Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 สิงหาคม 2556 กสทช.มีมติ 9 ต่อ 2 เสียง นำร่างเยี่ยวยา 1800 ป้องกันซิมดับ ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยคาดมีผลวันที่ 25 ส.ค.2556 (รายได้สุทธิทั้งหมดต้องส่งรัฐ)


ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) มีมติ 9 ต่อ 2 เสียง ในการพิจารณาร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... หลังจากนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยคาดมีผลวันที่ 25 ส.ค.2556

สำหรับ 2 เสียงข้างน้อย คือ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และ นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากเห็นว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการขยายสิทธิ์ให้บริการกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) อีกทั้ง ทางคณะทำงานในเรื่องนี้ที่มี นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธานยืนยันอำนาจของ กสทช. ตามมาตรา 15 และ มาตรา 20 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่กำหนดผู้ให้บริการจะหยุดให้บริการไม่ได้จนกว่าจะได้รับคำสั่งจาก กสทช. ซึ่งระหว่างที่ กสทช. รอการจัดประมูล มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ
นอกจากนี้ ยังมี พ.ร.บ.เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่รองรับอำนาจของกระทรวงการคลังในการรับเงินรายได้ระหว่างที่เอกชนทั้ง 2 รายบริหารจัดการคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงเวลา 1 ปี ได้หลังหักค่าเช่าโครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมาย และ ค่าบริหารจัดการ


______________________________________




กสทช.ไฟเขียวร่างเยียวยาซิมดับ


กสทช. อนุมัติร่าง เยียวยา 1800 ป้องกันซิมดับยันมีกฎหมายรองรับ คาดมีผลบังคับใช้ทัน 25 ส.ค. นี้

นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสทช. มีมติ 9 ต่อ 2 เห็นชอบผลการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป และเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... โดยหลังจากนี้จะนำร่างประกาศ กสทช. ดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ผลการรับฟังความเห็นในประเด็นหลัก ๆ คือ การย้ายลูกค้าไปยังผู้ให้บริการรายอื่นก่อนสิ้นสัญญาสัมปทาน ต้องเป็นไปโดยสมัครใจของผู้บริโภค, ให้บริการต่อเนื่องเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภายในระยะเวลา 1 ปี พร้มประชาสัมพันธ์ผู้ใช้บริการเปลี่ยนไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นมากที่สุด และผู้แทนกระทรวงการคลังได้แสดงความเห็นว่าการหยุดรับลูกค้าใหม่เป็นการดำเนินการตามมาตรการชั่วคราว

ในส่วนของรายได้ ให้แสดงรายได้ รายจ่าย และให้นำรายได้เหลือจากการหักรายจ่ายนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และควรให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) และบริษัท ทรู มูฟ จำกัด (True Move) รวมถึงบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (DPC) จัดทำแผนดำเนินการให้บริการในช่วงมาตรการเยียวยาเพื่อนำเสนอ กทค. ทั้งนี้ในส่วนของการนำคลื่นที่ประมูลได้ไปใช้ให้บริการกับเทคโนโลยีใดเป็นสิทธิของผู้ประมูลได้ การดำเนินการของ กสทช. ในครั้งนี้เป็นไปโดยฐานอำนาจปกครอง เป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ให้เป็นกฎเกณฑ์

นายแก้วสรร อติโพธิ พร้อมคณะทำงานได้ชี้แจงถึงประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นในการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ได้แก่ ประเด็นที่ 1 เรื่องฐานอำนาจทางกฎหมาย กสทช. มีฐานอำนาจในการดำเนินการตามพ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 20 ที่กำหนดว่า ผู้ให้บริการจะหยุดการให้บริการไม่ได้นอกจากจะได้รับความเห็นชอบจาก กสทช.  และมาตรา 15 ว่า ในการคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. สามารถกำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการเพิ่มเติมได้ ซึ่งในกรณีนี้สัญญาของ CAT True และ DPC ยังไม่สิ้นสุด ทาง กสทช. จึงได้กำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค

ประเด็นที่ 2 เรื่อง ผู้ให้บริการ ในร่างประกาศฉบับเดิม “ผู้ให้บริการ” ให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการผู้ใช้บริการในระยะเวลาตามมาตรการเยียวยาเท่านั้น เมื่อเข้าสู่การพิจารณาในบอร์ด กทค. ได้มีความเห็นว่าผู้ให้บริการหมายถึง บมจ. กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด อีกสัญญาหนึ่งหมายถึง บมจ. กสท โทรคมนาคม และบริษัท ดีพีซี  โดยช่วงเวลาตามมาตรการเยียวยาจะไม่มีผู้รับใบอนุญาต ไม่มีผู้ให้สัมปทาน ผู้รับสัมปทาน คู่สัญญาสัมปทานเดิมเคยดำเนินการอย่างไร  ก็ให้ดำเนินการอย่างนั้นต่อไป (Stand Still)

ประเด็นที่ 3 เรื่อง เงินรายได้ที่จะนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ตามร่างประกาศฉบับนี้ ในช่วงเวลาเยียวยา รายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นถือเป็นรายได้ของแผ่นดิน จะนำส่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 3 ส่วน   คือ ค่าต้นทุนโครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมาย และต้นทุนรายจ่ายในการบริหารจัดการ ส่งเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน โดยจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างมาตรการเยียวยาขึ้น

ประเด็นที่ 4 เรื่อง ร่างประกาศฉบับนี้เป็นการขยายเวลาสัมปทานหรือไม่ ร่างประกาศฉบับนี้ เป็นแนวทาง เป็นทางเลือกสำหรับประชาชน กรณีเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เนื่องจากเลขหมายที่ค้างอยู่ในระบบขณะนี้มีถึง 17 ล้านเลขหมายไม่สามารถดำเนินการให้ยุติการใช้หรือย้ายระบบได้ทันที

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%
E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/240486/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B
8%97%E0%B8%8A-
%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%
E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E
0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A

________________________________________________________________


กสทช.ส่งร่างคุ้มครองมือถือลงราชกิจจาฯ


กสทช.ไฟเขียว ร่างมาตรการคุ้มครองมือถือ 1800 เมกะเฮิร์ตซ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา ใช้งบประชาสัมพันธ์ 10 ล้านบาท เตรียมถกค่ายมือถือสัปดาห์หน้า
วันนี้(14ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่า ที่ประชุมกสทช.พิจารณาเห็นชอบร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ....นำไปลงประกาศราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 25 ส.ค. 56 โดยให้ประชาชนเตรียมความพร้อมถึงการหมดสัญญาสัมปทานมือถือ 2 จี คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ ของผู้ให้บริการบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)  ขณะเดียวกันกำหนดว่า ผู้ให้บริการจะหยุดให้บริการไม่ได้จนกว่าจะได้รับคำสั่งจากกสทช. ในระหว่างรอจัดประมูล มีสิทธิที่จะดำเนินการใดๆ เพื่อปกป้องไม่ให้ผู้ใช้บริการเกิดปัญหาซิมดับ

นอกจากนี้ภายในสัปดาห์หน้ากสทช. เชิญผู้ให้บริการ 3 รายคือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทรูมูฟ จำกัด , และดีพีซี เข้าหารือถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการมือถือในระบบ 1800 เมกะเฮิร์ตซและให้ลูกค้าสามารถโทรศูนย์คอลเซ็นเตอร์ ได้ฟรี ในเบื้องต้นกสทช.ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือโทรทัศน์ฟรีทีวี ทำตัววิ่งประชาสัมพันธ์ข้อมูล สมาคมธนาคารไทยก็จะแจ้งข้อมูลผ่านตู้กดเงินสดเอทีเอ็มทั่วประเทศ ถึงวันหมดสัญญาสัมปทานมือถือวันที่ 15 ก.ย.56 ทั้งนี้กสทช.ตั้งวงเงินค่าใช้ประชาสัมพันธ์ไว้จำนวน 10 ล้านบาท

นายฐากร กล่าวว่า ที่ประชุมอนุมัติเงินให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เพื่อสนับสนุนติดตั้งไว ไฟ ฟรี จำนวน 3 แสนจุด จำนวน 950 ล้านบาททั้งหมด ไม่ต้องแบ่งจ่ายเป็นงวด เพื่อให้กระทรวงไอซีที ไปดำเนินการติดตั้งไว ไฟ ได้รวดเร็วขึ้น

http://www.dailynews.co.th/technology/226041

_______________________________________________


มติบอร์ด กสทช.9:2 ผ่านร่างคุ้มครองซิมดับ


มติบอร์ด กสทช.9 ต่อ 2 เสียง ให้ผ่านร่างประกาศ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 MHz ขณะที่ เลขาฯ เผยใช้งบ 10 ล้านบาท ประชาสัมพันธ์ก่อนซิมดับ 15 ก.ย.นี้...


เมื่อวันที่ 14 ส.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) มีมติ 9 ต่อ 2 เสียง ในการพิจารณาร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... หลังจากนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยคาดมีผลวันที่ 25 ส.ค.2556

สำหรับ 2 เสียงข้างน้อย คือ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และ นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากเห็นว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการขยายสิทธิ์ให้บริการกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) อีกทั้ง ทางคณะทำงานในเรื่องนี้ที่มี นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นประธานยืนยันอำนาจของ กสทช. ตามมาตรา 15 และ มาตรา 20 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่กำหนดผู้ให้บริการจะหยุดให้บริการไม่ได้จนกว่าจะได้รับคำสั่งจาก กสทช. ซึ่งระหว่างที่ กสทช. รอการจัดประมูล มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้เกิดปัญหาซิมดับ
นอกจากนี้ ยังมี พ.ร.บ.เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่รองรับอำนาจของกระทรวงการคลังในการรับเงินรายได้ระหว่างที่เอกชนทั้ง 2 รายบริหารจัดการคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงเวลา 1 ปี ได้หลังหักค่าเช่าโครงข่าย ค่าธรรมเนียมเลขหมาย และ ค่าบริหารจัดการ

นายฐากร กล่าวอีกว่า หลังประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ทรูมูฟ และดีพีซี จะต้องส่งแผนคุ้มครองลูกค้าหลังสิ้นสุดสัมปทานภายใน 15 วัน และไม่สามารถหยุดให้บริการลูกค้าได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามทำการตลาดในระบบเดิม รวมทั้งต้องเร่งแจ้งลูกค้าให้รับทราบว่าสัมปทานจะสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2556 โดยจะเรียกผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย มาประชุมร่วมในต้นสัปดาห์หน้า เพื่อกำชับให้ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้บริโภคอย่างเร่งด่วน อีกทั้ง ยังจัดสรรงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท ในการประชาสัมพันธ์ก่อนซิมดับ และขอความร่วมมือไปยังฟรีทีวีทุกช่อง สมาคมธนาคารไทย ให้ขึ้นข้อความประชาสัมพันธ์ที่ตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ยังอนุมัติงบประมาณติดตั้งฟรีไวไฟจำนวน 950 ล้านบาท ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) รอบเดียวทั้งหมด โดยเร่งให้ติดตั้งแล้วเสร็จกว่า 3 แสนจุดทั่วประเทศ.


โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/tech/363448

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.