตั้งแต่ต้นปีแต่เพิ่งได้รับการตอบรับให้ไปคุยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และจริงๆ แล้วก็ไม่ได้จะขอตรวจสอบข้อมูลการสนทนาแค่เฉพาะ LINE เท่านั้น แต่จะขอตรวจสอบข้อมูลการสนทนาในโซเชียลมีเดียอื่นๆ ด้วย ซึ่งทางตำรวจก็ได้มีการติดต่อไปที่ WhatApps ,Facebook และ Youtube ด้วย แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าไหร่

ปล.เรื่องการดักฟังข้อมูลเพื่อป้องกันการก่อการร้ายนั้นเป็นประเด็นที่เราเห็นในหนังหลายเรื่อง ล่าสุดมีกรณี PRISM ที่ความแตกว่าสหรัฐมีการดักข้อมูลเน็ตทั่วโลก ซึ่งแม้จะอ้างเรื่องความมั่นคงแต่ก็ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอยู่ดี

ที่มา-ข่าวสด

 http://www.i3.in.th/content/view/7674

__________________________________________



เตรียมโดนเช็ค จากนี้ LINE จะไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป
โดย hypertext78

ข่าวร้อนแรงในโลกออนไลน์ตอนนี้คงไม่พ้นการที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) จะเข้ามาควบคุมการสนทนาของเราๆ ด้วยการแอบอ่าน (ศัพท์เทคนิคใช้คำว่า “ดักฟัง”) ข้อความสนทนาของเราๆ ทุกคน ด้วยเหตุผลว่า เพื่อการป้องกันเหตุอาชญากรรมทางโลกไซเบอร์


ก่อนจะไปถึงขั้นตอนว่า ปอท ได้ทำอะไรไปแล้วบ้างมาพูดถึงแอพลิเคชันชื่อดังอย่าง LINE กันบ้าง

LINE นั้นเป็นแอพสำหรับการสนทนา เช่นเดียวกับ Facebook Chat, WeChat, Whatsapp โดยสามารถสนทนาบุคคลเดี่ยวๆ เป็นการส่วนตัว หรือจับกลุ่มสนทนาได้ โดย LINE นั้นมีการติดต่อกับเซอร์เวอร์ที่มีการเข้ารหัส (เปรียบเสมือนล็อกกุญแจไว้) ทำให้เมื่อทำการดักข้อมูลแล้วก็ไม่สามารถอ่านข้อความที่ได้มาว่าข้อความนั้นเขียนไว้ว่าอย่างไร จนกว่าจะทำการถอดรหัส (ด้วยวิธีต่างๆ) หรือมีกุญแจถอดรหัสจากผู้สร้างมาไขตัวกุญแจที่ล็อกไว้

ถ้า LINE ไม่ได้เป็นบริการที่มีการเข้ารหัส บางทีทาง ปอท อาจจะแอบอ้างความเป็นภาครัฐ และดูแลความมั่นคงเข้าไปขอดูข้อความที่วิ่งผ่านไปมาจาก ISP ต่างๆ โดยตรงแล้วก็ได้ แต่เนื่องจากว่าข้อความเหล่านั้นมีการเข้ารหัส ทำให้ทาง ปอท แก้ไขด้วยการติดต่อคุยกับ Naver Japan ผู้พัฒนาและให้บริการ

ทาง ปอท. ท่าน พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการฯ ก็ออกมาเปิดเผยว่าการตรวจสอบนั้นจะมีการตรวจสอบเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายต้องสงสัยว่าจะทำธุรกิจ หรือเจตนาจะกระทำผิดกฏหมายเท่านั้น ไม่ใช่ประชาชนทั่วไปที่มีการดำเนินชีวิตตามปกติ เช่น พวกที่โพสต์ขายปืน อาวุธ สิ่งผิดกฏหมาย กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทางการเมืองที่เข้าข่ายยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย

คำถามก็คือว่าเมื่อทางภาครัฐมีอำนาจในการตรวจสอบในมือ (ถ้าการเจรจากับ Naver Japan สำเร็จ) แล้วจะจำแนกได้อย่างไรว่าบุคคลที่เป็นกลุ่มเข้าข่ายนั้นใช้ Account หรือ Username ว่าอะไร นอกเสียจากว่าทำการตรวจสอบตลอดเวลา

นอกจากนี้ทาง ปอท ยังเผยอีกว่าไม่ได้ตรวจสอบเฉพาะแค่ LINE เท่านั้น แต่รวมไปถึง Social Network ทั้งหมด (Facebook, Twitter, Instagram, WeChat, Whatsapp, LINE, YouTube, Google+ และอื่นๆ เข้าข่ายทั้งสิ้น) สำหรับ LINE นั้นได้ทำการติดต่อไปตั้งแต่เมื่อต้นปี แต่ทาง Naver Japan เพิ่งติดต่อกลับเพื่อให้ไปคุยสัปดาห์ที่ผ่านๆ มา

ด้านนักกฏหมายก็ออกมาชี้แจงว่า LINE นั้นเป็นแอพที่พัฒนาในประเทศญี่ปุ่น การนำข้อมูลเหล่านั้นออกมาเปิดเผยหมายความว่าผู้ใช้บริการเหล่านั้นจะต้องละเมิดกฏหมายของญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้เป็นข้อมูลจากทางฝั่งภาครัฐของประเทศไทยเพียงฝ่ายเดียว เรายังไม่ได้ยินข่าวว่าทาง Naver Japan บริษัทแม่ของ LINE จะยอมรับข้อเสนอ หรือปฏิเสธความร่วมมือแต่ประการใด

สำหรับผู้ที่จะทำการแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเกรี้ยวกราดก็ขอให้ระลึกเสมอว่า ปอท จะตรวจสอบทุก Social Network ดังนั้นการแสดงความเห็นที่หยาบคาย นั้นล้วนแต่จะส่งผลลบกับตัวท่านอย่างชัดเจน เพราะท่านถูกจับตาดูอยู่จากทางภาครัฐทุกฝีก้าวเลยก็ว่าได้

ที่มา: Manager, Khaosod, Daily News
http://www.mxphone.net/130813-line-is-nomore-freedom-of-speech/

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.