21 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) มีมติขยายเวลาการทดลองออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลออกไปอีก 6 เดือน NBT 3 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ ขอนแก่น และเชียงใหม่ // MCOT 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ,ขอนแก่น ภูเก็ต ,นครราชสีมา ,ลำปาง ,สุโขทัย และสุราษฎร์ธานี
ประเด็นหลัก
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 21 ต.ค. มีมติขยายเวลาการทดลองออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลออกไปอีก 6 เดือนให้กับกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีการทดลองใน 3 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ ขอนแก่น และเชียงใหม่ และบริษัท อสมท จำกัดที่ทดลองออกอากาศ 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ,ขอนแก่น ภูเก็ต ,นครราชสีมา ,ลำปาง ,สุโขทัย และสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้สาเหตุที่ฟรีทีวีทั้ง2ช่องขอขยายเวลาในการทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอลใน ครั้งนี้เนื่องจากในช่วงการทดลองออกอากาศครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ติดปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และการส่งสัญญาณทางด้านเทคนิคทำให้การทดลองออกอากาศล่าช้าไป ซึ่งการทดลองออกอากาศดังกล่าวจะเป็นการทดลองออกอากาศคู่ขนานไปกับระบบทีวีอนาล็อกแบบเดิม เพื่อเป็นการจูงใจการรับชมทีวีดิจิตอลของประชาชน
______________________________________
กสท.ตอบข้อข้องใจ 'บริษัท จันทร์ 25'
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)
บอร์ดกสท.ไฟเขียวขยายทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอลอีก6เดือนกับกรมประชาสัมพันธ์-อสมท หลังติดปัญหาด้านเทคนิค พร้อมเร่งสำนักงานชง Set- Top Box ให้พิจารณาประชุมครั้งหน้าแม้มีแค่10 รุ่นก็ตาม ด้าน 'พ.อ.นที' ประธานกสท.ระบุ ส่งร่างคุณสมบัติให้ บริษัท จันทร์ 25แล้วหลังที่ปรึกษากฎหมายส่งหนังสือสอบถาม 3 ประเด็น
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 21 ต.ค. มีมติขยายเวลาการทดลองออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลออกไปอีก 6 เดือนให้กับกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีการทดลองใน 3 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ ขอนแก่น และเชียงใหม่ และบริษัท อสมท จำกัดที่ทดลองออกอากาศ 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ,ขอนแก่น ภูเก็ต ,นครราชสีมา ,ลำปาง ,สุโขทัย และสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้สาเหตุที่ฟรีทีวีทั้ง2ช่องขอขยายเวลาในการทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอลใน ครั้งนี้เนื่องจากในช่วงการทดลองออกอากาศครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ติดปัญหาเรื่องอุปกรณ์ และการส่งสัญญาณทางด้านเทคนิคทำให้การทดลองออกอากาศล่าช้าไป ซึ่งการทดลองออกอากาศดังกล่าวจะเป็นการทดลองออกอากาศคู่ขนานไปกับระบบทีวีอนาล็อกแบบเดิม เพื่อเป็นการจูงใจการรับชมทีวีดิจิตอลของประชาชน
ขณะเดียวกันที่ประชุมยังมีมติให้สำนักงานกสทช.เร่งเสนอผลการรับจดทะเบียน เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลแบบไม่มีจอภาพแสดงผล ( Set Top Box ) มาให้กสท.พิจารณาในการประชุมครั้งหน้าเพื่ออนุญาตต่อไปเพื่อให้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลที่ผ่านการ ตรวจสอบแล้วโดยในตอนนี้สำนักงานกสทช.รายงานล่าสุดว่ามีผู้ประกอบการ Set Top Box ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว 10 รุ่น จาก6-8บริษัท ที่สามารถเสนอให้บอร์ดกสท.พิจารณาได้
'สาเหตุที่สำนักงานยังไม่ได้นำเรื่อง Set Top Box เสนอที่ประชุมเนื่องจากยังมีผู้ประกอบการน้อยรายอยู่ เพราะส่วนใหญ่ยังติดปัญหาเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และการตรวจสอบโดยผ่านห้องปฏิบัติการทดลอง แต่ตอนนี้ไม่ว่ามีผ่านการตรวจสอบแล้วกี่รุ่นก็ให้เสนอเข้าบอร์ดได้เลยเพราะเรื่องนี้ล่าช้ามานาน'
พ.อ.นที กล่าวว่าบอร์ดกสท.ยังได้สั่งให้สำนักงานกสทช.จัดทำร่างคุณสมบัติผู้เข้า ร่วมประมูลทีวีดิจิตอลส่งไปยัง บริษัท จันทร์ 25 จำกัด ภายหลังจากเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา บริษัท เฮอร์เบิร์ธ สมิธ ฟรีฮิลส์ (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านกฏหมายของบริษัท จันทร์ 25 ได้ส่งหนังสือสอบถามแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ และขั้นตอนการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องภายหลังการตรวจสอบคุณสมบัติ 3ประเด็นคือ
1.กรณีที่ทั้ง 2 บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกันยื่นซองเข้าประมูลและโดนตัดสิทธิ์ทั้งคู่ เงินหลักประกันจำนวน 10% ของราคาตั้งต้นการประมูลในหมวดช่องนั้นๆ จะยังได้รับคืนหรือไม่ 2.กรณีที่ทั้ง 2 บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกันยื่นซองเข้าประมูล แต่มีบริษัทหนึ่งขอสละสิทธิ์ก่อนประกาศรับรองผลผู้ผ่านคุณสมบัติ บริษัทนั้นๆจะยังได้รับเงินหลักประกันคืนหรือไม่ และ 3.กรณีที่ถ้ายื่นซองขอเข้าประมูลแล้วหากทั้ง 2 บริษัททีมีความเกี่ยวข้องกัน มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งขอถอนตัวก่อนประกาศรับรองผลคุณสมบัติผู้เข้าประมูล อีกบริษัทหนึ่งจะยังคงได้รับสิทธิ์เข้าประมูลหรือไม่
'เบื้องต้นบอร์ด กสท. ได้ตอบไปว่าในประเด็นที่ 1-2 ทาง กสทช. จะคืนเงินให้ภายใน 30 วันหลังประกาศรับรองผลผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าประมูล ส่วนในประเด็นที่ 3 เราคงจะไม่ตอบแต่อย่างใด เนื่องจากยังเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้'
ขณะที่ในวันเดียวกันทางสำนักงานกสทช.ได้จัดให้มีการประชุมให้ผู้ซื้อเอกสารการ ประมูลขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติทุกราย เข้ารับฟังการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงข่าย ภาพรวม กำหนดการติดตั้ง คุณภาพของโครงข่าย คุณภาพการให้บริการ จุดที่จะทำการเชื่อมต่อโครงข่าย อัตราค่าใช้บริการโครงข่าย การทำสัญญาใช้บริการโครงข่าย และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์สำหรับให้บริการโครงข่ายในระบบ ดิจิตอล ทั้ง 4 ราย ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ ,กองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก(ช่อง 5) ,บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ซื้อเอกสารการประมูล ซึ่งในวันนั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นเอกสารการประมูล หรือข้อสงสัยอื่นผู้ซื้อเอกสารการประมูลยังสามารถสอบถามกับทางสำนักงาน กสทช. ได้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131940
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131940
ไม่มีความคิดเห็น: