21 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) THAIpbs คาดว่ามีรายได้ประมาณ 100-200 ล้านบาทต่อปี ชี้กสทช.มีความประสงค์ขออีก 1 โครงข่าย ความจริงคลื่นอะนาล็อกของไทยพีบีเอสมีมูลค่าสูงกว่าช่องอื่นๆ
ประเด็นหลัก
ด้าน นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส กล่าวว่า ความพร้อมของไทยพีบีเอสเป็นสถานีที่ครอบคลุมมากที่สุดตาม กสทช.กำหนด และเตรียมความพร้อมการประมูลมาแล้ว 2 ปี อีกทั้งเป็นสถานีช่องแรกที่ออกอากาศในระบบดิจิตอล เพราะฉะนั้นความเชี่ยวชาญจึงมีมากที่สุดแบบไร้รอยต่อ อีกทั้งยังใช้งบลงทุนน้อยกว่ารายอื่น เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว
"โครงข่ายของเราเป็นภาระกับผู้บริโภคน้อยที่สุด บรรดาบ้านเรือนไม่ต้องไปเปลี่ยนเสาอากาศ ดูได้ทันที และมีต้นทุนที่ต่ำสุด แทบจะไม่มีอะไรเพิ่มเติมเลยแต่กลับได้เปรียบ" นายสมชัย กล่าว
ส่วนรายได้ตามกฎหมายของไทยพีบีเอสระบุว่า อะไรก็ตามที่สามารถให้บริการเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ค่าบริการต่างๆ จะเป็นของไทยพีบีเอส โดยคาดว่ามีรายได้ประมาณ 100-200 ล้านบาทต่อปี แต่ถูกจำกัดด้วยเพดาน ดังนั้น งบประมาณจึงถูกลดลงตลอด ซึ่งงบตรงนี้จะถูกนำมาใช้เป็นส่วนเสริมเรื่องค่าใช้จ่ายของพนักงาน เช่น เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น ซึ่งคาดหวังว่าจะได้มากกว่านี้ แต่เนื่องจากเป็นสื่อสาธารณะจึงต้องการสร้างคอนเทนต์ดีๆ ให้กับประชาชน ขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
สำหรับโครงข่ายไทยพีบีเอสรองรับช่อง SD ได้ 12 ช่อง ซึ่ง ช่องHD 1 ช่อง จะใช้ช่อง SD เท่ากับ 3 ช่อง ส่วนกรณีที่มีการขอโครงข่ายเพิ่มขึ้นอีก 1 โครงข่ายนั้น ยังไม่แน่ใจว่า กสท. เปิดให้ยื่นขอหรือไม่ ถ้าเปิดก็จะยื่นขอแน่นอน ซึ่งข้อต่อรองในการแลกโครงข่ายขึ้นอยู่กับ กสท. กำหนด
"ทางไทยพีบีเอสมีความประสงค์ขออีก 1 โครงข่าย ความจริงคลื่นอะนาล็อกของไทยพีบีเอสมีมูลค่าสูงกว่าช่องอื่นๆ ซึ่ง กสทช.ควรพิจารณาให้เป็นกรณีพิเศษ" นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ นายสมชัย ยังกล่าวด้วยว่า ราคาโครงข่ายหากมีการต่อรองก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ ขึ้นอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละราย ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายติดต่อเข้ามาแล้ว โดยคาดว่าหลังจากเปิดเผยข้อมูลวันนี้แล้ว ตัวเลขของผู้ประกอบการที่สนใจจะมีมากขึ้น
.
______________________________________
ผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิตอล แห่ยื่นข้อเสนอบริษัทประมูล
เจ้าของโครงข่ายทีวีดิจิตอล 4 ค่ายแห่ยื่นข้อเสนอผู้เข้าประมูล 33 ราย อสมท ยอมรับค่าโครงข่ายแพงสุด แต่การันตีประสิทธิภาพและพื้นที่ครอบคลุม ขณะที่ ททบ.5 ยันให้ราคาเป็นธรรมต่อรองได้ ส่วนไทยพีบีเอส ไม่เน้นผลกำไร ...
เมื่อวันที่ 21 ต.ค. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดให้ผู้ประกอบการโครงข่ายเข้าชี้แจงต่อบริษัทเอกชน 33 แห่ง ที่จะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล โดยนายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อสมท ลงทุนโครงข่าย 900 ล้านบาท โครงสร้างพื้นฐาน 500 ล้านบาท รวม 1,400 ล้านบาท โดยใช้อุปกรณ์ระบบดิจิตอลทั้งหมด และยืนยันว่าการครอบคลุมพื้นที่ปี 2557 หรือปีแรกอยู่ที่ 81% ซึ่งมากกว่า กสทช. กำหนดไว้ที่ 50% ส่วนปี 2558 ครอบคลุม 95%
นายเอนก กล่าวต่อว่า ขณะนี้ อสมท มีสถานี 186 แห่ง มากกว่า กสทช.กำหนดไว้ที่ 153 แห่ง และการันตีมีประสิทธิภาพ รองรับ 6SD 2HD นอกจากนี้ ยังยอมรับว่าโครงข่ายมีราคาสูง และคงไม่ลดราคา และสนใจอีก 1 โครงข่ายที่เหลือ แต่ขอมาเจรจากับบริษัทในเครือ บีอีซีเวิลด์ก่อนแล้วจะกลับมาคุยกับ กสท.
ส่วนกรณีที่ อสมท จะเก็บโครงข่ายไว้ให้ตัวเองหรือไม่นั้น นายเอนก กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่รู้ เนื่องจากผู้ชนะการประมูลมีสิทธิ์เลือกก่อน ถ้าไม่ได้อาจต้องใช้โครงข่ายของรายอื่น
สำหรับราคาโครงข่ายที่เสนอมานั้น ไทยพีบีเอส ถูกที่สุด SD อยู่ที่ 4.6 ล้านบาท/เดือน HD 13.81 ล้านบาท/เดือน กรมประชาสัมพันธ์ SD อยู่ที่ 4.65 ล้านบาท/เดือน HD อยู่ที่ 13.95 ล้านบาท/เดือน ช่อง 5 SD อยู่ที่ 4.72 ล้านบาท/เดือน SD อยู่ที่ 14.16 ล้านบาท/เดือน และ อสมท SD อยู่ที่ 4.76 ล้านบาท/เดือน HD อยู่ที่ 14.28 ล้านบาท/เดือน
ด้าน นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส กล่าวว่า ความพร้อมของไทยพีบีเอสเป็นสถานีที่ครอบคลุมมากที่สุดตาม กสทช.กำหนด และเตรียมความพร้อมการประมูลมาแล้ว 2 ปี อีกทั้งเป็นสถานีช่องแรกที่ออกอากาศในระบบดิจิตอล เพราะฉะนั้นความเชี่ยวชาญจึงมีมากที่สุดแบบไร้รอยต่อ อีกทั้งยังใช้งบลงทุนน้อยกว่ารายอื่น เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว
"โครงข่ายของเราเป็นภาระกับผู้บริโภคน้อยที่สุด บรรดาบ้านเรือนไม่ต้องไปเปลี่ยนเสาอากาศ ดูได้ทันที และมีต้นทุนที่ต่ำสุด แทบจะไม่มีอะไรเพิ่มเติมเลยแต่กลับได้เปรียบ" นายสมชัย กล่าว
ส่วนรายได้ตามกฎหมายของไทยพีบีเอสระบุว่า อะไรก็ตามที่สามารถให้บริการเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ค่าบริการต่างๆ จะเป็นของไทยพีบีเอส โดยคาดว่ามีรายได้ประมาณ 100-200 ล้านบาทต่อปี แต่ถูกจำกัดด้วยเพดาน ดังนั้น งบประมาณจึงถูกลดลงตลอด ซึ่งงบตรงนี้จะถูกนำมาใช้เป็นส่วนเสริมเรื่องค่าใช้จ่ายของพนักงาน เช่น เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น ซึ่งคาดหวังว่าจะได้มากกว่านี้ แต่เนื่องจากเป็นสื่อสาธารณะจึงต้องการสร้างคอนเทนต์ดีๆ ให้กับประชาชน ขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
สำหรับโครงข่ายไทยพีบีเอสรองรับช่อง SD ได้ 12 ช่อง ซึ่ง ช่องHD 1 ช่อง จะใช้ช่อง SD เท่ากับ 3 ช่อง ส่วนกรณีที่มีการขอโครงข่ายเพิ่มขึ้นอีก 1 โครงข่ายนั้น ยังไม่แน่ใจว่า กสท. เปิดให้ยื่นขอหรือไม่ ถ้าเปิดก็จะยื่นขอแน่นอน ซึ่งข้อต่อรองในการแลกโครงข่ายขึ้นอยู่กับ กสท. กำหนด
"ทางไทยพีบีเอสมีความประสงค์ขออีก 1 โครงข่าย ความจริงคลื่นอะนาล็อกของไทยพีบีเอสมีมูลค่าสูงกว่าช่องอื่นๆ ซึ่ง กสทช.ควรพิจารณาให้เป็นกรณีพิเศษ" นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ นายสมชัย ยังกล่าวด้วยว่า ราคาโครงข่ายหากมีการต่อรองก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ ขึ้นอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละราย ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายติดต่อเข้ามาแล้ว โดยคาดว่าหลังจากเปิดเผยข้อมูลวันนี้แล้ว ตัวเลขของผู้ประกอบการที่สนใจจะมีมากขึ้น
พลตรีบุญญฤทธิ์ วิสมล ผู้อำนวยการฝ่ายนโนบายและแผนสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กล่าวว่า วันนี้เป็นการเจอกันครั้งแรกที่ทำให้เอกชนมั่นใจในผู้ประกอบการโครงข่าย ซึ่งแผนการนำเสนอช่อง 5 คือ การสร้างโครงข่ายและขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมจำนวนประชากร ครอบคลุม 97% ภายใน 2 ปี ซึ่งปีแรกจะได้ประมาณ 68%
พลตรีบุญญฤทธิ์ กล่าวต่อว่า จุดเด่นโครงข่าย คือการขออนุญาตทดลองออกอากาศตามกระบวนการเป็นโครงข่ายแรก ซึ่งเก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ดีและที่ต้องปรับปรุง ส่วนเอกชนที่ติดต่อมายังไม่ทราบจำนวน และไม่มีการลดค่าบริการ ส่วนการแข่งขันกับรายอื่นนั้น มองว่าไม่จำเป็นต้องแข่งเพราะทุกรายคือการให้บริการโทรทัศน์ระบบภาคพื้นดินที่เป็นดิจิตอล ซึ่งต้องดูความเสถียรและผลลัพธ์ที่จะให้กับเอกชนมากกว่า
"ความต่างคือ ห้วงเวลาของการลงทุนในตอนต้นเล็กน้อย แต่โดยรวมเหมือนกัน ส่วนรายได้ขณะนี้ยังคิดไม่ได้ เพราะยังสร้างโครงข่ายไม่เสร็จ แต่ลงทุนไว้ 2 โครงข่ายอยู่ที่ 1 พันล้านบาท" พลตรีบุญญฤทธิ์ กล่าว
ขณะที่ นายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง 11) กล่าวว่า กรมประชาสัมพันธ์ ได้จัดทำแผนการให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ซึ่งมีแผนดำเนินการ 3 ปี งบประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยปีแรกจะจัดตั้งสถานีหลัก 15 สถานี ปีที่ 2 จัดตั้งสถานีหลักเพิ่มอีก 24 สถานี และปีที่ 3 จะทำสถานีเสริมให้ได้เพิ่มอีก 114 สถานี ซึ่งจะสามารถครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทีวีดิจิตอลได้ 95% ของประชากรทั้งหมด อีกทั้ง มั่นใจว่ากรมประชาสัมพันธ์มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ที่จะรองรับการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/377758
ไม่มีความคิดเห็น: