Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 ตุลาคม 2556 (บทความ)เตรียมพร้อมเทคโนโลยี 4.5จี // ชี้หากไทยสามารถนำคลื่น 2 ย่านอย่าง 1800 เมกะเฮิรตซ์ บวก 900 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานควบกัน ก็จะพลิกสถานการณ์ให้ไทยอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้


ประเด็นหลัก


ด้วยกระแสเทคโนโลยี และการแข่งขันในตลาดมือถือ หากประมูลเฉพาะคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือ4จี นั้น อาจจะดูธรรมดาไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่หากไทยสามารถนำคลื่น 2 ย่านอย่าง 1800 เมกะเฮิรตซ์ บวก 900 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานควบกัน ก็จะพลิกสถานการณ์ให้ไทยอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้

______________________________________



เตรียมพร้อมเทคโนโลยี 4.5จี



อาจจะเป็นเรื่องจริงซะแล้ว... เมื่อเทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ ที่มีคุณภาพสูงกว่า 4จี หรือที่เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า 4.5จี นั้น กำลังมีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรมโทร คมนาคม โดยมีการใช้งานแล้วที่ประเทศออสเตรเลีย และกำลังจะเริ่มใช้งานใน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย

เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณŽ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) จึงให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ไปศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม เผื่ออนาคตประเทศไทยต้องเปิดให้ประมูลด้วย เทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์

ที่ถือว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับอุปกรณ์มือถือ ซึ่งตลาดเริ่มมีการผลิตอุปกรณ์ออกมารองรับเทคโนโลยีนี้แล้ว

สำหรับเทคโนโลยีแอลทีอี แอดวานซ์ ถือเป็นการหลอมรวม คลื่นความถี่ 2 ย่านคือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่เรียกคืนคลื่นจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่หมดสัญญาสัมปทานไปเมื่อ 15 ก.ย. 56 และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ทำร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ที่สัญญาสัมปทานจะหมดในปี 2558 ให้มาใช้งานบนคลื่นความถี่เดียวกัน

ทั้งนี้หากประเทศไทยประมูลสำเร็จ นอกจากจะทำให้ไทยมีเทคโนโลยีเท่าเทียมกับประเทศอื่น ๆ แล้วยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการผ่านมือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นทั้ง การอัพโหลด ดาวน์โหลด เปรียบเสมือนการขยายถนน ที่ทำให้ผู้บริโภคมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือมากขึ้นตามไปด้วย

ปัจจุบันเริ่มมีผู้ผลิตขอนำเข้าอุปกรณ์ที่รองรับ 2 ย่านความถี่ ในขณะที่ตลาดโลกใน 5-6 ปีข้างหน้าจะเริ่มมีการยุติการผลิตอุปกรณ์สื่อสารในระบบ 2จี เดิม

แต่สำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่สามารถที่จะยุติระบบ 2จี ได้เนื่องจากคนไทยยังมีการใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก

ด้วยกระแสเทคโนโลยี และการแข่งขันในตลาดมือถือ หากประมูลเฉพาะคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือ4จี นั้น อาจจะดูธรรมดาไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่หากไทยสามารถนำคลื่น 2 ย่านอย่าง 1800 เมกะเฮิรตซ์ บวก 900 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานควบกัน ก็จะพลิกสถานการณ์ให้ไทยอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้

แต่ท้ายที่สุด แอลทีอี แอดวานซ์Ž จะเกิดได้เร็วหรือไม่ คงต้องดูผลการศึกษาของไอทียู และการยินยอม จากทีโอทีและเอไอเอส เนื่องจากสัญญาสัมปทานยังไม่หมด และ กสทช.ก็ไม่สามารถไปแตะต้องสัญญาดังกล่าวได้

อย่างไรก็ดีเทคโน โลยีก้าวหน้า คงไม่ใช่ตัวกำหนดทุกอย่าง เพราะ สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้บริโภคคนไทยและประเทศชาติจะต้องได้รับประโยชน์จากคลื่นความถี่.


http://www.dailynews.co.th/technology/241752

http://www.dailynews.co.th/technology/241752

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.