17 ตุลาคม 2556 คนกรุงโดนใจ APP สนทนา LINE มากที่สุด!! สองคือ WhatsApp สามคือ WeChat (Social Networks) อันดับหนึ่ง คือ FACEBOOK อันดับสอง คือ Instagram อันดับสาม คือ Google+ 13.5%
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 51.3% "ไม่เชื่อถือ" ข้อมูลข่าวสารได้รับผ่านทางโปรแกรมสังคมออนไลน์/โปรแกรมสนทนารองลงมา คือ เชื่อถือข้อมูลข่าวสาร 33.0% และไม่แน่ใจ 15.7%
ขณะที่โปรแกรมสนทนา (Chat) ที่กลุ่มตัวอย่างใช้งานมากที่สุด คือ LINE ถึง 50.4% อันดับสองคือ WhatsApp 23.7% อันดับสามคือ WeChat 8.3% ขณะที่โปรแกรมสังคมออนไลน์ (Social Networks) อันดับหนึ่ง คือ FACEBOOK 41.4% อันดับสอง คือ Instagram 18.9% อันดับสาม คือ Google+ 13.5%
ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 29.4% ใช้งานอินเตอร์เนต 4 – 5 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือ 3 – 4 ชั่วโมง มี 20.8% และอันดับสาม คือ 5 – 6 ชั่วโมง 11.1% ส่วนการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโปรแกรมสังคมออนไลน์/โปรแกรมสนทนานั้น พบว่า ส่วนใหญ่ 62.2% ไม่มั่นใจที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ ส่วนอีก 21.1% ไม่แน่ใจ และมีผู้ตอบว่ามั่นใจ 16.7%
______________________________________
โพลล์ชี้“ไลน์”ครองใจคนกรุง 51% ไม่เชื่อถือข่าวสารในเนต
นายสิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน, แท็บเลต (Tablet) และอินเตอร์เนต ของประชาชน จากกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพฯ1,437 คน เมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 51.3% "ไม่เชื่อถือ" ข้อมูลข่าวสารได้รับผ่านทางโปรแกรมสังคมออนไลน์/โปรแกรมสนทนารองลงมา คือ เชื่อถือข้อมูลข่าวสาร 33.0% และไม่แน่ใจ 15.7%
ขณะที่โปรแกรมสนทนา (Chat) ที่กลุ่มตัวอย่างใช้งานมากที่สุด คือ LINE ถึง 50.4% อันดับสองคือ WhatsApp 23.7% อันดับสามคือ WeChat 8.3% ขณะที่โปรแกรมสังคมออนไลน์ (Social Networks) อันดับหนึ่ง คือ FACEBOOK 41.4% อันดับสอง คือ Instagram 18.9% อันดับสาม คือ Google+ 13.5%
ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 29.4% ใช้งานอินเตอร์เนต 4 – 5 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือ 3 – 4 ชั่วโมง มี 20.8% และอันดับสาม คือ 5 – 6 ชั่วโมง 11.1% ส่วนการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโปรแกรมสังคมออนไลน์/โปรแกรมสนทนานั้น พบว่า ส่วนใหญ่ 62.2% ไม่มั่นใจที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ ส่วนอีก 21.1% ไม่แน่ใจ และมีผู้ตอบว่ามั่นใจ 16.7%
นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ กล่าวว่า ปัจจุบัน
“พฤติกรรมของการใช้สมาร์ทโฟน แท็บเลต และอินเตอร์เนต ของคนในสังคม เป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้โดยทั่วไป ทำให้เห็นว่าการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of Innovation) และการยอมรับนวัตกรรม (Adoption of Innovation) ของคนในสังคม”นายสิงห์ กล่าว
http://www.naewna.com/business/73130
ไม่มีความคิดเห็น: