07 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา ปวดหัว!!! ระบุ กังวลการสนับสนุนจากกลุ่มทุนการเมืองแม้ว่าจะไม่ปรากฎในรายชื่อผู้ถือหุ้นก็ตาม (ต้องรอบคอบในการตรวจสอบเพราะนี้คือจุดเปลืยนประเทศไทย)
ประเด็นหลัก
น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กสท. กังวลและให้ความสำคัญในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 29 บริษัท โดยเฉพาะในประเด็นผู้เข้าประมูลเป็นนอมินีหรือสายสัมพันธ์กับทางการเมือง ซึ่งจะทำให้การนำเสนอเนื้อหาค่อนข้างเอนเอียง
ทั้งนี้ เพราะจะเห็นได้ว่าบริษัทผู้เข้าประมูลในช่องข่าว หรือ ในช่องหมวดหมู่อื่นๆ ก็ตาม ชัดเจนว่าได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนการเมืองแม้ว่าจะไม่ปรากฎในรายชื่อผู้ถือหุ้นก็ตาม ดังนั้น กสท. ต้องรอบคแบในเรื่องนี้อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่สถ่านการณ์ทางการเมืองกำลังถึงจุดเปลี่ยน หาก กสท.ไม่รอบคอบพอ อาจถูกตรวจสอบในภายหลัง
"สิ่งที่ทำได้ลำบาก คือ กฎหมายกำหนดไว้เพียงห้ามนักการเมืองหรือผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ เห็นชัดเจนว่าช่องไหนเป็นของใคร พรรคใด และการที่ กสท. ยังไม่ได้เห็นผังรายการทั้งหมดเพราะยังไม่ได้ผู้ชนะ ก็เป็นจุดที่ทำให้ชี้ชัในดรื่องนี้ลำบากแต่สท. ต้องรอบคอบให้มากที่สุด" น.ส.สุภิญญากล่าว
______________________________________
กสท.คุมเข้มหวั่นนอมินีการเมืองคุมช่องดิจิตอล
กสท.เข้มนอมินีการเมืองคุมช่องทีวีดิจิตอล หวั่น 2 รายหน้าใหม่เมินเคาะราคาเอชดี ทำการแข่งขันไม่เกิด
น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กสท. กังวลและให้ความสำคัญในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 29 บริษัท โดยเฉพาะในประเด็นผู้เข้าประมูลเป็นนอมินีหรือสายสัมพันธ์กับทางการเมือง ซึ่งจะทำให้การนำเสนอเนื้อหาค่อนข้างเอนเอียง
ทั้งนี้ เพราะจะเห็นได้ว่าบริษัทผู้เข้าประมูลในช่องข่าว หรือ ในช่องหมวดหมู่อื่นๆ ก็ตาม ชัดเจนว่าได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนการเมืองแม้ว่าจะไม่ปรากฎในรายชื่อผู้ถือหุ้นก็ตาม ดังนั้น กสท. ต้องรอบคแบในเรื่องนี้อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่สถ่านการณ์ทางการเมืองกำลังถึงจุดเปลี่ยน หาก กสท.ไม่รอบคอบพอ อาจถูกตรวจสอบในภายหลัง
"สิ่งที่ทำได้ลำบาก คือ กฎหมายกำหนดไว้เพียงห้ามนักการเมืองหรือผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ เห็นชัดเจนว่าช่องไหนเป็นของใคร พรรคใด และการที่ กสท. ยังไม่ได้เห็นผังรายการทั้งหมดเพราะยังไม่ได้ผู้ชนะ ก็เป็นจุดที่ทำให้ชี้ชัในดรื่องนี้ลำบากแต่สท. ต้องรอบคอบให้มากที่สุด" น.ส.สุภิญญากล่าว
นอกจากนี้ การที่คณะทำงานตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าประมูลทั้งหมดพยายามเร่งกระบวนการ เพื่อประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติได้ในวันที่ 25 พ.ย. เพื่อให้สามารถเปิดประมูลช่วงกลางเดือน ธ.ค. ได้ทัน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การตรวจสอบนอมินีการเมืองอาจไม่เข้มข้นเท่าที่ควร
น.ส. สุภิญญา กล่าวว่า ยังเป็นห่วงว่าการแข่งขันในช่องคมชัดสูง (เอชดี) จะไม่เกิดขึ้น หากผู้ประมูลหน้าใหม่ในวงการโทรทัศน์ 2 ราย ไม่เคาะราคาแข่ง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประมูลอีก 7 รายเหมือนได้รับใบอนุญาตฟรี เพราะจำนวนช่องกับผู้ประมูลเท่ากัน และทำให้ กสท. อาจถูกตรวจสอบในเรื่องนี้ภายหลัง
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าประมูลช่องเอชดี 9 ราย ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ (ช่อง7) อมรินทร์ เทเลวิชั่น พีเอ็ม กรุ๊ปของนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ บีอีซี (ช่อง 3) เวิร์คพอยท์ อสมท แกรมมี่ บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง (น.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ) และ ทริปเปิลวี บรอคาสต์ (ไทยรัฐ)
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%
A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/257414/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8
%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0
%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8
%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5
ไม่มีความคิดเห็น: