22 ตุลาคม 2556 THAICOM ชี้การย้ายคลื่นความถี่ จะได้ช่อง TV จำนวน 20 ช่อง และช่องวิทยุ จำนวน 3 ช่อง ในย่าน KU-Band จากคลื่นความถี่เก่า 12355/30000/H (ภายในเดือนตุลาคมนี้)
ประเด็นหลัก
นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านเทคนิค บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยคม ได้ดำเนินการโอนย้ายคลื่นความถี่ ในส่วนของช่องรายการทีวี จำนวน 20 ช่อง และช่องวิทยุ จำนวน 3 ช่อง ในย่าน KU-Band จากคลื่นความถี่เก่า 12355/30000/H ไปยังคลื่นความถี่ใหม่ 12313/30000/V โดยสามารถใช้งานความถี่ใหม่ได้แล้ว และไทยคมจะคงความถี่เก่าไว้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2556
______________________________________
ไทยคมขี่กระแสทีวีดิจิตอลบูม จับ20ช่องทีวี
"ไทยคม" เดินหน้าให้บริการดาวเทียมบรอดแคสต์ จับลูกค้าช่องรายการทีวีจำนวน 20 ช่อง และ ช่องวิทยุอีก 3 ช่อง เข้าสู่ย่านความถี่ใหม่แล้ว หวังรองรับกระแสดิจิตอลทีวีบูม ขณะที่ กสทช.กำหนดวาระการประมูลเร็วสุด พ.ย.นี้ หากสะดุดช้าสุดดีเดย์กลางเดือนม.ค. 57
alt นายไพบูลย์ ภานุวัฒนวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านเทคนิค บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ไทยคม ได้ดำเนินการโอนย้ายคลื่นความถี่ ในส่วนของช่องรายการทีวี จำนวน 20 ช่อง และช่องวิทยุ จำนวน 3 ช่อง ในย่าน KU-Band จากคลื่นความถี่เก่า 12355/30000/H ไปยังคลื่นความถี่ใหม่ 12313/30000/V โดยสามารถใช้งานความถี่ใหม่ได้แล้ว และไทยคมจะคงความถี่เก่าไว้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2556
อย่างไรก็ตาม ก่อนดำเนินการย้ายคลื่นความถี่ดังกล่าว ไทยคม จึงได้วางแผนการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ชมน้อยที่สุด โดย ไทยคม ได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการในส่วนต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการพัฒนาระบบ และที่สำคัญที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับชมรายการได้รับทราบก่อนการดำเนินการ ได้แก่ การส่งสัญญาณเพื่อปรับปรุงข้อมูลการรับช่องรายการที่กล่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบอัตโนมัติ (OTA) สำหรับผู้ชมที่มีกล่องรับสัญญาณที่รองรับระบบ OTA ก็จะสามารถรับชมได้ตามปกติ ส่วนกล่องสัญญาณที่ไม่รองรับระบบนี้ ไทยคมได้ขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการในการขึ้นอักษรวิ่งประชาสัมพันธ์ การเปลี่ยนคลื่นความถี่ของช่องรายการ และตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป จะทำการขึ้นภาพนิ่งแนะนำรายละเอียดการดำเนินการ เพื่อให้ผู้รับชมสามารถดำเนินการปรับช่องสัญญาณเพื่อการรับชมอย่างต่อเนื่อง
นายไพบูลย์ ยังกล่าวต่ออีกว่า การดำเนินการดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้รับชมส่วนใหญ่แต่อย่างใด เนื่องจากกว่า 90% เป็นผู้ที่รับชมผ่านกล่องรับสัญญาณที่รองรับระบบ OTA ซึ่งผู้ชมสามารถปรับปรุงการรับสัญญาณไปยังความถี่ใหม่ได้ง่าย เพียงถอดปลั๊กกล่องรับสัญญาณออก รอสักครู่ แล้วเสียบปลั๊กและเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง เครื่องก็จะทำการรีเซตเพื่อตั้งค่าสัญญาณใหม่ และปรับปรุงข้อมูลสัญญาณจากระบบโดยอัตโนมัติ ผู้ชมจะสามารถรับชมรายการได้ตามปกติ ส่วนกล่องรับสัญญาณที่ไม่รองรับระบบ OTA หรือผู้ชมที่ทดลองวิธีการข้างต้นแล้ว ยังรับชมไม่ได้ ผู้ชมสามารถปรับไปยังคลื่นความถี่ใหม่ด้วยตนเอง (Manual Tune) หรือติดต่อไปยังบริษัทที่ให้บริการหรือช่างผู้ติดตั้ง เพื่อดำเนินการปรับช่องสัญญาณต่อไป
ก่อหน้านี้ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการทางธุรกิจจำนวน 24 ช่อง ซึ่งมีเอกชนสนใจจำนวน 33 รายแล้ว จากนั้นสำนักงานจะเปิดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2556 และ สำนักงาน กสทช.จะดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติก่อนประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลภายใน 45 วัน หลังสิ้นสุดเวลายื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตแล้ว พร้อมชี้แจงรายละเอียดการประมูล และสาธิต ทดลองการประมูลภายใน 14 วัน หลังประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูล โดยจะเริ่มขั้นตอนการประมูลได้ภายใน 30 วันหลังประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูล และจะสามารถประกาศรับรองผลการประมูลภายใน 14 วันหลังสิ้นสุดการประมูล คาดว่าประมูลจะเร็วสุดปลายเดือนพฤศจิกายน หรือ ต้นเดือนธันวาคม 25556 แต่หากมีการพิจารณาเอกสารของผู้ยื่นซองเพิ่มเติมก็อาจจะประมูลได้ในวันที่ 15 มกราคม 2557 และหลังจากประมูลเสร็จภายใน 30-45 วันหรือประมาณช่วง กุมภาพันธ์- มีนาคม 2557 จะสามารถออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลครั้งแรกในประเทศไทยได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=203378:-20&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
ไม่มีความคิดเห็น: