Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 พฤศจิกายน 2556 กสทช.นที ระบุ กสท. ล่าสุด!!ต่ออีก2ปีโดยยังไม่ปล่อยบอนุญาตช่องรายการเป็นระยะยาว 12 ปี ( เหตุมีผู้ถูกร้องเรียนจากผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ จำนวนมาก )


ประเด็นหลัก



       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 4 พ.ย. มีมติเห็นชอบต่อใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ ประเภทกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ หรือช่องรายการสำหรับเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่เคยออกใบอนุญาตชั่วคราวไปก่อนหน้านี้ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการช่องรายการราว 800 ช่องรายการ ซึ่งทั้งหมดจะต้องเข้ามาขอต่อใบอนุญาตช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่ได้ไปในครั้งแรกก่อนหมดอายุ 6 เดือน
   
       ทั้งนี้ สาเหตุที่ กสท.ยังไม่สามารถต่ออายุใบอนุญาตช่องรายการเป็นระยะยาว 12 ปีได้ตามประกาศฯ นั้น เนื่องจากปัจจุบันยอมรับว่ายังไม่สามารถควบคุมและกำกับดูแลช่องรายการที่มีอยู่ได้ทั้งหมด เพราะยังมีหลายช่องรายการที่ถูกร้องเรียนจากผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ จำนวนมาก อีกทั้งยังต้องการคัดกรองผู้ประกอบการในการผลิตเนื้อหารายการให้มีคุณภาพมากขึ้นด้วย


______________________________________



กสท.ยังไม่ปล่อยใบอนุญาตช่องรายการระยะยาว



พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)
       “พ.อ.นที” ระบุยังไม่พร้อมออกใบอนุญาตช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมระยะยาว 12 ปี เหตุยังควบคุม 800 ช่องไม่ทั่วถึง ล่าสุดต่อให้อีก 2 ปีไปก่อน พร้อมกำหนด 4 รูปแบบทางเลือก MUX ในการตัดสินใจ ส่วนร่างกำกับเนื้อหายังไม่จบ ขยายเวลาประชาพิจารณ์อีก
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 4 พ.ย. มีมติเห็นชอบต่อใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ ประเภทกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ หรือช่องรายการสำหรับเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมออกไปอีก 2 ปี จากเดิมที่เคยออกใบอนุญาตชั่วคราวไปก่อนหน้านี้ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการช่องรายการราว 800 ช่องรายการ ซึ่งทั้งหมดจะต้องเข้ามาขอต่อใบอนุญาตช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่ได้ไปในครั้งแรกก่อนหมดอายุ 6 เดือน
     
       ทั้งนี้ สาเหตุที่ กสท.ยังไม่สามารถต่ออายุใบอนุญาตช่องรายการเป็นระยะยาว 12 ปีได้ตามประกาศฯ นั้น เนื่องจากปัจจุบันยอมรับว่ายังไม่สามารถควบคุมและกำกับดูแลช่องรายการที่มีอยู่ได้ทั้งหมด เพราะยังมีหลายช่องรายการที่ถูกร้องเรียนจากผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ จำนวนมาก อีกทั้งยังต้องการคัดกรองผู้ประกอบการในการผลิตเนื้อหารายการให้มีคุณภาพมากขึ้นด้วย
     
       ขณะเดียวกัน บอร์ดยังพิจารณาออกใบอนุญาตช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมเพิ่มอีก 93 ช่องรายการ โดยส่วนใหญ่จะเผยแพร่ผ่านทางทรูวิชั่นส์ และซีทีเอช ซึ่งทั้งหมดจะเข้าข่ายใบอนุญาตใหม่ที่มีระยะเวลา 2 ปี
     
       ที่ประชุมยังมีมติกำหนดค่ามาตรฐานทางเทคนิคสำหรับได้ผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายโทรทัศน์ดิจิตอล (MUX) ใหม่ จากเดิมที่มีการกำหนดแค่ 2 ช่องทั่วไปความชัดสูง (HD)+ 6 ช่องทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) โดยรูปแบบใหม่มีการแบ่งออกเป็น 4 ทางเลือกได้แก่
     
       แบบที่ 1 จำนวน 12 ช่อง SD ซึ่งในแบบที่ 1 จะใช้เฉพาะทีวีดิจิตอลประเภทชุมชนเท่านั้น, แบบที่ 2 จำนวน 1 ช่อง HD + 9 ช่อง SD ต่อ 1 MUX, แบบที่ 3 จำนวน 2 ช่อง HD + 6 ช่อง SD ต่อ 1 MUX และแบบที่ 4 จำนวน 3 ช่อง HD + 3 ช่อง SD ต่อ1 MUX โดยทางเลือก MUX ทั้ง 4 ประกอบด้วย 1. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) 2. กรมประชาสัมพันธ์ 3. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ 4. กองทัพบก โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) สามารถเลือก และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับบริษัท
     
       “การกำหนดค่าทางเทคนิคเพิ่มของ MUX ในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงแบบที่ตรงกับ MUX มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การบริการที่ยืดหยุ่นขึ้นกว่าเดิมในการตัดสินใจ และยังทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันด้วย”
     
       พ.อ.นทีกล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดยังมีมติขยายเวลาการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. … หรือร่างฯ กำกับเนื้อหาทางวิทยุ-โทรทัศน์ ตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยมีการตัดเนื้อหาสาระสำคัญของหมวด 2 “มาตรการในการออกอากาศรายการ” ออกไป และนำบางข้อสำคัญไปไว้ในหมวด 1 “เนื้อหารายการต้องห้ามมิให้ออกอากาศ” แทน
     


http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000137478

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.