Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 ตุลาคม 2556 SUPER กสทช. เซ็ง!! กสทช. ก็ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการรตรวจสอบ แถม ขาดบุคลากรทำงานจริงๆ(เช่าสำนักงานอาคารไอทาวเวอร์ มีลูกจ้างเพียง2คน)

ประเด็นหลัก



นอกจากนี้ยังไม่มีการสนับสนุนเรื่องบุคคลากรในการทำงาน ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ หรือแม้กระทั่งสิ่งอำนวยความสะดวก ตามที่ได้ยื่นเรืี่องขอ ทำให้การทำงานติดขัดค่อนข้างมาก ในขณะที่งบประมาณการดำเนินงานได้ยื่นขอจำนวน 43 ล้านบาทนั้น สามารถใช้ได้จริง 17 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินเดือนและค่าสำนักงานต่างๆ ส่วนที่เหลือเป็นค่าจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถเบิกจ่ายได้เนื่องขาดเรื่องบุคคลากรปฎิบัติงานด้านดังกล่าว

อย่างไรก็ตามในขณะนี้ทางคณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ด มีพนักงานและลูกจ้างสำนักงานกสทช.จำนวน 2 คน สถานที่ทำงานเป็นลักษณะชั่วคราว โดยเช่าสำนักงานอาคารไอทาวเวอร์ พื้นที่การทำงานประมาณ 50 ตารางเมตร โดยปฎิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 ม.72 ในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานให้กสทช. รัฐสภา และประชาชนทราบ แต่ในขณะเดียวกันยังมีอำนาจสั่งให้เข้าชี้แจงและให้ข้อมูลตาม ม.37 เช่นกัน








______________________________________



"ซุปเปอร์บอร์ดกสทช. " เผยทำงาน 6 เดือน กสทช.ไม่ให้ความร่วมมือในการรตรวจสอบ น้อยใจขาดบุคคลากรทำงาน เดินหน้าปฎิบัติงานตามพ.ร.บ.องค์กรฯ กำหนด




วันนี้(30ต.ค.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ซุปเปอร์บอร์ดกสทช.) ประกอบด้วย พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร ประธานซุปเปอร์บอร์ด และกรรมการด้านกิจการกระจายเสียง นายพิชัย อุตมาภินันท์ กรรมการด้านกิจการโทรทัศน์ นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ กรรมการด้านกิจการโทรทัศน์ นายประเสริฐ อภิปุญญา กรรมการด้านคุ้มครองผู้บริโภค และพลเอกบุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่าได้ยื่นหนังสือรายงานผลการปฎิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคหลังจากปฎิบัติงานช่วง 6 เดือนแรก ต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เรียบร้อยแล้ว

โดยภายหลังจากรับคัดเลือกให้ปฎิบัติงานเพื่อตรวจสอบ ติดตามการทำงานการบริหารงานกสทช.เลขาธิการกสทช. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)พบว่า ไม่ยอมรับการตรวจสอบการทำงาน โดยเฉพาะ กทค.ที่ไม่ให้การสนับสนุนด้านข้อมูล อาทิ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานมือถือ 1800 เมกะเฮิร์ตซ โดยมองว่า กสทช.เป็นองค์กรอิสระ ที่มีอำนาจในมือ ควรต้องมีความโปร่งใส ยอมรับการตรวจสอบจากหน่วยงาน

นอกจากนี้ยังไม่มีการสนับสนุนเรื่องบุคคลากรในการทำงาน ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ หรือแม้กระทั่งสิ่งอำนวยความสะดวก ตามที่ได้ยื่นเรืี่องขอ ทำให้การทำงานติดขัดค่อนข้างมาก ในขณะที่งบประมาณการดำเนินงานได้ยื่นขอจำนวน 43 ล้านบาทนั้น สามารถใช้ได้จริง 17 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินเดือนและค่าสำนักงานต่างๆ ส่วนที่เหลือเป็นค่าจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถเบิกจ่ายได้เนื่องขาดเรื่องบุคคลากรปฎิบัติงานด้านดังกล่าว

อย่างไรก็ตามในขณะนี้ทางคณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ด มีพนักงานและลูกจ้างสำนักงานกสทช.จำนวน 2 คน สถานที่ทำงานเป็นลักษณะชั่วคราว โดยเช่าสำนักงานอาคารไอทาวเวอร์ พื้นที่การทำงานประมาณ 50 ตารางเมตร โดยปฎิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 ม.72 ในการทำหน้าที่ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานให้กสทช. รัฐสภา และประชาชนทราบ แต่ในขณะเดียวกันยังมีอำนาจสั่งให้เข้าชี้แจงและให้ข้อมูลตาม ม.37 เช่นกัน


http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=191389

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.