17 ตุลาคม 2556 กสทช.เห็นชอบ ช่อง 5 คลื่นคืนทีวีอะนาล็อก 5 ปี เพื่อที่ช่อง 5 จะได้แลกกับใบอนุญาตโครงข่ายดิจิทัลเพิ่มอีก 1 ใบอนุญาต
ประเด็นหลัก
วันนี้(16ต.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)นายฐากร ตัณสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่าที่ประชุมกสทช. เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เรื่องที่ช่อง 5 ได้ยื่นเสนอความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ โดยขอยุติบทบาทเป็นผู้ให้บริการทีวีระบบอะนาล็อกที่ให้สัมปทานแก่ช่อง 7 เป็นระยเวลา 5 ปี เพื่อที่ช่อง 5 จะได้แลกกับใบอนุญาตโครงข่ายดิจิทัลเพิ่มอีก 1 ใบอนุญาต พร้อมให้สำนักงานกสทช.แจ้งเรื่องให้ช่อง 5 ปฎิบัติตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556 และพิจารณารูปแบบรายการของช่อง 7 ให้สอดคล้องกับภารกิจของช่อง 5
______________________________________
กสทช.เห็นชอบคืนคลื่นทีวีอะนาล็อก 5 ปี
กสทช.เห็นชอบ ช่อง 5 คลื่นคืนทีวีอะนาล็อก 5 ปี ตามบอร์ดกสท. ชงร่างประกาศหลักเกณฑ์ทีวี ครอบคลุมช่องบริการสาธารณะ เปิดประชาพิจารณ์ ไฟเขียวประกวดราคาโครงการโทรศัพท์สาธารณะ – อินเทอร์เน็ต นำร่องหนองคายและพิษณุโลก
วันนี้(16ต.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)นายฐากร ตัณสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่าที่ประชุมกสทช. เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เรื่องที่ช่อง 5 ได้ยื่นเสนอความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ โดยขอยุติบทบาทเป็นผู้ให้บริการทีวีระบบอะนาล็อกที่ให้สัมปทานแก่ช่อง 7 เป็นระยเวลา 5 ปี เพื่อที่ช่อง 5 จะได้แลกกับใบอนุญาตโครงข่ายดิจิทัลเพิ่มอีก 1 ใบอนุญาต พร้อมให้สำนักงานกสทช.แจ้งเรื่องให้ช่อง 5 ปฎิบัติตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐพ.ศ.2556 และพิจารณารูปแบบรายการของช่อง 7 ให้สอดคล้องกับภารกิจของช่อง 5
นอกจากนี้กสทช.ก็ยังเห็นชอบ(ร่าง)ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักกเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องคุณสมบัติ ลักษณะผังรายการ สัดส่วนรายการและการหารายได้ เพื่อให้ครอบคุลมทีวีดิจิทัลช่องบริการสาธารณะประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสารณะ ไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์)
นายฐากร กล่าวต่อว่า กสทช.ยังเห็นชอบโครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ และจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยทั่วถึง นำร่องจ.หนองคาย และจ.พิษณุโลก ภายใต้กรอบวงเงินจำนวน 441,799,024.26 บาท แบ่งเป็นบริการโทรศัพท์จำนวน 35,468,250 บาท และอินเทอร์เน็ตจำนวน 406,330,774.26 บาท เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยจะจัดประกวดราคาประมาณสิ้นปี 2556
http://www.dailynews.co.th/technology/240934
ไม่มีความคิดเห็น: