Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ตุลาคม 2556 NSN ชี้หากค่ายมือถือไทยชีคนไทยมี 4G ผู้ให้บริการควรคิดค่าบริการลดลงหรืออย่างน้อยเท่าเดิมกับที่คิดอยู่ในปัจจุบัน


ประเด็นหลัก


ฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือของโนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส หรือ เอ็นเอสเอ็น กล่าวว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโมบายในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 200-300 เมกะไบต์ต่อเดือน ถือว่าน้อยมาก แต่มีอัตราการเติบโตสูง จากที่มีบริการ 3จี ซึ่งเชื่อว่าหากมีบริการ 4จี เกิดขึ้น จะเติบโตแบบก้าวกระโดดยิ่งกว่าเดิมอีกมาก และอนาคตอาจจะเพิ่มได้ถึง 1 กิกะไบต์

นั่นหมายความว่าผู้ใช้สามารถดูวิดีโอสตรีมมิงได้ 2 ชั่วโมง ฟังเพลงได้ประมาณ 200 เพลง ใช้งานเฟซบุ๊ก และอ่านหนังสืออีบุ๊กออนไลน์ รวมถึงการรับส่งอีเมลอีกหลายหมื่นฉบับ นอกจากนี้ยังสามารถเล่นเกมโซเชียลออนไลน์ เชื่อมต่อระบบคลาวด์คอมพิวติง วิดีโอคอลหาคนรู้จัก เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการแล้ว ในด้านผู้ผลิตและพัฒนาบริการและคอนเทนต์ก็จะเติบโตด้วยเช่นกัน

สำหรับในประเทศไทย ผู้ให้บริการควรคิดค่าบริการลดลงหรืออย่างน้อยเท่าเดิมกับที่คิดอยู่ในปัจจุบัน แล้วผู้ใช้จะเพิ่มปริมาณการใช้งานขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องคิดค่าบริการสูงขึ้น โดยในต่างประเทศพบว่าหลังเปิดให้บริการ 4จี แอลทีอีแล้ว คนใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากขึ้น และเพิ่มรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ต 20% ในทันที ขณะที่บางประเทศที่คิดค่าบริการสูงขึ้น คนจะใช้เปลี่ยนมาใช้งานน้อยและเพิ่มปริมาณไม่มาก


______________________________________



"4จีแอลทีอี"เทคโนโลยีที่ไทยควรมี(ได้แล้ว)

โดย...พรหมเมศร์ ศิริสุขวัฒนานนท์

ใครหลายคนน่าจะได้มีโอกาสใช้บริการ 4จี ของทรูมูฟ เอช ที่ให้บริการอยู่ในเขตสยามสแควร์ ใจกลางกรุงเทพมหานคร และอยู่ระหว่างขยายโครงข่ายไปจุดต่างๆ ซึ่งเป็นบริการบนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งตัดแบ่งมาให้บริการจากที่มีความกว้างประมาณ 15 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ถือว่าน้อยมาก และใช้งานได้จำกัด

ดังนั้นเป้าหมายของการให้บริการ 4จี จึงเปลี่ยนมาที่คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ทันที ซึ่งเป็นคลื่นที่ทั่วโลกกำหนดเป็นมาตรฐานให้ใช้สำหรับบริการ 4จี เนื่องจากเดิมคลื่นย่านนี้ให้บริการ 2จี อยู่ แต่เมื่อหมดยุคแล้วจึงเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนในการนำคลื่นเก่ากลับมาให้บริการใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ซึ่งประเทศไทยเองคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่หมดสัญญาสัมปทาน คือ ของ ดีพีซี และทรูมูฟ ซึ่งเบ็ดเสร็จมีความกว้างประมาณ 20 เมกะเฮิรตซ์ จึงมีผู้ให้บริการสนใจอยากให้จัดสรรคลื่นใหม่เพื่อนำไปให้บริการ 4จี

น่าเสียดายที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ยืดระยะเวลาจัดสรรคลื่นออกไปเป็นปี 2557 แต่ในอีกมุมหนึ่ง ดีแทค ก็ได้เสนอให้นำคลื่น 1800 อีก 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่เหลืออยู่ไม่ได้ใช้งานให้มารวมกันเป็น 45 เมกะเฮิรตซ์ จัดประมูลใหม่ทีเดียวไปเลย แต่นั่นก็เป็นเรื่องในอนาคตอีกเช่นกัน

คำถามที่ว่า ประเทศไทยควรมีบริการ 4จี แล้วหรือไม่ ถ้ามีแล้วจะได้ประโยชน์อะไร จากการสำรวจในประเทศไทย พบว่าหลังจากมีบริการ 3จี เกิดขึ้น การใช้งานเฟซบุ๊กเพิ่มเป็น 18 ล้านราย จาก 14  ล้านรายในปีที่ผ่านมา บริการทวิตเตอร์เพิ่มเป็น 2 ล้านราย จาก 1.3 ล้านราย อินสตาแกรม 6 แสนราย จากเดิม 2.4 แสนราย และที่เห็นการเติบโตสูงสุดคือ ยูทูบ ที่เพิ่มเป็น 6.3 แสนครั้ง จากเดิม 2 แสนครั้ง อีกทั้งมีการอัพโหลดวิดีโอใหม่ๆ เฉลี่ย 2,500 ครั้งต่อวัน

การเติบโตนี้เป็นผลสะท้อนให้เห็นว่า 3จี ได้กระตุ้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในประเทศไทยในวงกว้าง ขณะที่ขนาดของตลาดสมาร์ทโฟนในไทยนั้นมีสัดส่วนประมาณ 40% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดกว่า 70 ล้านเลขหมาย ถือว่ายังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือฮ่องกง ที่มีสัดส่วนการใช้งานสมาร์ทโฟนประมาณ 70-80% เท่ากับว่าโอกาสการเติบโตของไทยยังมีอีกมหาศาล ทั้งในด้านการใช้สมาร์ทโฟน และการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต


ฮาราลด์ ไพรซ์

ฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือของโนเกีย โซลูชั่นส์ แอนด์ เน็ตเวิร์คส หรือ เอ็นเอสเอ็น กล่าวว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโมบายในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 200-300 เมกะไบต์ต่อเดือน ถือว่าน้อยมาก แต่มีอัตราการเติบโตสูง จากที่มีบริการ 3จี ซึ่งเชื่อว่าหากมีบริการ 4จี เกิดขึ้น จะเติบโตแบบก้าวกระโดดยิ่งกว่าเดิมอีกมาก และอนาคตอาจจะเพิ่มได้ถึง 1 กิกะไบต์

นั่นหมายความว่าผู้ใช้สามารถดูวิดีโอสตรีมมิงได้ 2 ชั่วโมง ฟังเพลงได้ประมาณ 200 เพลง ใช้งานเฟซบุ๊ก และอ่านหนังสืออีบุ๊กออนไลน์ รวมถึงการรับส่งอีเมลอีกหลายหมื่นฉบับ นอกจากนี้ยังสามารถเล่นเกมโซเชียลออนไลน์ เชื่อมต่อระบบคลาวด์คอมพิวติง วิดีโอคอลหาคนรู้จัก เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการแล้ว ในด้านผู้ผลิตและพัฒนาบริการและคอนเทนต์ก็จะเติบโตด้วยเช่นกัน

สำหรับในประเทศไทย ผู้ให้บริการควรคิดค่าบริการลดลงหรืออย่างน้อยเท่าเดิมกับที่คิดอยู่ในปัจจุบัน แล้วผู้ใช้จะเพิ่มปริมาณการใช้งานขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องคิดค่าบริการสูงขึ้น โดยในต่างประเทศพบว่าหลังเปิดให้บริการ 4จี แอลทีอีแล้ว คนใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากขึ้น และเพิ่มรายได้จากบริการอินเทอร์เน็ต 20% ในทันที ขณะที่บางประเทศที่คิดค่าบริการสูงขึ้น คนจะใช้เปลี่ยนมาใช้งานน้อยและเพิ่มปริมาณไม่มาก

คำตอบคงชัดอยู่แล้วว่า ยิ่งมีบริการ 4จี แอลทีอี เร็วเท่าใด ประโยชน์ที่เกิดกับประเทศผู้บริโภค ก็เริ่มขึ้นเร็วเท่านั้น

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B
8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/252915/4%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0
%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%
84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0
%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%
B5-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.