29 ตุลาคม 2556 กสทช.ประวิทย์ ระบุ(ต้องตรวจสอบไทยคม) การใช้ดาวเทียมเช่าเพื่อเชื่อมสัญญาณระหว่างภาคพื้นดินกับดาวเทียม ครจะต้องประมูลคลื่นความถี่ (อนุกรรมการดาวเทียมต้องรีบสรุปโดยเร็ว)
ประเด็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ความชัดเจนเรื่องร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตผู้ประกอบการประเภทที่ 2 หรือผู้ให้บริการรับ-ส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมสัญญาณระหว่างภาคพื้นดินกับดาวเทียม (อัปลิงก์-ดาวน์ลิงก์) ว่าใครจะต้องประมูลคลื่นความถี่ ก็ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ เนื่องจากปัจจุบันคณะอนุกรรมการดำเนินการร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตการประกอบกิจการดาวเทียม (คณะอนุกรรมการดาวเทียม) ที่มีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ประธานคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งบอร์ด กทค.แต่งตั้งมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าหรือได้ข้อสรุปอะไรออกมาเลยในเรื่องดังกล่าว
“เชื่อว่างานนี้ กทค.อาจผิดไม่มือซ้ายก็มือขวาในท้ายที่สุด หากไม่รีบเร่งให้คณะอนุกรรมการดาวเทียมดำเนินการออกหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประเภทที่ 2 หรือหลักเกณฑ์ประกอบกิจการดาวเทียม เพราะตอนนี้ กทค.กำลังเจอโจทย์ที่ว่าการออกใบอนุญาตดาวเทียมให้ไทยคมก็บอกว่าไม่ต้องประมูลคลื่น ส่วนผู้ประกอบการเอกชนที่อัปลิงก์-ดาวน์ลิงก์ก็อ้างว่าตอนนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ก็ไม่ต้องประมูลอีก ซึ่งสุดท้ายใครจะต้องเป็นผู้ประมูลความถี่กันแน่”
ดังนั้น สิ่งที่คณะอนุกรรมการดาวเทียมต้องรีบสรุปโดยเร็วคือการประมูลคลื่นความถี่กิจการดาวเทียมว่าใครจะต้องเป็นผู้ประมูล จะเป็นผู้ประกอบการดาวเทียม หรือผู้ประกอบการเอกชนที่ทำอัปลิงก์-ดาวน์ลิงก์ เพราะในตอนนี้เชื่อได้ว่าต้องมีใครทำผิดกฎหมายอยู่แน่
______________________________________
กทค.เล็งอนุมัติขยายโครงข่ายดาวเทียมให้ไทยคม 8 ที่ 78.5 องศาตะวันออก
น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กทค.)
“นพ.ประวิทย์” ชี้ กทค.ส่ออนุมัติเพิ่มขอบเขตใบอนุญาตประเภทที่ 3ให้ดาวเทียมไทยคม 8 ในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เชื่อแม้หลักเกณฑ์ประกอบกิจการดาวเทียมยังไม่คลอดแต่คงไม่ขัด พร้อมจี้คณะอนุกรรมการรีบร่างหลักเกณฑ์โดยเร็ว ส่วน “อนุดิษฐ์” เชื่อ กสทช.ทำทุกอย่างตามข้อกฎหมาย
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2556 ที่ผ่านมาบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือมายังสำนักงาน กสทช.เพื่อขอเพิ่มบริการโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยจะใช้ตำแหน่งวงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก (ไทยคม 8) ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2555 ซึ่งในตอนนั้นเป็นการให้ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการดาวเทียมเพื่อให้บริการดาวเทียมไทยคม 7 ในตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก โดยไม่ต้องมีการประมูล
เนื่องจากเป็นการดำเนินการภายใต้สัญญากับกระทรวงไอซีที ซึ่งทรัพย์สินต้องตกเป็นของกระทรวงไอซีทีด้วย รวมทั้งเป็นดาวเทียมที่ไม่ได้ใช้คลื่นความถี่ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงสามารถรับใบอนุญาตแบบที่ 3 ได้ทันที โดยเป็นการกำหนดให้เป็นใบอนุญาตสำหรับดาวเทียม ไม่ใช่ใบอนุญาตที่ให้แก่บริษัท ซึ่งระบุไว้ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 รวมถึงในตอนนั้นยังเป็นการรักษาสิทธิวงโคจร 120 องศาตะวันออก ซึ่งได้หมดอายุตามข้อกำหนดของ (ITU) ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ความชัดเจนเรื่องร่างหลักเกณฑ์ใบอนุญาตผู้ประกอบการประเภทที่ 2 หรือผู้ให้บริการรับ-ส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมสัญญาณระหว่างภาคพื้นดินกับดาวเทียม (อัปลิงก์-ดาวน์ลิงก์) ว่าใครจะต้องประมูลคลื่นความถี่ ก็ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ เนื่องจากปัจจุบันคณะอนุกรรมการดำเนินการร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตการประกอบกิจการดาวเทียม (คณะอนุกรรมการดาวเทียม) ที่มีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ประธานคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งบอร์ด กทค.แต่งตั้งมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าหรือได้ข้อสรุปอะไรออกมาเลยในเรื่องดังกล่าว
“เชื่อว่างานนี้ กทค.อาจผิดไม่มือซ้ายก็มือขวาในท้ายที่สุด หากไม่รีบเร่งให้คณะอนุกรรมการดาวเทียมดำเนินการออกหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประเภทที่ 2 หรือหลักเกณฑ์ประกอบกิจการดาวเทียม เพราะตอนนี้ กทค.กำลังเจอโจทย์ที่ว่าการออกใบอนุญาตดาวเทียมให้ไทยคมก็บอกว่าไม่ต้องประมูลคลื่น ส่วนผู้ประกอบการเอกชนที่อัปลิงก์-ดาวน์ลิงก์ก็อ้างว่าตอนนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ก็ไม่ต้องประมูลอีก ซึ่งสุดท้ายใครจะต้องเป็นผู้ประมูลความถี่กันแน่”
ดังนั้น สิ่งที่คณะอนุกรรมการดาวเทียมต้องรีบสรุปโดยเร็วคือการประมูลคลื่นความถี่กิจการดาวเทียมว่าใครจะต้องเป็นผู้ประมูล จะเป็นผู้ประกอบการดาวเทียม หรือผู้ประกอบการเอกชนที่ทำอัปลิงก์-ดาวน์ลิงก์ เพราะในตอนนี้เชื่อได้ว่าต้องมีใครทำผิดกฎหมายอยู่แน่
*** “อนุดิษฐ์” เชื่อ กสทช.ทำอย่างโปร่งใส่
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในกรณีดังกล่าวนั้นเชื่อว่า กสทช.จะดำเนินการทุกกระบวนการโดยยึดหลักกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งหากกรณีดังกล่าวเกิดทำให้มีการละเมิดสิทธิของคนบางกลุ่มขึ้นมา เชื่อได้ว่าจะต้องมีการเคลื่อนไหวในการออกมารักษาสิทธิแน่นอน ดังนั้นเชื่อว่า กสทช.จะทำทุกอย่างบนความถูกต้อง
สำหรับประเด็นดาวเทียมนั้นต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนของการดำเนินการให้ได้มาซึ่งเอกสารจองสิทธิในวงโคจร และย่านความถี่ (Filing) ซึ่งในส่วนนี้เป็นหน้าที่โดยตรงของกระทรวงไอซีทีในการเป็นผู้พิจารณาในเรื่องการตัดสินว่าจะให้ใครเอาดาวเทียมไปวางในอวกาศในตำแหน่งต่างๆ ก่อนจะประสานงานกับ ITU ต่อไป เพราะคลื่นบนอวกาศและตำแหน่งวงโคจร ITU เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบอยู่ ส่วนในประเด็นที่ 2 คือสิทธิในการให้บริการ ซึ่งดาวเทียมถือเป็นกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นใครจะดำเนินการธุรกิจเกี่ยวกับดาวเทียมก็ต้องเข้าไปขออนุญาตกับ กสทช. และต้องยึดหลักกฎหมาย กสทช.ที่ระบุเอาไว้ด้วย
“ตอนนี้ไทยคมเพียงต้องการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช.เท่านั้นเพื่อนำไปใช้สิทธิในการประกอบกิจการ ไม่ได้เป็นการขอใบอนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่แต่อย่างใด”
นอกจากนี้มีรายงานว่า กระทรวงไอซีทียังได้ส่งเอกสารข่ายงานดาวเทียม THAICAOM-Q2 ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออกให้แก่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ไปเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2556 ที่ผ่านมาแล้ว จากนั้นในวันที่ 2 ต.ค. 2556 กระทรวงไอซีทีโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีได้ให้ความเห็นชอบให้ผู้ประกอบการดาวเทียมที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมนำข่ายงานดาวเทียมไปใช้ภายใต้ใบอนุญาตดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้กระทรวงไอซีทีขอสงวนสิทธิการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตในกรณีนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับกระบวนการการดำเนินการในอนาคตโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด
ขณะที่ ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการที่บริษัทไทยคมทำหนังสือมายังสำนักงาน กสทช.ในประเด็นการขอขยายเพิ่มเติมขอบเขตการให้บริการภายใต้ใบอนุญาตประกอบการกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ที่ได้รับมาเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2555 ภายใต้วงโคจร 120 องศาตะวันออก โดยไทยคมมีแผนจะนำดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นให้บริการที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก (ไทยคม 8) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไทยคมต้องได้รับความเห็นชอบจาก กสทช.ก่อนที่บริษัทจะเริ่มดำเนินการต่อไป
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000134796
___________________________________
บอร์ด กทค.สั่งคณะอนุฯ ศึกษาแผนให้ไลเซ่นส์ดาวเทียมดวงใหม่ กับไทยคม หลังยื่นขอยิงไทยคม 8 รับลูกค้าทีวีดิจิทัล คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์รู้ผล
บอร์ด กทค.สั่งคณะอนุฯ ศึกษาแผนให้ไลเซ่นส์ดาวเทียมดวงใหม่ กับไทยคม หลังยื่นขอยิงไทยคม 8 รับลูกค้าทีวีดิจิทัล คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์รู้ผล
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดกทค.ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสารไปศึกษาข้อเสนอกรณี บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นขอเพิ่มบริการดาวเทียมในใบอนุญาตประเภทที่ 3
อย่างไรก็ตาม ใบอนุญาตประเภทที่ 3 จะใช้เพื่อการประกอบกิจการดาวเทียมที่ใช้สำหรับผู้ที่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง โดยจะยิงดาวเทียมไทยคม 8 สำหรับการให้บริการในการกระจายแพร่ภาพ ในตำแหน่งวงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ยื่นเสนอมา
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นของการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่จะต้องพิจารณาใหม่ทั้งหมด โดยคณะอนุกรรมการดังกล่าว จะพิจารณาบนแนวทางเบื้องต้น 2 แนวทางด้วยกัน คือ 1. แนวทางการออกใบอนุญาตเดิม โดยเพิ่มเติมสัญญาแนบท้ายใบอนุญาต 2. ออกใบอนุญาตใหม่ให้แก่ไทยคมเลย ซึ่งคาดว่าคณะอนุฯ จะพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กทค.เพื่อพิจารณาต่อไป
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=191144
ไม่มีความคิดเห็น: