05 พฤศจิกายน 2556 DTAC ลุยเพิ่มโครงข่ายเชื่อมต่อสัญญาณสู่ภูมิภาค จาก 2 จุด เป็น 3 จุด ( เพื่อมาช่วยสำรอง ) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับชุมสายเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ (เส้นนี้ใต้น้ำ)
ประเด็นหลัก
นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า แนวทางในการจัดการโครงข่ายของดีแทค นั้นมีแนวคิดที่จะเพิ่มชุมสายโครงข่ายในการเชื่อมต่อไปยังแต่ละภูมิภาคให้มากขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 2 เส้น ปัจจุบันได้มีการเพิ่มเส้นที่ 3 แล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับชุมสายเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าในช่วงที่ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในปี 2554 นั้น ส่งผลให้การส่งสัญญาณและสถานีฐานเกิดความเสียหายและไม่สามารถเชื่อมต่อบริการในจุดนั้น ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อดีแทคเห็นปัญหาจุดนี้ จึงได้ส่งทีมวิศวกร ติดตามทุกสถานที่ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม จึงส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ ปัญหาสัญญาณในการให้บริการโครงข่ายจึงไม่เกิดขึ้น
“ดีแทคมีแนวคิดที่จะหาพาร์ทเนอร์ร่วมเพิ่มเติมในการเดินเครือข่ายสำรองใต้น้ำประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่นๆ เพื่อมาช่วยสำรองอีก 1 เส้น ในกรณีฉุกเฉิน ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้” นายปัญญา กล่าว
______________________________________
แนวคิดที่จะเพิ่มชุมสายโครงข่ายในการเชื่อมต่อไปยังแต่ละภูมิภาคให้มากขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 2 เส้น ปัจจุบันได้มีการเพิ่มเส้นที่ 3 แล้ว
ดีแทค ลุยเพิ่มโครงข่ายเชื่อมต่อสัญญาณสู่ภูมิภาค จาก 2 จุด เป็น 3 จุด หวังให้ประชาชนใช้งานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือกับพาร์ทเนอร์สำรองเครือข่ายใต้น้ำเพื่อสำรองหากเกิดกรณีฉุกเฉิน
นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า แนวทางในการจัดการโครงข่ายของดีแทค นั้นมีแนวคิดที่จะเพิ่มชุมสายโครงข่ายในการเชื่อมต่อไปยังแต่ละภูมิภาคให้มากขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 2 เส้น ปัจจุบันได้มีการเพิ่มเส้นที่ 3 แล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับชุมสายเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าในช่วงที่ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในปี 2554 นั้น ส่งผลให้การส่งสัญญาณและสถานีฐานเกิดความเสียหายและไม่สามารถเชื่อมต่อบริการในจุดนั้น ๆ ได้ ดังนั้นเมื่อดีแทคเห็นปัญหาจุดนี้ จึงได้ส่งทีมวิศวกร ติดตามทุกสถานที่ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม จึงส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้ ปัญหาสัญญาณในการให้บริการโครงข่ายจึงไม่เกิดขึ้น
“ดีแทคมีแนวคิดที่จะหาพาร์ทเนอร์ร่วมเพิ่มเติมในการเดินเครือข่ายสำรองใต้น้ำประกอบด้วย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่นๆ เพื่อมาช่วยสำรองอีก 1 เส้น ในกรณีฉุกเฉิน ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้” นายปัญญา กล่าว
สำหรับสถานีฐานของดีแทคเมื่อสิ้นเดือน ต.ค.56 ที่ผ่านมาดีแทคมีสถานีฐาน 2จี อยู่ที่ 11,000 สถานี ส่วนสถานีฐาน 3จี บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่ 5,200 สถานี และสถานีฐาน 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อยู่ที่ 5,300 สถานี จากที่วางไว้ 5,500 สถานีฐานภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งาน 55% ของประชากร.
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=192351
ไม่มีความคิดเห็น: