27 ตุลาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ระยะเวลาประมาณ 60 วัน นับตั้งแต่เปิดให้ยื่นซองประมูล กสทช. จะใช้เวลาตรวจสอบคุณสมบัติผู้มายื่นซอง 45 วัน กลางเดือน ธ.ค. ประกาศผล
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ คาดว่าช่วงดังกล่าวจะมีระยะเวลาประมาณ 60 วัน นับตั้งแต่เปิดให้ยื่นซองประมูล เนื่องจากจะใช้เวลาตรวจสอบคุณสมบัติผู้มายื่นซอง 45 วัน และจะเปิดประมูลได้ช่วงกลางเดือน ธ.ค. หลังจากนั้นจึงจะประกาศรับรองผลผู้ชนะทั้งหมด จึงขอให้ผู้ประกอบการทุกรายที่ยื่นซองแล้วห้ามพูดคุยกัน หรือ ให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน หรือ เปิดเผยเม็ดเงินลงทุนที่เตรียมไว้สำหรับการประมูล ซึ่งจะเข้าข่ายการสมยอมราคา (ฮั้ว)
“หาก กสทช. ตรวจสอบได้ว่ารายใดมีการตกลงราคา หรือ เจรจากันทางโทรศัพท์ ซึ่งกสทช.สามารถดักฟังได้ จะตัดสิทธิ์ผู้เข้าร่วมประมูลที่กระทำการดังกล่าวทันที เพื่อให้มั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้จะเป็นไปอย่างโปร่งใสมากที่สุด” นายฐากรกล่าว
______________________________________
ประกาศช่วงห้ามพูดประมูลทีวีดิจิตอล60วัน
กสทช. ประกาศช่วงผู้ประกอบการห้ามให้ข้อมูลการประมูลทีวีดิจิตอล 60 วัน หลังยื่นซองประมูล 28-29 ต.ค.
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังผู้ประกอบการยื่นซองประมูลทีวีดิจิตอลจำนวน 24 ช่อง ในวันที่ 28-29 ต.ค. แล้ว จะเข้าสู่ช่วงเวลาที่ห้ามให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมูล ( Silent period) จนกว่าทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะประกาศผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทั้ง 24 ช่อง
ทั้งนี้ คาดว่าช่วงดังกล่าวจะมีระยะเวลาประมาณ 60 วัน นับตั้งแต่เปิดให้ยื่นซองประมูล เนื่องจากจะใช้เวลาตรวจสอบคุณสมบัติผู้มายื่นซอง 45 วัน และจะเปิดประมูลได้ช่วงกลางเดือน ธ.ค. หลังจากนั้นจึงจะประกาศรับรองผลผู้ชนะทั้งหมด จึงขอให้ผู้ประกอบการทุกรายที่ยื่นซองแล้วห้ามพูดคุยกัน หรือ ให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน หรือ เปิดเผยเม็ดเงินลงทุนที่เตรียมไว้สำหรับการประมูล ซึ่งจะเข้าข่ายการสมยอมราคา (ฮั้ว)
“หาก กสทช. ตรวจสอบได้ว่ารายใดมีการตกลงราคา หรือ เจรจากันทางโทรศัพท์ ซึ่งกสทช.สามารถดักฟังได้ จะตัดสิทธิ์ผู้เข้าร่วมประมูลที่กระทำการดังกล่าวทันที เพื่อให้มั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้จะเป็นไปอย่างโปร่งใสมากที่สุด” นายฐากรกล่าว
สำหรับผู้ที่เตรียมยื่นซองประมูล จะต้องนำเอกสารการประมูลพร้อมวางหลักประกัน จำนวน 10% ของราคาขั้นต่ำในช่องที่จะประมูล แบ่งเป็น ช่องเด็ก 14 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท ช่องข่าว22 ล้านบาท ของราคาประมูล 220 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ 38 ล้านบาท จากราคา 380 ล้านบาท และ ช่องคมชัดสูง (ไฮเดฟิเนชั่น หรือ เอชดี) 151 ล้านบาท จากราคา 1,510 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าผู้มายื่นซองจะมีมากกว่าจำนวนช่องที่เปิดประมูล เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนไม่สูงเหมือนกับการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3 จีที่มีเพียง 3 รายเท่ากับจำนวนใบอนุญาต แต่ในครั้งนี้ผู้ประกอบการแสดงความสนใจมาซื้อ 33 ราย 49 ชุด แบ่งเป็น ช่องเด็ก 8 ชุด จากจำนวนช่องเปิดประมูล 3 ช่อง ช่องข่าว 12 ชุด ช่องวาไรตี้ 17 ชุด และ เอชดี 12 ชุด จากจำนวนช่องที่เปิดประมูลหมวดหมู่ละ 7 ช่อง
ขณะที่บริษัทที่ถูกจับตามากที่สุด คือ กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ หรือ ช่อง 7 และ จันทร์ 25 ที่ผิดเงื่อนไขคุณสมบัติจากการที่นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ถือหุ้นไขว้เกิน 10% โดยทางช่อง 7 ได้เตรียมหาทางออกด้วยการเจรจากับ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/255169/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8
%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E
0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%
A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%
B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A560%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99
________________________________________________
Previous
Next
กสทช. พาทัวร์ สถานที่ยื่นซองประมูลทีวีดิจิทัล ก่อนยื่นจริง 28-29 ต.ค. นี้ สั่งรูดซิปปาก ห้ามให้ข่าว เพื่อนำไปสู่การฮั้วประมูล
วันนี้(25ต.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า กสทช.เตรียมความพร้อมบริเวณสำนักงาน กสทช. อาคารหอประชุมชั้น 2 เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นเอกสารเพื่อขอรับการประมูลทีวีดิจิทัล ในวันที่ 28-29 ต.ค. 56 ตั้งแต่ช่วงเวลา 9.00 – 16.00 น. โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้ายื่นตามที่ได้มีการซื้อซองแน่นอน โดยได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัย เนื่องจากยื่นเอกสารแล้วยังมีเงินหลักประกัน 10 % ของราคาขั้นต่ำการประมูลแต่ละหมวดหมู่ โดยช่องเอชดี เงินประกัน 151 ล้านบาท ช่องเอสดี เงินประกัน 38 ล้านบาท ช่องข่าวสาร/สาระ เงินประกัน 22 ล้านบาท และช่องเด็ก/เยาวชน/ครอบครัว เงินประกัน 14 ล้านบาท
ในขณะเดียวกันหลังจากที่ผู้ประกอบการยื่นเอกสารเรียบร้อยจะเข้าสู่ช่วง ไซเรนท์ พีเรียด คือห้ามไม่ให้ผู้ยื่นซองทุกรายเปิดเผยหรือให้ข้อมูลที่มีนัยยะสำคัญที่จะมีผลเกี่ยวข้อง อาทิ ราคาเข้าประมูล การสมยอมราคา เงินลงทุนต่างๆ ที่คาดจะนำไปสู่การฮั้วประมูล ไปจนกว่าจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการ ส่วนบริษัทที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์สามารถให้ข้อมูลอื่นๆได้ตามปกติ ยกเว้นเรื่องทีวีดิจิทัล
“กสทช.เปิดชี้แจ้งข้อมูล เอกสาร แบบฟอร์มต่างๆทุกกระบวนการ ขั้นตอน ครบถ้วน จึงเชื่อว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาด เนื่องจากให้ความพร้อมทุกอย่างและในขณะนี้ก็เข้าสู่อารมณ์การประมูล ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้ามายื่นขอรับประมูลตามที่ได้มาซื้อซองเอกสารแน่นอน ”นายฐากร กล่าว
อย่างไรก็ตามกสทช.จะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารที่ผู้ประกอบการยื่นไม่เกิน 45 วัน หรืออาจจะตรวจสอบแล้วเสร็จประมาณเดือนธ.ค.56
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=190284
____________________________________
“กสทช.” สั่งปิดปากหลังยื่นซองประมูลทีวีดิจิตอล
กสทช.ประกาศความพร้อมยื่นซองประมูลทีวีดิจิตอล 28-29 ต.ค.นี้ พร้อมสั่งปิดปากผู้ประกอบการหลังยื่นซองประมูลห้ามให้ข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องอันเป็นการนำไปสู่การฮั้วประมูลได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าววานนี้ (25 ต.ค.) ว่า กสทช.ได้เตรียมความพร้อมบริเวณสำนักงาน กสทช. อาคารหอประชุมชั้น 2 เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นแบบคำขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติในวันที่ 28-29 ต.ค. 56 ช่วงเวลา 09.00-16.00 น.
ทั้งนี้ คาดว่าในวันยื่นซองประมูลดังกล่าวจะมีผู้ประกอบการยื่นตามที่ได้มีการซื้อซองแน่นอน โดยทางสำนักงานได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เพื่ออำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัย เนื่องจากยื่นเอกสารแล้วยังมีเงินหลักประกัน 10% ของราคาขั้นต่ำการประมูลแต่ละหมวดหมู่ โดยช่องความละเอียดสูง (HD) เงินประกัน 151 ล้านบาท ช่องความละเอียดมาตรฐาน (SD) เงินประกัน 38 ล้านบาท ช่องข่าวสาร/สาระ เงินประกัน 22 ล้านบาท และช่องเด็ก/เยาวชน/ครอบครัว เงินประกัน 14 ล้านบาท
“หลังจากที่ผู้ประกอบการยื่นซองประมูลเรียบร้อยจะถือว่าเข้าสู่ช่วงไซเลนต์พีเรียด คือห้ามไม่ให้ผู้ยื่นซองทุกรายเปิดเผยหรือให้ข้อมูลที่มีนัยสำคัญที่จะมีผลเกี่ยวข้อง เช่น ในเรื่องราคาเข้าประมูล การสมยอมราคา, เงินลงทุนต่างๆ ที่คาดจะนำไปสู่การฮั้วประมูล ไปจนกว่าจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลอย่างเป็นทางการ ส่วนบริษัทที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์สามารถให้ข้อมูลอื่นๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นเรื่องทีวีดิจิตอล”
สำหรับก่อนหน้านี้ กสทช.ได้เปิดชี้แจงข้อมูล เอกสาร แบบฟอร์มต่างๆ ทุกกระบวนการ ทุกขั้นตอนครบถ้วนไปแล้วหลายครั้ง จึงเชื่อว่าจะไม่มีอะไรผิดพลาดในวันยื่นซองประมูลแน่นอน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้ามายื่นซองประมูลตามที่ได้มาซื้อซองเอกสารการประมูลแน่นอน
ขณะที่ขั้นตอนต่อไปหลังจากมีการยื่นซองประมูลของผู้ประกอบการทั้ง 2 วันดังกล่าวแล้ว กสทช.จะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารที่ผู้ประกอบการยื่นไม่เกิน 45 วัน ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลต่อไปในช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2556 จากนั้นจะเข้าสู่การประมูลทีวีดิจิตอลประมาณช่วงเดือน ธ.ค.ต่อไป
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133874
_____________________________
กสทช.เตรียมเปิดยื่นซองประมูลทีวีดิจิตอล 28-29 ต.ค.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช.ได้เตรียมความพร้อมในการเปิดให้ยื่นแบบคำขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2556 พร้อมได้เชิญสื่อมวลชนมาร่วมสังเกตการณ์ความพร้อมในทุกขั้นตอน โดยจะใช้อาคารหอประชุมชั้น 2 เป็นสถานที่ดำเนินการ พร้อมจัดสถานที่ และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับวันดังกล่าวไว้เรียบร้อย รวมถึงได้มีการซักซ้อมขั้นตอนต่างๆ โดยเริ่ม จากขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียน ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯ จะต้องนำใบเสร็จรับเงินค่าเอกสารการประมูลมาแสดงกับเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายชื่อ และหมวดหมู่จากฐานข้อมูลการจำหน่ายเอกสารการประมูล และจัดทำใบนำคำขอรับใบอนุญาตฯ พร้อมใบตรวจรับคำขอและเอกสาร (Checklist) ขั้นตอนนี้ที่สำคัญคือชื่อผู้ยื่นคำขอ และหมวดหมู่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้องตรงกับใบเสร็จรับเงินค่าเอกสารการประมูล
ส่วนขั้นตอนที่ 2 การตรวจรับคำขอ ผู้ยื่นคำขอนำคำขอพร้อมเอกสารประกอบจำนวน 7 ชุด ประกอบด้วย ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา 5 ชุด และสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด ยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบคำขอและเอกสาร ขั้นตอนที่ 3 การวางหลักประกัน ผู้ยื่นคำขอจะต้องนำเงินหลักประกัน ร้อยละ 10 ของราคาขั้นต่ำการประมูลของหมวดหมู่ที่ยื่นขอรับใบอนุญาต เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจรับแล้ว จะออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐาน
นายฐากร กล่าวต่อไปว่า คาดว่าในวันที่ 28 ตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นวันแรกที่จะเปิดให้ยื่นแบบคำขอใบอนุญาตฯ จะมีบริษัทที่ซื้อแบบคำขอไปมายื่นแบบคำขอรับใบอนุญาตจำนวนมาก โดยหลังจาก ยื่นแบบคำขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติแล้ว ผู้ร่วมประมูลต้องงดการให้ข่าวจนกว่ากระบวนการประมูลจะเสร็จสิ้น
ก่อนหน้านี้ กสทช. สรุปรายชื่อผู้ซื้อเอกสารการประมูลขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ รวมทั้งหมด จำหน่าย 33 ราย 49 ชุด โดยแบ่งเป็นหมวดช่องวาไรตี้ ทั่วไป ความคมชัดปกติ SD 17 ซอง ช่องวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดสูง HD 12 ซอง ช่องข่าวสารสาระ 12 ซอง ช่องเด็กและเยาวชน 8 ซอง โดยผู้ซื้อเอกสาร อาทิ บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด บริษัท ไทยทีวี จำกัด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด บริษัท ทัช ทีวี จำกัด บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด บริษัท แอคทีฟโพสต์ จำกัด ฯลฯ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133842&Keyword=%a1%ca%b7
____________________________
กสทช.ขู่ตัดสิทธิ์ประมูลทีวีดิจิตอล เอกชนเปิดปากหลังยื่นซอง
กสทช. กำชับเอกชนรูดซิบปาก หลังยื่นซอง ลั่นตัดสิทธิ์ประมูลทันทีหากตรวจสอบพบมีนัยส่อฮั้ว ยืนยันพร้อมเปิดยื่นซอง 28-29 ต.ค.นี้ ...
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ประกอบการยื่นซองประมูลในวันที่ 28-29 ต.ค.นี้ แล้ว จะอยู่ในช่วงระยะที่ห้ามผู้ประกอบการให้สัมภาษณ์ (ไซเลน พีเรียด) หรือให้ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการประมูลที่มีนัยสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดการฮั้วการประมูล จนถึงช่วงเวลาที่มีการประกาศรายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาต เช่น ราคา เงินทุน ซึ่งเหมือนแสดงออกให้รู้ว่ามีเงินอยู่เท่าไร ซึ่งเปรียบเสมือนการส่งสัญญาณให้บริษัทอื่นรู้ว่าอย่าไปเคาะราคามาก ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไม่ทำตามข้อกำหนดดังกล่าว จะตัดสิทธิ์ในการประมูลทันที
"แต่ถ้าคุยกันนอกรอบแล้ว กสทช. ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร แต่เรามีกระบวนการตรวจสอบ คุยทางโทรศัพท์ก็อาจมีเครื่องดักฟัง เหมือนการประมูล 3จี ที่ผ่านมา ที่ห้ามพูด ซึ่งถ้ารู้ว่ามีการคุยกันจะตัดสิทธิ์การเข้าประมูลทั้งคู่" นายฐากร กล่าว
สำหรับการเตรียมความพร้อมเปิดให้ยื่นแบบคำขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติในวันที่ 28-29 ต.ค.นี้ กสทช.มีความพร้อมแล้วทุกด้าน ทั้งขั้นตอนการดำเนินการ และสถานที่ ทั้งนี้ จะใช้อาคารหอประชุมชั้น 2 เป็นสถานที่ดำเนินการ
ส่วนการยื่นซองประมูล มี 3 ขั้นตอน คือ 1. ลงทะเบียน ผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบเสร็จรับเงินค่าเอกสารการประมูลมาแสดง โดยชื่อผู้ยื่นคำขอและหมวดหมู่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้องตรงกับใบเสร็จรับเงินค่าเอกสารการประมูล 2. การตรวจรับคำขอ ผู้ยื่นนำคำขอพร้อมเอกสารประกอบจำนวน 7 ชุด ประกอบด้วย ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนา 5 ชุด และสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ 1 ชุด ยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบคำขอและเอกสาร และ 3. การวางหลักประกัน ผู้ยื่นคำขอจะต้องนำเงินหลักประกัน 10% ของราคาขั้นต่ำการประมูลของหมวดหมู่ที่ยื่นขอรับใบอนุญาต เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจรับแล้วจะออกใบเสร็จรับเงินให้ไว้เป็นหลักฐาน
เลขาฯ กสทช. กล่าวด้วยว่า พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. ฝากกำชับเรื่องระบบการประมูลทีวีดิจิตอล ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้เรียบร้อย เพื่อให้ทันการประมูล ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยในการยื่นซองครั้งนี้ ได้ขอกำลังตำรวจ จาก สน.บางซื่อ จำนวน 5 นาย มาดูแลความเรียบร้อย และมีเจ้าหน้าที่จาก กสทช. มาเป็นคณะทำงานประมาณ 50 คน.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/378632
ไม่มีความคิดเห็น: