04 พฤศจิกายน 2556 รัฐบาลถังแตก!! คลังจ่อรีดภาษี การโหลด APP บนมือถือ ( ต้องเก็บภาษี VAT ) เหตุหลัง การโหลด APP มูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ประเด็นหลัก
วันที่ 4 พ.ย. นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักแผนภาษีศึกษารายละเอียดแนวทางการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับธุรกิจการอัพโหลดแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าการตลาดสูง และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีกมาก
ทั้งนี้ กรมสรรพากร ยังไม่สามารถตามเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากธุรกรรมซื้อขายนี้ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ แม้ว่ากฎหมายของกรมสรรพากรจะระบุว่า หากมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการจะต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีแวต และภาษีเงินได้ เป็นต้น
แหล่งข่าวในวงการไอที ระบุว่า จากปัจจัยการ การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz นั้น คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความต้องการบริการ และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง ไม่ว่าจะเป็นด้านบันเทิงอย่างการชมภาพยนตร์ออนไลน์ หรือแม้แต่ด้านธุรกิจ ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลเชิงธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา
พร้อมคาดว่า ในปีนี้จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนในไทยไม่น้อยกว่า 14-15 ล้านเครื่อง ซึ่งการการเติบโตของตลาดโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ประกอบกับการเปิด 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ส่งผลให้มูลค่าตลาดแอพพลิเคชั่นในเมืองไทยเพิ่มขึ้น คาดว่าตลาดรวมของธุรกิจดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น และบริการคอนเทนต์ต่าง ๆ ของไทยในปีนี้จะมีมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
______________________________________
คลังจ่อรีดภาษี“แอพฯมือถือ” พบซื้อขายปีละ1.5หมื่นล้าน
“สรรพากร” ชี้แนวโน้มยอดซื้อ-ขายแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน และ แทบเล็ตในแต่ละปี มูลค่ามหาศาล เล็งเรียก VAT แบบอเมริกา พร้อมแก้อุปสรรคที่ผู้จำหน่ายแอพฯเป็นแบบออนไลน์ไม่ได้ตั้งในในไทย
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรมฯกำลังศึกษาการจัดเก็บภาษีจากการซื้อ-ขายแอพพลิเคชั่นจากโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน และ แทบเล็ต ที่มีมูลค่าการเพิ่มสูงทุกปี อย่างไรก็ตามการซื้อขายดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการเก็บภาษีตามข้อกำหนดของสรรพากรที่กำหนดว่าหากมีการซื้อขายสินค้าหรือบริหารต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ภาษีเงินได้
ทั้งนี้การเข้าไปเก็บภาษีดังกล่าวต้องศึกษาว่าจะจัดเก็บอย่างไร เพราะผู้ขายบางรายไม่ได้ตั้งบริษัทในไทย คงต้องนำเรื่องนี้ไปหารือในการประชุมด้านภาษีระหว่างประเทศ อาทิ การประชุมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างอธิบดีสรรพากรของประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิค(The Study Group on Asian Tax Administration and Research หรือ SGATAR ) ที่มีสมาชิกกว่า 16 ประเทศ
“ประเทศที่มีการเก็บVATจากการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น อาทิ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสรรพากรไทยคงต้องศึกษาว่าในสหรัฐนั้นจัดเก็บอย่างไร รวมถึงต้องหารือกับประเทศต่างๆ ด้วยว่าแนวทางการจัดเก็บภาษีควรเป็นอย่างไร โดยจะต้องผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ” นายสุทธิชัย กล่าว
ทั้งนี้ในการจัดเก็บภาษีอาจจะนำอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ไทยได้ทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆ ไปแล้วกับ 55 ประเทศ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยจัดเก็บ โดยปัจจุบันการค้าขายหรือการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้นใหม่ๆ ทุกวัน กรมสรรพากรต้องปรับปรุงแนวทางการจัดเก็บภาษีให้ทันกับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
นายสุทธิชัย กล่าวว่า กรมสรรพากรปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีทันสมัยมากขึ้น โดยล่าสุดได้พัฒนาการเสียภาษีผ่านแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถยื่นแบบรวมถึงการเสียภาษีผ่านมือถือตรงนี้จะช่วยให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น พร้อมกันนี้เตรียมปรับโฉมสำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ ให้มีความทันสมัย และให้ผู้เสียภาษีอยากเข้ามาใช้บริการ จากขณะนี้ผู้เสียภาษีมักจะกลัวกรมสรรพากรและไม่อยากเข้ามาติดต่อเพราะมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับสรรพากร
แหล่งข่าวในวงการไอที ระบุว่า จากปัจจัยการ การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz นั้น คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความต้องการบริการ และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ต้องอาศัยการสื่อสารความเร็วสูง ไม่ว่าจะเป็นด้านบันเทิงอย่างการชมภาพยนตร์ออนไลน์ หรือแม้แต่ด้านธุรกิจ ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลเชิงธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา
พร้อมคาดว่า ในปีนี้จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนในไทยไม่น้อยกว่า 14-15 ล้านเครื่อง ซึ่งการการเติบโตของตลาดโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ประกอบกับการเปิด 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ส่งผลให้มูลค่าตลาดแอพพลิเคชั่นในเมืองไทยเพิ่มขึ้น คาดว่าตลาดรวมของธุรกิจดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น และบริการคอนเทนต์ต่าง ๆ ของไทยในปีนี้จะมีมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณ 10-15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ขณะที่“เดอะ วอลล์สตรีท เจอร์นัล” ได้รายงานว่า ในปีนี้ธุรกิจแอพพลิเคชั่นทั่วโลกอาจมีมูลค่าสูงถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปัจจุบันแหล่งดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของแอปเปิ้ล คือ แอพ สโตร์ และของกูเกิล คือ กูเกิล เพลย์ มีแอพพลิเคชั่นรวมกันมากกว่า 1,400,000 แอพพลิเคชั่น
http://www.naewna.com/business/75621
_____________________________________
รัฐถังแตก จ่อรีดภาษีโหลดแอพมือถือ
หน้าหลัก » เศรษฐกิจ
อธิบดีกรมสรรพากร เล็ง เก็บภาษีโหลดแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ
วันที่ 4 พ.ย. นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักแผนภาษีศึกษารายละเอียดแนวทางการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับธุรกิจการอัพโหลดแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าการตลาดสูง และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีกมาก
ทั้งนี้ กรมสรรพากร ยังไม่สามารถตามเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากธุรกรรมซื้อขายนี้ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ แม้ว่ากฎหมายของกรมสรรพากรจะระบุว่า หากมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการจะต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีแวต และภาษีเงินได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ต้องศึกษาว่าในต่างประเทศมีการจัดเก็บอย่างไร เพราะผู้ขายบางรายไม่ได้ตั้งบริษัทในไทย และจะต้องผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือในเวทีประชุมนานาชาติ เช่น ในการประชุมด้านภาษีของอธิบดีสรรพากรของประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก ที่มีสมาชิกกว่า 16 ประเทศ หรือจะนำอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ไทยได้ทำข้อตกลงกับประเทศสมาชิก 55 ประเทศ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยจัดเก็บภาษีจากการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/eco/380480
ไม่มีความคิดเห็น: