Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา หวั่นราคาโครงข่ายแพง ทำผู้ประมูลคิดมาก เหตุบริการโครงข่ายถือเป็นบริการกึ่งผูกขาดและกึ่งสาธารณะที่ไม่ควรจะค้ากำไรมากเกินไป


ประเด็นหลัก

สำหรับราคาค่าเช่าที่ได้ข้อสรุปเบื้องต้น คือ 4.7-5 ล้านบาท สำหรับช่องรายการทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (เอสดี) และช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง (เอชดี) ซึ่งได้รับการท้วงติงจากผู้ประกอบการเอกชนเกือบทุกรายว่ามีราคาสูงเกินไป ซึ่งการประชุมบอร์ดวันที่ 14 ต.ค. จะถกกันถึงที่มาของราคาดังกล่าวและการคำนวณต่างๆ ว่าสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่ ขณะที่บอร์ดต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทั้ง 4 ราย ได้แก่ ช่อง 5 ช่อง 11 อสมท และไทยพีบีเอส ปรับลดราคาลงให้ต่ำกว่าเดิม เนื่องจากการให้บริการโครงข่ายถือเป็นบริการกึ่งผูกขาดและกึ่งสาธารณะที่ไม่ควรจะค้ากำไรมากเกินไป และบางรายเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย


______________________________________



กสท. หวั่นราคาโครงข่ายแพง ดึงประมูลทีวีดิจิตอลสะดุด!


"สุภิญญา กลางณรงค์" กรรมการ กสท. หวั่นค่าเช่าโครงข่ายแพง ทำเอกชนยื่นซองน้อย เล็งถกผู้ให้บริการ 4 ราย ลดราคา ชี้ไม่ควรค้ากำไรเกินควร...

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ขณะนี้ มีความกังวลเรื่องราคาค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลเบื้องต้น ที่ค่อนข้างสูงเกินไปและอาจทำให้คณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ต้องพิจารณาใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการประมูลทีวีดิจิตอลที่อาจทำให้มีผู้ประกอบการมายื่นซองน้อยลงกว่าเดิม จากที่ซื้อเอกสารไปทั้งหมด 33 ราย

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ราคาค่าเช่าโครงข่ายเป็นต้นทุนและปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการที่จะต้องตัดสินใจเข้าประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจทั้ง 24 ช่อง และจะต้องชี้แจงให้เอกชนทราบภายในวันที่ 15 ต.ค. และ 22 ต.ค. ที่ผู้ให้บริการโครงข่ายจะต้องมาชี้แจง แต่บอร์ดมีเวลาพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมดเพียงวันเดียว คือ การประชุมบอร์ดในวันที่ 14 ต.ค. ขณะที่การพิจารณาเรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลาหารืออย่างรอบคอบมากกว่านี้

สำหรับราคาค่าเช่าที่ได้ข้อสรุปเบื้องต้น คือ 4.7-5 ล้านบาท สำหรับช่องรายการทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (เอสดี) และช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง (เอชดี) ซึ่งได้รับการท้วงติงจากผู้ประกอบการเอกชนเกือบทุกรายว่ามีราคาสูงเกินไป ซึ่งการประชุมบอร์ดวันที่ 14 ต.ค. จะถกกันถึงที่มาของราคาดังกล่าวและการคำนวณต่างๆ ว่าสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่ ขณะที่บอร์ดต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทั้ง 4 ราย ได้แก่ ช่อง 5 ช่อง 11 อสมท และไทยพีบีเอส ปรับลดราคาลงให้ต่ำกว่าเดิม เนื่องจากการให้บริการโครงข่ายถือเป็นบริการกึ่งผูกขาดและกึ่งสาธารณะที่ไม่ควรจะค้ากำไรมากเกินไป และบางรายเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย

ขณะที่การเสนอราคาค่าเช่าจากทั้ง 4 รายนั้น พบว่ามีการปรับราคาขึ้น โดยอิงจากราคาค่าเช่าสูงสุด ที่อสมท เสนอมาคือ 5 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท จากเดิมที่ไทยพีบีเอสเสนอต่ำสุดที่ 4.7 ล้านบาท ช่องเอสดี และช่องไฮเดฟ เสนอที่ 9 ล้านบาท ตามด้วยช่อง 11 เสนอที่ 13.5 ล้านบาท และช่อง 5 เสนอที่ 14.3 ล้านบาท









โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/375947

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.