07 พฤศจิกายน 2556 ประธาน GOOGLE บุกไทย!!! ไทยควรพัฒนา 4G และการพัฒนาบุคลากร ซอฟต์แวร์ วิศวกรรม ชัดเจน ( ภาษาไม่ใช้เรื่องสำคัญ ) มีโอกาสโตเกินสิงคโปร์และมาเลเซีย
ประเด็นหลัก
นายชมิดท์ กล่าวว่า การปฏิวัติโมบาย (Mobile Revolution) จะมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ โดยหลังเปิดบริการ 3จีไปแล้ว ก้าวต่อไปต้องเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โมบาย พร้อมเร่งประมูลใบอนุญาต 4จี เพื่อยกระดับศักยภาพ ทั้งควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ซอฟต์แวร์ และ วิศวกรรม
ปัจจุบัน เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพเติบโตสูง ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียน ตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่มีโอกาสก้าวไปสู่การเป็นผู้นำได้ สิ่งที่สิงคโปร์มีเหนือกว่า คือ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจ ซึ่งไทยควรหันมาให้ความสำคัญ และสนับสนุนบริษัทเกิดใหม่ เรื่องภาษาไม่ใช่ประเด็นปัญหา
อย่างไรก็ตาม นโยบายหนึ่งแทบเล็ตหนึ่งนักเรียนของรัฐบาล โดยส่วนตัว มองว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องพัฒนาคอนเทนท์และซอฟต์แวร์รองรับ ขณะนี้เห็นสัญญาณที่ดีของไทยในการมุ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ เช่น อีคอมเมิร์ซของกลุ่มเอสเอ็มอี
"คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้เวลาออนไลน์ตลอดเวลาอย่างเต็มที่ เราเชื่อว่าอีกภายใน 5 ปี คนอีกกว่า 5,000 ล้านคน จะออนไลน์มากขึ้น เราต้องการให้โลกทั้งใบเชื่อมต่อกันและเกิดการแชร์กัน"
ทั้งนี้ รัฐบาลไทย ควรอยู่ในฐานะที่ทำให้ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้นในอีก 5-10 ปี เพราะว่าอุตสาหกรรมของไทยเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ เช่น ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นต้องมีการสื่อสารภาพลักษณ์กับประชากรทั่วโลก ขณะที่ไทยเองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว และไทยก็มีวิศวกรที่มีความชำนาญและเริ่มพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจุดนี้คือความได้เปรียบ
______________________________________
"อีริค ชมิดท์" เยือนไทย ย้ำพันธสัญญาลงทุนต่อเนื่อง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"อีริค ชมิดท์" เยือนไทยเป็นทางการ ย้ำพันธสัญญาลงทุนต่อเนื่อง ชี้เอเชียตลาดโตสูง ไทยรั้งอันดับ 3 อาเซียนแนะหลังยุค3จีควรเร่งประมูล 4จี
นายอีริค ชมิดท์ ประธานกรรมการบริหาร กูเกิล อิงค์ ให้สัมภาษณ์ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อร่วมงาน "Big Tent Thailand 2013" วานนี้ (5 พ.ย.) โดยมีนายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น ร่วมดำเนินรายการ
นายชมิดท์ กล่าวว่า การปฏิวัติโมบาย (Mobile Revolution) จะมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ โดยหลังเปิดบริการ 3จีไปแล้ว ก้าวต่อไปต้องเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โมบาย พร้อมเร่งประมูลใบอนุญาต 4จี เพื่อยกระดับศักยภาพ ทั้งควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ซอฟต์แวร์ และ วิศวกรรม
ปัจจุบัน เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพเติบโตสูง ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียน ตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่มีโอกาสก้าวไปสู่การเป็นผู้นำได้ สิ่งที่สิงคโปร์มีเหนือกว่า คือ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจ ซึ่งไทยควรหันมาให้ความสำคัญ และสนับสนุนบริษัทเกิดใหม่ เรื่องภาษาไม่ใช่ประเด็นปัญหา
อย่างไรก็ตาม นโยบายหนึ่งแทบเล็ตหนึ่งนักเรียนของรัฐบาล โดยส่วนตัว มองว่า เป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องพัฒนาคอนเทนท์และซอฟต์แวร์รองรับ ขณะนี้เห็นสัญญาณที่ดีของไทยในการมุ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ เช่น อีคอมเมิร์ซของกลุ่มเอสเอ็มอี
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า ขณะนี้ไทยยังไม่ใช่เบอร์ 1 ของอาเซียนและยังเป็นที่ 3 หรือที่ 4 ถ้าไม่ระวังอาจตกลงไปอยู่อันดับที่ 7 หรือที่ 8 ก็เป็นได้
หวัง "กูเกิล" เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูล
นายชมิดท์ กล่าวถึงพลังอินเทอร์เน็ตรวมถึงโซเชียล เน็ตเวิร์คที่เชื่อมโยงไปถึงประเด็นทางการเมืองในไทยว่า โซเชียล มีเดีย ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง เพราะข้อมูลที่ปรากฏบนโลกออนไลน์ ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งกูเกิลถือเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบอีกขั้นหนึ่ง ขณะที่กูเกิลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการ ขณะเดียวกันเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ยอมรับว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถนำพลังของข้อมูลหรือความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่เชื่อว่าคนทุกคนจะได้รับประโยชน์จากที่ได้ติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงกัน
โดยแนะว่า 2 ประเด็นที่รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญ ประกอบด้วย 1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศเพื่อทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเชื่อมต่อสื่อสารถึงกัน 2.เปิดกว้างการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมนำข้อมูลไปใช้พัฒนาประเทศ
“ควรเพิ่มโฟกัสกับการลงทุนด้านเน็ตเวิร์คและซอฟต์แวร์ พร้อมๆ กับพัฒนาทรัพยากรบุคคล สนับสนุนให้เด็กๆ รู้สึกสนุกกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีขนาดใหญ่ ที่ต้องทำคือบริหารจัดการ ให้เกิดการเข้าถึง มีการเชื่อมโยง และกลายเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นมาตรฐาน”
แนะนศ.ไทยค้นหาไอเดียใหม่
นอกจากนี้ เขายังตอบคำถามนักศึกษาหลากหลายสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเนชั่น โดยบางสถาบันถามคำถามผ่านวีดิโอคอลล์โปรแกรม กูเกิล แฮงเอาท์
นายชมิดท์ กล่าวกับนักศึกษาว่า การสร้างสรรค์งานควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากกว่าพูด มองหาไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ ด้านมุมมองพิจารณาทั้งที่ดีและไม่ดีควบคู่กันไปและเห็นว่า การเดินไปข้างหน้าควรเข้าใจบทบาทของตนว่าต้องทำอะไร เป้าหมายต้องชัดเจน นอกเหนือกระบวนการทางธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ผลักดันให้บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์
เขายังได้ตอบคำถามของนักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ว่า เหตุใดจึงใช้เวลานานมากกว่าจะมาไทย ขณะที่ไปอินเดีย พม่าในช่วงเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งพม่าเองก็อยู่ใกล้ไทยมาก โดยเขาตอบว่า โดยส่วนตัวมาไทยหลายครั้งช่วงวันหยุดพักร้อน แต่ครั้งนี้มาเยือนเป็นทางการครั้งแรก
"ช่วงที่ผ่านมาไม่สะดวก เนื่องจากต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาไทยเป็นรัฐบาลทหาร แต่ขณะนี้เป็นประชาธิปไตยแล้ว และการใช้งานเสิร์ชเอ็นจินของกูเกิลในไทยได้รับความนิยมมากขึ้น"
ปัจจุบัน กูเกิลได้เข้ามาตั้งสำนักงาน ทำงานร่วมกับภาครัฐ จากนี้พร้อมเข้ามาลงทุนให้การสนับสนุนด้านการศึกษาต่อเนื่อง พร้อมด้วยขยายฐานการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการท้องถิ่นโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและคอนเทนท์ที่เป็นภาษาไทย
คาด5ปีคนใช้เน็ตทั่วโลกเพิ่ม5พันล้าน
ประธานกูเกิล ยังกล่าวด้วยว่า การขยายตัวของอินเทอร์เน็ตทั่วโลกก้าวมาถึงจุดเปลี่ยน ประชากรกลุ่มใหม่ที่กำลังเข้ามาออนไลน์ กว่า 5 พันล้านคนนั้น จะแตกต่างกับกลุ่มเดิมที่ออนไลน์มาก่อนหน้าแล้ว 2 พันล้านคน อย่างเห็นได้ชัด 5 พันล้านคนเหล่านี้จะอยู่อาศัยและทำงานในประเทศต่างๆ เช่น ไทย และเศรษฐกิจของไทยจะถูกกำหนดทิศทางด้วยอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับการคมนาคม การศึกษา และ การมีไฟฟ้าใช้
"คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้เวลาออนไลน์ตลอดเวลาอย่างเต็มที่ เราเชื่อว่าอีกภายใน 5 ปี คนอีกกว่า 5,000 ล้านคน จะออนไลน์มากขึ้น เราต้องการให้โลกทั้งใบเชื่อมต่อกันและเกิดการแชร์กัน"
ทั้งนี้ รัฐบาลไทย ควรอยู่ในฐานะที่ทำให้ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้นในอีก 5-10 ปี เพราะว่าอุตสาหกรรมของไทยเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ เช่น ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นต้องมีการสื่อสารภาพลักษณ์กับประชากรทั่วโลก ขณะที่ไทยเองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว และไทยก็มีวิศวกรที่มีความชำนาญและเริ่มพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจุดนี้คือความได้เปรียบ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20131106/541158/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8
%B4%E0%B8%84-%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%8C-
%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-
%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%AA%E0%B8
%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0
%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87
.html
ไม่มีความคิดเห็น: