20 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) นางจำนรรค์ ศิริตัน หนุนภักดี ชี้ เชื่อว่าในระยะเวลาช่วงปีแรกๆ นั้น ผู้บริโภคจะยังไม่ได้รับชมคอนเทนต์ที่สมบูรณ์แบบนัก
ประเด็นหลัก
ขณะที่ นางจำนรรค์ ศิริตัน หนุนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันช่องรายการที่ออกอากาศเพิ่มเติมจากฟรีทีวี 6 ช่อง ก็ยังมีอีกจำนวนหลายพันช่อง ซึ่งออกอากาศทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม อย่างไรก็ตาม จากกฎหมายที่ระบุว่าเจ้าของช่องรายการจะต้องออกกาศภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นเรื่องน่ากังวล เนื่องจากอาจทำให้รายการขาดคุณภาพ และทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่นั้นต้องเสียโอกาส เพราะไม่มีหรือผลิตคอนเทนต์ไม่ได้ทัน ขณะที่ผู้ประกอบการรายเดิมโดยเฉพาะสื่อขนาดใหญ่ก็จะมีความได้เปรียบด้านคอนเทนต์อยู่มาก เชื่อว่าในระยะเวลาช่วงปีแรกๆ นั้น ผู้บริโภคจะยังไม่ได้รับชมคอนเทนต์ที่สมบูรณ์แบบนัก แต่สถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นภายใน 2-3 ปี ซึ่ง กสทช.จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ประคับประครอง ดูแลเรื่องดังกล่าว
ส่วนนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ กล่าวว่า ความเป็นห่วงในช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลอย่างมาก ทั้งเรื่องการโฆษณาและการจัดระดับความเหมาะสม ขณะเดียวกัน ในภาคผู้บริโภค หรือประชาชนทั่วไป ก็จำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณภาพและกล่องรับสัญญาณด้วย ถือเป็นเรื่องที่ กสทช. จะต้องให้คำตอบแก่ประชาชน ว่าจะคุ้มครองผู้บริโภคและควบคุมเนื้อหาของทีวีดิจิตอลได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน นายปัณณ์ เสริมสุขสกุลชัย Group Business Director บริษัท มีเดียคอม จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณามีเม็ดเงินสะพัดราว 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปี โดยสัดส่วนกว่า 90% เป็นการโฆษณาผ่านทีวี การเปลี่ยนยุคสู่ทีวีดิจิตอลนั้น เชื่อว่าจะไม่ได้ทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมโฆษณานั้นเพิ่มขึ้น แต่จะมีการกระจายไปยังช่องรายการต่างๆ มากกว่าปัจจุบันที่จะอยู่ที่ช่องหลักๆ เพียง 2 ช่อง คือ ช่อง 3 และช่อง 7 โดยผู้ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์จะเลือกจากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการและมุ่งไปยังช่องรายการประเภทนั้น เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุนและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ในต่างประเทศจะใช้เวลากว่า 4-5 ปี ในการปรับเปลี่ยนระบบออกอากาศจากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล แต่ในประเทศไทยควรใช้เวลาน้อยลงเพราะไม่ใช่ประเทศแรกที่ทำการปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าว ทั้งยังมีตัวอย่างในต่างประเทศให้ศึกษาได้.
______________________________________
จี้ กสทช.กำกับคอนเทนต์ ห่วงฉุดคุณภาพทีวีดิจิตอล
ล้อมวงถกประโยชน์ทีวีดิจิตอล นักวิชาการ-เครือข่ายภาคประชาชน เห็นพ้องปัญหาคุณภาพเนื้อหา-ช่องรายการยังน่าเป็นห่วง ฟาก กสทช.แย้ม กำลังเร่งสรุปขายเช็ตท็อปบ็อกซ์ รองรับความต้องการผู้บริโภคโดยเร็ว ขณะที่ภาควิชาการชี้จำนวนช่องเยอะ ไม่ช่วยการันตีคุณภาพ...
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 56 ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 4 และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาสาธารณะเรื่อง "ทีวีดิจิตอล ประชาชนได้อะไร" ณ ห้องประชุมสดศรี วงศ์ถ้วยทอง รพ.จุฬาลงกรณ์ โดยมีผู้ร่วมเสวนาซึ่งเป็นตัวแทนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภาควิชาการ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชน รวมทั้งมีผู้สนใจ อาทิ นักศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานในครั้งนี้
โดยนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ทีวีดิจิตอลเป็นการเปลี่ยนกระบวนการออกอากาศ ซึ่งทำให้โทรทัศน์หรืออุปกรณ์รับสัญญาณเดิม ไม่สามารถรองรับระบบดังกล่าวได้ แนวทางของ กสทช. คือจัดให้มีการออกอากาศแบบคู่ขนานในช่วงแรก เพื่อให้ผู้ที่มีอุปกรณ์เป็นทีวีใหม่ที่มีเทคโนโลยีรับสัญญาณทีวีระบบดิจิตอล (ดีวีบี-ทีทู) สามารถรับชมในระบบใหม่ได้ โดยในเบื้องต้นมีจำหน่ายในตลาดทั้งสิ้น 4 ยี่ห้อ ตามที่ กสทช.ได้ประกาศไปก่อนหน้า คือ พานาโซนิค แอลจี ซัมซุง และโซนี่ ส่วนผู้ที่ใช้ทีวีเครื่องเก่า ยังสามารถใช้งานต่อไปได้ แต่จำเป็นต้องมีกล่องรับสัญญาณ (เซ็ตท็อปบ็อกซ์) เพื่อรับสัญญาณใหม่เท่านั้น ซึ่งการเปลี่ยนระบบอากาศในครั้งนี้ เชื่อว่าจะทำให้คุณภาพของทีวีภาคพื้นดินนั้นดีขึ้นอย่างแน่นอน
กรรมการ กสทช. กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มีการเสนอพิจารณาจำหน่ายกล่องรับสัญญาณเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ เพื่อขอให้มีพิจารณาเร่งรัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการรับชมทีวีดิจิตอลในเบื้องต้น ก่อนจะมีการแจกคูปองส่วนลดเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคในภายหลัง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการแจกคูปองให้แก่ผู้บริโภคนั้น จะลดค่าซื้อกล่องรับสัญญาณได้ราว 700 บาท ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกเพียง 200-300 บาท ซึ่งเป็นราคาถูก และจะทำให้ผู้บริโภคกว่า 22 ล้านครัวเรือนได้รับสิทธิ์ดังกล่าวได้อย่างทั่วถึงกัน แม้พื้นที่ออกอากาศในช่วงแรกนั้นจะสามารถรับชมทีวีในระบบดิจิตอลได้ไม่ครอบคลุม แต่ก็จะพัฒนาและขยายพื้นที่รับชมให้เพิ่มขึ้นต่อไป
"ขณะนี้มีการตรวจสอบคุณภาพกล่องรับสัญญาณจำนวนหนึ่งแล้ว เช่ื่อว่ากลุ่มผู้บริโภคที่สนใจซื้อช่วงแรกคือกลุ่มผู้ที่มีความสนใจในเทคโนโลยีและต้องการรับชมทีวีในระบบดิจิตอลก่อน อย่างไรก็ตาม จะมีการพูดคุยประเด็นการเร่งรัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณดังกล่าวภายในที่ประชุมบอร์ดในวันจันทร์นี้ แต่จะสามารถจำหน่ายได้เมื่อไรนั้น ต้องขอให้รอเวลาอีกสักพักหนึ่งเพื่อหาข้อสรุป แต่คาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้ก่อนจัดการประมูลอย่างแน่นอน" นายธวัชชัย กล่าว
ทางด้าน นางสุภาพร โพธิ์แก้ว หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การมาของทีวีดิจิตอลนั้น จะทำให้ปริมาณช่องรายการเพิ่มขึ้น ทั้งช่องสาธารณะและช่องธุรกิจ แต่อาจเกิดปัญหาตามมา เนื่องจากการมีจำนวนมากนั้น ไม่ได้บ่งชี้ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกที่ดีให้แก่ผู้บริโภค เพราะอาจเกิดความต้องการทางสังคมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนตัวเห็นว่า แม้จะมีทางเลือกมากขึ้น แต่ยังจำเป็นต้องพิจารณาว่าผู้บริโภคจะเลือกอย่างไร ขณะเดียวกัน ปัญหาของทีวีดิจิตอลก็ไม่ได้มีเพียงคุณภาพในการออกอากาศ แต่รวมถึงคอนเทนต์ด้วย ซึ่งผู้ประกอบการควรใช้ช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านของยุคทีวีดิจิตอลนี้สร้างแนวความคิดใหม่ พร้อมสร้างวัฒนธรรมและมิติที่สร้างสรรค์แก่สังคมต่อไป โดยไม่ทำให้เกิดการผูกขาดเนื้อหา หรือคอนเทนต์ อย่างไรก็ตาม 2 ภาคส่วนสำคัญของทีวีดิจิตอล ได้แก่ ผู้ผลิตคอนเทนต์และผู้บริหารช่องรายการ ซึ่งจำเป็นต้องแข่งขันที่คอนเทนต์ และผู้รับสาร ซึ่งต้องพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นในยุคเปลี่ยนผ่านระบบออกอากาศทีวีนี้
ขณะที่ นางจำนรรค์ ศิริตัน หนุนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันช่องรายการที่ออกอากาศเพิ่มเติมจากฟรีทีวี 6 ช่อง ก็ยังมีอีกจำนวนหลายพันช่อง ซึ่งออกอากาศทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม อย่างไรก็ตาม จากกฎหมายที่ระบุว่าเจ้าของช่องรายการจะต้องออกกาศภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นเรื่องน่ากังวล เนื่องจากอาจทำให้รายการขาดคุณภาพ และทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่นั้นต้องเสียโอกาส เพราะไม่มีหรือผลิตคอนเทนต์ไม่ได้ทัน ขณะที่ผู้ประกอบการรายเดิมโดยเฉพาะสื่อขนาดใหญ่ก็จะมีความได้เปรียบด้านคอนเทนต์อยู่มาก เชื่อว่าในระยะเวลาช่วงปีแรกๆ นั้น ผู้บริโภคจะยังไม่ได้รับชมคอนเทนต์ที่สมบูรณ์แบบนัก แต่สถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นภายใน 2-3 ปี ซึ่ง กสทช.จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ประคับประครอง ดูแลเรื่องดังกล่าว
ส่วนนางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ กล่าวว่า ความเป็นห่วงในช่องรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลอย่างมาก ทั้งเรื่องการโฆษณาและการจัดระดับความเหมาะสม ขณะเดียวกัน ในภาคผู้บริโภค หรือประชาชนทั่วไป ก็จำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณภาพและกล่องรับสัญญาณด้วย ถือเป็นเรื่องที่ กสทช. จะต้องให้คำตอบแก่ประชาชน ว่าจะคุ้มครองผู้บริโภคและควบคุมเนื้อหาของทีวีดิจิตอลได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน นายปัณณ์ เสริมสุขสกุลชัย Group Business Director บริษัท มีเดียคอม จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณามีเม็ดเงินสะพัดราว 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปี โดยสัดส่วนกว่า 90% เป็นการโฆษณาผ่านทีวี การเปลี่ยนยุคสู่ทีวีดิจิตอลนั้น เชื่อว่าจะไม่ได้ทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมโฆษณานั้นเพิ่มขึ้น แต่จะมีการกระจายไปยังช่องรายการต่างๆ มากกว่าปัจจุบันที่จะอยู่ที่ช่องหลักๆ เพียง 2 ช่อง คือ ช่อง 3 และช่อง 7 โดยผู้ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์จะเลือกจากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการและมุ่งไปยังช่องรายการประเภทนั้น เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุนและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ในต่างประเทศจะใช้เวลากว่า 4-5 ปี ในการปรับเปลี่ยนระบบออกอากาศจากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล แต่ในประเทศไทยควรใช้เวลาน้อยลงเพราะไม่ใช่ประเทศแรกที่ทำการปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าว ทั้งยังมีตัวอย่างในต่างประเทศให้ศึกษาได้.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/377337
ไม่มีความคิดเห็น: