07 พฤศจิกายน 2556 ประธาน GOOGLE ระบุ เรื่องการเมืองอันร้อนแรงของประเทศไทยในขณะนี้ แต่เขาได้สนับสนุนให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นตามสิทธิกฎหมายอันเป็นประชาธิปไตย
ประเด็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้นายเอริค ปฏิเสธแสดงความเห็นเรื่องการเมืองอันร้อนแรงของประเทศไทยในขณะนี้ แต่เขาได้สนับสนุนให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นตามสิทธิกฎหมายอันเป็นประชาธิปไตย และยอมรับว่า ก่อนหน้านี้กูเกิล มีปัญหากับรัฐบาลของไทย โดยเฉพาะรัฐบาลทหาร ที่ไม่ต้องการให้กูเกิลเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย แต่ตอนนี้ประชาธิปไตยได้กลับคืนมาแล้ว ทำให้เว็บไซต์กูเกิล กล้าลงทุนในไทยมากขึ้น และได้รับผลตอบแทนที่ดีตามลำดับ
______________________________________
พลังโซเชียลมีเดีย ปลุกกระแสมวลชนต้าน'นิรโทษฯ'ได้จริงหรือ?
ภาพและข้อความสั้นๆ ของหลากหลายกลุ่มการเมืองหลายรูปแบบ เชิญชวนคนไทยรวมพลังคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ถูกส่งต่อผ่านโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางในขณะนี้ หลังสภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่าง แบบรวดเดียว ทั้งภาพป้ายเตือน "คัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม"ที่มีพื้นหลังสีดำ ตัดอักษรสีขาว...
นอกจากนี้ ยังได้ถูกดัดแปลง ส่งต่อกัน จนมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ที่หลากหลาย สื่อสารไปยังทั่วโลก ให้ร่วมต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าว จนสามารถปลุกกระแสมวลชนได้ ซึ่งซีอีโอของกูเกิลก็เห็นด้วย จากพลังของโซเชียลมีเดีย ว่าสามารถทำได้
สำหรับป้ายสัญลักษณ์ที่แสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง พบว่า มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียนำไปใชเป็นรูปโปรไฟลส่วนตัว หรือ Avatar รวมทั้งตั้งค่าเป็นภาพพื้นหลัง (Cover Photo) และมีการสร้างแฟนเพจเฟซบุ๊ค เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊คบางคน ยอมเปลี่ยนชื่อบัญชีผู้ใช้ของตัวเอง หรือเติมท้ายชื่อบัญชีด้วยคำว่า "คัดค้าน/ต้าน/ไม่เอา พ.ร.บ. นิรโทษกรรม"เพื่อแสดงจุดยืนในครั้งนี้
จะเห็นได้ว่า พื้นที่ในโซเชียลมีเดีย นอกจากจะเป็นพื้นที่ แสดงออกทางความคิดเห็น และแสดงจุดยืนทางการเมืองอย่างชัดเจน ยังกลายเป็นพื้นที่ประกาศเชิญชวนรวมพล รวมพลังทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะปลุกกระแสได้มากแค่ไหน พิสูจน์ได้จากภาพการรวมพลในหลากหลายที่ เช่น ปรากฎการณ์พลังมวลชนที่ถนนสีลม, การชุมนุมบริเวณรอบอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนิน
ด้านดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยไทยรัฐออนไลน์ ว่า กระแสโลกโซเชียลมีเดียที่มีต่อการเมืองในปัจจุบัน ทวีความร้อนแรงมากขึ้น โดยจะเห็นว่าคนเมืองหรือคนรุ่นใหม่มีพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์มากขึ้น สื่อเหล่านี้ผู้คนสามารถป้อนข้อมูลข่าวสาร ในขณะเดียวกันก็สามารถรับข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
"เสน่ห์ของสื่อโซเชียลมีเดีย ยังอยู่ที่การไม่ได้ปิดกั้น ขณะที่สื่อหลักทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ จะมีข้อจำกัดเรื่องการเซ็นเซอร์ต่างๆ แต่สื่อออนไลน์ยังไม่แรงพอ อาจจะต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนของสื่อออฟไลน์ หรือสื่อภายนอกอีกด้วย"
อย่างไรก็ตาม ฟรีทีวีไม่ได้ถูกลดบทบาทลงเพราะสื่อออนไลน์ แต่พฤติกรรมการของกลุ่มคนเมือง หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่มากกว่าที่เปลี่ยนไป เพราะสื่อออนไลน์สามารถดูย้อนหลังได้ทุกที่ ทุกเวลา และยังมีพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น เช่น การกดไลค์ และในอนาคตสื่อออนไลน์ มีแนวโน้มจะทรงพลังมากยิ่งขึ้น บนพื้นฐานปัจจัยที่ว่า ข้อมูลข่าวสารนั้นสร้างสรรค์ หลากหลาย และน่าสนใจ
"เมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสียคือ ไม่ได้คัดกรองข้อมูลการเผยแพร่ ดังนั้นประชาชนควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนนำเผยแพร่ และควรแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ด้วยความระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสังคม หรือบุคคลด้วย" นั่นคือคำเตือนของดร.มานะ
ขณะที่นายเอริค ชมิดต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท กูเกิล อิงค์ สหรัฐอเมริกา หรือกูเกิล กล่าวในงาน "Big Tent Thailand 2013" ถึงพลังของโซเชียลมีเดียที่ถูกใช้เป็นสื่อปลุกกระแสทางการเมือง หรือการระดมพล ว่า โซเชียลมีเดียมีพลัง จากการกระจายข้อมูลที่รวดเร็ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับคนกระจายข้อมูลว่า จริงหรือเท็จ และผู้ที่รับข้อมูลจะเชื่อหรือไม่เชื่อ
อย่างไรก็ตาม แม้นายเอริค ปฏิเสธแสดงความเห็นเรื่องการเมืองอันร้อนแรงของประเทศไทยในขณะนี้ แต่เขาได้สนับสนุนให้ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นตามสิทธิกฎหมายอันเป็นประชาธิปไตย และยอมรับว่า ก่อนหน้านี้กูเกิล มีปัญหากับรัฐบาลของไทย โดยเฉพาะรัฐบาลทหาร ที่ไม่ต้องการให้กูเกิลเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย แต่ตอนนี้ประชาธิปไตยได้กลับคืนมาแล้ว ทำให้เว็บไซต์กูเกิล กล้าลงทุนในไทยมากขึ้น และได้รับผลตอบแทนที่ดีตามลำดับ
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/380913
ไม่มีความคิดเห็น: