21 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ผู้ให้บริการโครงข่ายช่อง5 ประกาศปีที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 97 %สถานีหลัก39 สถานีและสถานีเสริม 660 สถานี // NBT ชี้ ในปีที่3 39สถานีหลัก สถานีเสริมอีก114 สถานี ครอบคลุม 95 %
ประเด็นหลัก
นายบุญฤทธิ์ วิสมล ผู้อำนวยการฝ่ายการนโยบายและแผนกองทัพบก เปิดเผยว่า กองทัพบกสามารถให้บริการโครงข่ายปีแรกครอบคลุมให้บริการ 60 % ส่วนปีที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 97 % ซึ่งกองทัพบกจะมีสถานีหลักทั้งหมดจำนวน 39 สถานี และสถานีเสริม 660 สถานี ซึ่งถือว่าเร็วกว่ากำหนดของกสท. ในขณะเดียวกันกองทัพบกยังมีข้อมูลเนื่องจากได้ทดลองออกอากาศคู่ขนานดิจิทัลควบคู่อะนาล็อก 6 เดือน
ด้านนายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า แผนการให้บริการโครงข่ายปีแรก 15 สถานี ปีที่ 24 สถานี รวมทั้งหมดเป็น 39 สถานีหลัก ส่วนในปีที่3 จะดำเนินการทำสถานีเสริมอีก 114 สถานี ซึ่งจะสามารถครอบคลุมประชากรครัวเรือนไม่น้อยกว่า 95 % ส่วนค่าเช่าโครงข่ายในราคาช่องเอสดี 4.65 ล้านบาท / เดือน ช่องเอชดี 13.95 ล้านบาท คำนวนจากจัดหาอุปกรณ์ งบบริหารจัดการ ซึ่งสะท้อนต้นทุนจริงเพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัล
______________________________________
กสทช.เปิดเวทีค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล
กสทช.เปิดเวทีชี้แจง ดึงผู้ประกอบการโครงข่าย 4 ราย ข ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล สร้างความชัดเจนราคาค่าเช่า คุณภาพ และพื้นที่ครอบคลุมให้บริการทีวีดิจิทัล
วันนี้(21ต.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)เปิดเผยว่า วันนี้สำนักงานกสทช.ได้เปิดชี้แจงผู้ประกอบการที่ซื้อซองประมูลทีวีดิจิทัล เพื่อให้ข้อมูล เอกสาร สร้างความเข้าใจต่างๆ และรับฟังความชัดเจนเรื่องราคาค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล ความน่าเชื่อ คุณภาพการให้บริการ และการครอบคลุมพื้นที่โครงข่ายบริการ ผู้ประกอบการได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ , บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)หรือ ช่อง 9 , ไทยพีบีเอส และกองทัพบก
นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส เปิดเผยว่า ไทยพีบีเอสมีโครงข่ายที่ครอบคุลมให้บริการประชาชนน่นอน โดยประชาชนไม่ต้องเปลี่ยนเสาอากาศเพื่อดูทีวีดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนการลงทุนไม่มาก เนื่องจากไม่ต้องซื้อหรือเช่าพื้นที่ ไม่ต้องทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ติดตั้งโครงข่าย จึงเป็นสาเหตุให้ไทยพีบีเอสเสนอราคาค่าเช่าโครงข่ายในราคาช่องเอสดี 4. 60 ล้านบาท / เดือน ช่องเอชดี 13.81 ล้านบาท / เดือน ซึ่งถูกกว่าผู้ประกอบการรายอื่น
นายบุญฤทธิ์ วิสมล ผู้อำนวยการฝ่ายการนโยบายและแผนกองทัพบก เปิดเผยว่า กองทัพบกสามารถให้บริการโครงข่ายปีแรกครอบคลุมให้บริการ 60 % ส่วนปีที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 97 % ซึ่งกองทัพบกจะมีสถานีหลักทั้งหมดจำนวน 39 สถานี และสถานีเสริม 660 สถานี ซึ่งถือว่าเร็วกว่ากำหนดของกสท. ในขณะเดียวกันกองทัพบกยังมีข้อมูลเนื่องจากได้ทดลองออกอากาศคู่ขนานดิจิทัลควบคู่อะนาล็อก 6 เดือน
ด้านนายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า แผนการให้บริการโครงข่ายปีแรก 15 สถานี ปีที่ 24 สถานี รวมทั้งหมดเป็น 39 สถานีหลัก ส่วนในปีที่3 จะดำเนินการทำสถานีเสริมอีก 114 สถานี ซึ่งจะสามารถครอบคลุมประชากรครัวเรือนไม่น้อยกว่า 95 % ส่วนค่าเช่าโครงข่ายในราคาช่องเอสดี 4.65 ล้านบาท / เดือน ช่องเอชดี 13.95 ล้านบาท คำนวนจากจัดหาอุปกรณ์ งบบริหารจัดการ ซึ่งสะท้อนต้นทุนจริงเพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัล
http://www.dailynews.co.th/technology/242101
ไม่มีความคิดเห็น: