20 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.เศรษฐพงค์ สั่งลุย LTE Advanced (4.5G) โดยการประมูล 900 และ 1800 หลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวได้ ชี้ ระยะแรกเครื่องหายาก
ประเด็นหลัก
พ.อ.เศรษฐพงค์ ระบุว่าสาเหตุที่เลือกเทคโนโลยี LTE Advanced เนื่องจากปัจจุบันปัญหาใหญ่ของการก้าวไปสู่ 4G LTE นั้นจะต้องมีคลื่นความถี่ที่ติดกันในย่านเดียวกันถึงจะมีศักยภาพการให้บริการที่เต็มประสิทธิภาพ แต่พอมาในยุคหลังจาก LTE มาเป็น LTE Advanced (4.5G) และ LTE B , LTE C เทคโนโลยีเริ่มเปิดให้สามารถนำคลื่นความถี่หลายความถี่ อาทิ คลื่น 900MHz, 1800MHz, 2.1GHz และ 2.3GHz มาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นความถี่ติดกัน หรือย่านความถี่เดียวกันนำมาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวได้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดเหนือกว่า 1Gbps
ขณะที่ปัญหาใหญ่ของ LTE Advanced ในตอนนี้คือทั่วโลกยังไม่มีเครื่องลูกข่ายหรืออุปกรณ์ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวได้เลย และหากมีการเริ่มผลิตขึ้นมาเครื่องลูกข่ายต่างๆอย่างสมาร์ทโฟน ก็จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ที่จะต้องมีการรองรับทั้ง 3G ,4G LTE ไปจนถึง LTE Advanced (4.5G) ซึ่งคาดว่าราคาในระยะแรกจะมีราคาที่สูงมาก
'ในเบื้องต้นเริ่มมีผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรองรับ LTE Advanced บางรายกำลังเริ่มผลิตสมาร์ทโฟนที่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าว อาทิ ซัมซุง กับ แอปเปิล ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวเร็วๆนี้เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศข้างต้นจะเริ่มเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในปีนี้'
______________________________________
'เศรษฐพงค์' สั่งลุย 4.5G LTE advanced ปี 57 (Cyber Weekend)
เปิดแนวคิดประธานกทค. 'พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ' หวังเห็นอุตสาหกรรมโทรคมไทยก้าวหน้า ผู้บริโภคได้ประโยชน์จากการสื่อสารความเร็วสูง เตรียมนำความถี่ 900 MHz มาเปิดประมูลพร้อมความถี่ 1800 MHz ภายในปลายปี 2557 เพื่อก้าวสู่เทคโนโลยี 4.5G LTE Advanced ที่มีศักยภาพเหนือ 4G LTE
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ระบุในตอนนี้มีความเป็นไปได้ที่กทค.จะพาประเทศไทยก้าวไปสู่เทคโนโลยี 'LTE Advanced' ซึ่งมีศักยภาพสูงกว่า 4G LTE ซึ่งในบางประเทศภายในปีนี้จะเริ่มทยอยเปิดให้ใช้บริการเชิงพาณิชย์ แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวเนื่องจากอาจจะยังไม่รู้จักหรือยังเพิ่งจะได้สัมผัสเทคโนโลยี 3G จริงๆกันไปไม่นานมานี้เอง
โดยล่าสุดกทค.ได้ มีมติให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ในฐานะที่ปรึกษาด้านการประมูลคลื่น 4G บนความถี่ย่าน 1800 MHz ภายใต้เทคโนโลยี LTE หรือที่เรียก 4G LTE กลับไปศึกษารายละเอียดกรณีความเป็นไปได้ที่จะจัดประมูล 2 ความถี่พร้อมกันคือในย่าน 900 MHz จำนวน 20 MHzจากสัญญาสัมปทานของเอไอเอสที่ทำกับบริษัท ทีโอที ที่จะหมดอายุสัญญาในปี 2558และย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 20 MHz ที่จะได้จากการหมดสัญญาสัมปทาน เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมาของทรูมูฟและดีพีซี ที่ทำกับบริษัท กสท โทรคมนาคม เพื่อนำมาประมูลพร้อมกันภายในเดือนก.ย.2557 โดยการเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการนำคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านมาหลอมรวมไว้บนคลื่นความถี่เดียวกันในครั้งนี้ว่า เทคโนโลยี LTE Advanced
'แต่ถึงอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการที่สามารถประมูลได้ใบอนุญาตด้วยว่า จะนำคลื่นความถี่ต่างๆที่ประมูลได้มาไปใช้กับเทคโนโลยีอะไร เนื่องจากกทค.ไม่ได้จำกัดเรื่องเทคโนโลยีว่าต้องให้เลือกเทคโนโลยี LTE Advanced เท่านั้นเพียงแต่เป็นการเสนอแนวคิดให้เป็นทางเลือก'
ทั้งนี้ในปัจจุบันเทคโนโลยี LTE Advanced มีออสเตรเลียซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่กำลังจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ภายในปีนี้ ภายใต้บริษัทเทลสตรา (Telstra) ผู้ประกอบการเครือข่ายของออสเตรเลีย ในการให้บริการ 4G พลัส หรือ LTE Advanced (LTE-A) Carrier Aggregation ซึ่งเป็นการควบรวมคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz และ 900 MHz เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ ก็จะมีการเปิดตัวเครือข่าย LTE Advanced เชิงพาณิชย์ บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz และ 850 MHz ของบริษัท แอลจียูพลัส (LG U+) ผู้ประกอบการเครือข่ายในประเทศเกาหลีใต้ รวมไปถึงประเทศญี่ปุ่นที่จะเปิดบริการเชิงพาณิชย์ในปีนี้เช่นกัน และยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังก้าวไปสู่เทคโนโลยีดังกล่าวในเร็วๆนี้ อาทิ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
*** สาเหตุที่เลือก LTE Advanced
พ.อ.เศรษฐพงค์ ระบุว่าสาเหตุที่เลือกเทคโนโลยี LTE Advanced เนื่องจากปัจจุบันปัญหาใหญ่ของการก้าวไปสู่ 4G LTE นั้นจะต้องมีคลื่นความถี่ที่ติดกันในย่านเดียวกันถึงจะมีศักยภาพการให้บริการที่เต็มประสิทธิภาพ แต่พอมาในยุคหลังจาก LTE มาเป็น LTE Advanced (4.5G) และ LTE B , LTE C เทคโนโลยีเริ่มเปิดให้สามารถนำคลื่นความถี่หลายความถี่ อาทิ คลื่น 900MHz, 1800MHz, 2.1GHz และ 2.3GHz มาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นความถี่ติดกัน หรือย่านความถี่เดียวกันนำมาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวได้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดเหนือกว่า 1Gbps
ขณะที่ปัญหาใหญ่ของ LTE Advanced ในตอนนี้คือทั่วโลกยังไม่มีเครื่องลูกข่ายหรืออุปกรณ์ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวได้เลย และหากมีการเริ่มผลิตขึ้นมาเครื่องลูกข่ายต่างๆอย่างสมาร์ทโฟน ก็จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ที่จะต้องมีการรองรับทั้ง 3G ,4G LTE ไปจนถึง LTE Advanced (4.5G) ซึ่งคาดว่าราคาในระยะแรกจะมีราคาที่สูงมาก
'ในเบื้องต้นเริ่มมีผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรองรับ LTE Advanced บางรายกำลังเริ่มผลิตสมาร์ทโฟนที่รองรับเทคโนโลยีดังกล่าว อาทิ ซัมซุง กับ แอปเปิล ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวเร็วๆนี้เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศข้างต้นจะเริ่มเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในปีนี้'
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวของกทค.จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นคงต้องรอดูผลศึกษาของ ไอทียูก่อนโดยกรอบคร่าวๆที่ไอทียูประเมินเอาไว้คือภายในเดือนธันวาคม 2556 นี้จะมีแนวทางออกมาในเรื่องวัตถุประสงค์ของการประมูลที่จะเกิดขึ้น และในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 จะสามารถรู้แผนการประมูล รวมไปถึงหลักเกณฑ์การประมูลที่จะเกิดขึ้นว่าจะนำคลื่นใดมาประมูลบ้างส่วนการประมูลคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงราวเดือนกันยายน 2557
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)
*** AISพร้อมตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว
วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า แนวคิดดังกล่าวของกทค.นั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีข้อจำกัด ซึ่งสามารถนำคลื่นความถี่ต่างๆที่เอไอเอส มีอยู่นำมาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยี LTE Advanced แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องรอให้ได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่ทั้ง 2 คลื่นที่จะเปิดประมูลในปี2557 ก่อนเป็นอันดับแรก
โดยภายหลังจากได้ความถี่แล้วเอไอเอสก็พร้อมที่จะเดินหน้าวางแผนในเรื่องของงบ ประมาณสำหรับเทคโนโลยีดังกล่าวในทันที เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเอไอเอสได้มีการเปิดทดสอบระบบ 4G LTE ไปแล้วซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในทุกๆด้านในการก้าวไปสู่เทคโนโลยีดังกล่าว
ส่วนปัญหาคลื่นความถี่ 900MHz ของเอไอเอสที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานลงในปี 2558 นั้นส่วนตัวมองว่าจะสามารถนำมาประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 MHz ได้เพราะเอไอเอสเตรียมความพร้อมล่วงหน้าอยู่แล้วในการโอนย้ายลูกค้าเพื่อไม่ให้ เกิดปัญหาลักษณะเดียวกับคลื่น 1800 MHz ที่สุดท้ายต้องมีการออกประกาศเยียวยา 1 ปีหลังหมดสัญญาสัมปทานลง
*** ดีแทคพร้อมประมูลครั้งประวัติศาสตร์
จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ดีแทคพร้อมสนับสนุนนโยบายความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutral) ตามนโยบายของ กสทช. ที่กำหนดในแผนแม่บทคลื่นความถี่เพื่อให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับคลื่นความถี่ในแต่ละย่านซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา นวัตกรรมอย่างไม่มีขีดจำกัด
ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงไปสู่ LTE Advanced นั้น นับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยที่จะสามารถนำคลื่นความถี่ทั้งย่าน 900 MHz และ 1800 MHz มาจัดประมูลพร้อมกันในปีหน้าซึ่งผู้เข้าร่วมการประมูลก็สามารถเลือกใช้ เทคโนโลยี LTE Advanced เพื่อให้บริการ 4G LTE บนคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นที่จะต้องมีปริมาณแบนด์วิธที่มากเพียงพอเป็นพื้นฐานด้วย เนื่องจากในทางเทคนิค จะต้องมีแบนด์วิธไม่ต่ำกว่า 20 MHz x 2 ที่จะสามารถให้บริการ 4G ด้วยความเร็วสูงสุดของเทคโนโลยี LTE ได้
'ดีแทคยืนยันว่าจะเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2557 และเชื่อว่าหาก กสทช.สามารถนำคลื่นความถี่เดิมมาจัดสรรใหม่ (รีฟาร์มมิ่ง) โดยเฉพาะคลื่นความถี่ที่ไม่ได้มีการใช้งานมาจัดประมูลพร้อมๆกัน หรือนำคลื่นทั้งหมดมาจัดการประมูลล่วงหน้าอย่างที่มีการดำเนินการในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ ก็จะทำให้การประมูลคลื่นความถี่ครั้งหน้าเป็นการประมูลครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเลยทีเดียว'
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/viewNews.aspx?NewsID=9560000129936
ไม่มีความคิดเห็น: