24 ตุลาคม 2556 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ และนักวิชาการ (ค้าน) พรบ.คอมพ์ใหม่ เช่นกรณี การครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย ผู้รับก็ผิด
ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย แม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง ซึ่งขัดต่อหลักการร่างกฎหมายอาญาที่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมเพื่อให้การตีความและบังคับใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ฯลฯ
______________________________________
4 องค์กรสื่อผนึกกำลัง ยื่นหนังสือค้านพ.ร.บ.คอมพ์ใหม่
4 องค์กรวิชาชีพสื่อ และนักวิชาการด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เข้ายื่นแถลงการณ์คัดค้านการประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ แก่ รมว.ไอซีที ห่วงละเมิดเสรีภาพประชาชนในการรับข่าวสาร...
เมื่อวันที่ 24 ต.ค. เวลาประมาณ 11.30 น. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ได้เข้ายื่นประกาศแถลงการณ์ คัดค้านการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ แก่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
โดยแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาระบุว่า "ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) ได้มีประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า ได้ทำการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปนั้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ได้พิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลและขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปิดบล็อกเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้น โดยตัดส่วนของการกลั่นกรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีออกไป และให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกละเมิด รวมทั้งร่างกฎหมายฉบับนี้ยังขาดรายละเอียดและมาตรฐานของการจัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 3 วัน อันขัดต่อแนวปฏิบัติและกฎกระทรวงท้าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่บังคับใช้อย่างน้อย 3 เดือน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและมีการตีความในการใช้อำนาจเกินขอบเขต รวมทั้งก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นข่าว อาทิ กองบังคับปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้เข้าแทรกแซงและควบคุมการติดต่อสื่อสารประเภทโซเชียลมีเดีย อันได้แก่ การกดไลค์ กดแชร์ ผ่านเฟซบุ๊ก การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์จนเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
นอกจากนี้ เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย แม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง ซึ่งขัดต่อหลักการร่างกฎหมายอาญาที่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมเพื่อให้การตีความและบังคับใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ฯลฯ
ดังนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ สื่อมวลชนที่กล่าวข้างต้นจึงขอแสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนและอาจก่อให้เกิดความสับสนในการตีความเพิ่มเติมมากกว่าเดิม โดยสื่อมวลชนขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนเนื้อหาของร่างที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และให้มีการประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ รวมถึงการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว และควรตั้งตัวแทนจากองค์กรสื่อสารมวลชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการเชื่อมต่อบนอินเทอร์เน็ต หรือผู้ประกอบการเว็บไซต์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด เข้าร่วมเป็นตัวแทนในการพิจารณายกร่างดังกล่าวด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/378352
นอกจากนี้ เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย แม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง ซึ่งขัดต่อหลักการร่างกฎหมายอาญาที่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมเพื่อให้การตีความและบังคับใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ฯลฯ
______________________________________
4 องค์กรสื่อผนึกกำลัง ยื่นหนังสือค้านพ.ร.บ.คอมพ์ใหม่
4 องค์กรวิชาชีพสื่อ และนักวิชาการด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เข้ายื่นแถลงการณ์คัดค้านการประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ แก่ รมว.ไอซีที ห่วงละเมิดเสรีภาพประชาชนในการรับข่าวสาร...
เมื่อวันที่ 24 ต.ค. เวลาประมาณ 11.30 น. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ได้เข้ายื่นประกาศแถลงการณ์ คัดค้านการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ แก่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
โดยแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาระบุว่า "ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) ได้มีประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า ได้ทำการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปนั้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ได้พิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลและขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปิดบล็อกเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้น โดยตัดส่วนของการกลั่นกรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีออกไป และให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกละเมิด รวมทั้งร่างกฎหมายฉบับนี้ยังขาดรายละเอียดและมาตรฐานของการจัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 3 วัน อันขัดต่อแนวปฏิบัติและกฎกระทรวงท้าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่บังคับใช้อย่างน้อย 3 เดือน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและมีการตีความในการใช้อำนาจเกินขอบเขต รวมทั้งก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นข่าว อาทิ กองบังคับปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้เข้าแทรกแซงและควบคุมการติดต่อสื่อสารประเภทโซเชียลมีเดีย อันได้แก่ การกดไลค์ กดแชร์ ผ่านเฟซบุ๊ก การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์จนเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
นอกจากนี้ เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย แม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง ซึ่งขัดต่อหลักการร่างกฎหมายอาญาที่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมเพื่อให้การตีความและบังคับใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ฯลฯ
ดังนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ สื่อมวลชนที่กล่าวข้างต้นจึงขอแสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนและอาจก่อให้เกิดความสับสนในการตีความเพิ่มเติมมากกว่าเดิม โดยสื่อมวลชนขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนเนื้อหาของร่างที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และให้มีการประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ รวมถึงการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว และควรตั้งตัวแทนจากองค์กรสื่อสารมวลชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการเชื่อมต่อบนอินเทอร์เน็ต หรือผู้ประกอบการเว็บไซต์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด เข้าร่วมเป็นตัวแทนในการพิจารณายกร่างดังกล่าวด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/378352
ไม่มีความคิดเห็น: