Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2556 กสทช.ธเรศ ระบุการจัดให้มีโครงการ “คิดก่อนคลิก : มหันตภัยปลายนิ้ว” (NBTC Campus Tour 2013) ขึ้น เพื่อเตรียมความรู้ซึ่งอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คลิก โดยไม่คิด เพราะมีอันตรายร้ายแรงรอคอยเรา


ประเด็นหลัก


พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งของ กสทช.ที่สำคัญคือ การดูแลผู้บริโภคด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากในยุคออนไลน์ การดำเนินชีวิตให้ห่างไกลจากอันตรายของโลกไซเบอร์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการเผยแพร่ให้ความรู้ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ดังนั้น กสทช.จึงได้จัดให้มีโครงการ “คิดก่อนคลิก : มหันตภัยปลายนิ้ว” (NBTC Campus Tour 2013) ขึ้น

“เราคาดหวังว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับความรู้เรื่องการสื่อสารในยุค 3G นี้ ที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital Community เต็มรูปแบบ กสทช. จึงได้เตรียมความพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลให้ทุกท่านได้รับทราบผ่านรูปแบบการจัดนิทรรศการ ที่ให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วม ในชื่อว่า ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ – Cyber Security เพราะทุกคนมีโลกการสื่อสารอยู่ในมือ จึงควรคอยติดตามข่าวสารต่างๆ ที่มากับโลกออนไลน์ เพื่อคอยแนะนำ ดูแล ตลอดจนตักเตือนไม่ให้เด็ก ซึ่งอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คลิก โดยไม่คิด เพราะมีอันตรายร้ายแรงรอคอยเราอยู่ หากพลาดพลั้งจะเสียทั้งเงิน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากบุคคลที่แสวงหาประโยชน์จากเด็กๆ ได้” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว

พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวต่อว่า ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ต่างมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตและเรียนรู้ในชีวิตของเยาวชน บุตรหลาน ปัจจุบันการสื่อสารแบบถึงตัวของโซเชียลมีเดียและโลกออนไลน์ มีภัยที่ไม่คาดคิดอยู่หลายข้อ ซึ่งมีข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ Socail Network ให้ลองปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัย 6 ข้อสำคัญ คือ 1.ต้องเลือกคนก่อนรับเป็นเพื่อน คัดเลือกเฉพาะคนไว้ใจเท่านั้น เพราะเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้ชมอีกคนหนึ่ง ที่มองเห็นเรื่องราวของเราตลอดเวลา 2.ก่อนจะโพสต์อะไร ลองตรวจสอบเนื้อหาและความเหมาะสมก่อน เพราะสิ่งที่ถูกแชร์ออกไป จะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไป

นอกจากนี้ ข้อ 3.อย่ารายงานทุกความเคลื่อนไหวตลอดเวลาว่าคุณทำอะไร อยู่ที่ไหน เพราะอาจจะมีผู้ไม่หวังดีไปเห็นเข้า และอาจทำให้คุณเป็นเป้านิ่งที่ถูกซุ่มโจมตีโดยไม่รู้ตัว 4.ควรตั้งพาสเวิร์ดให้แตกต่างกันในแต่ละบัญชี (account) ใน Social Media อีกทั้งพาสเวิร์ด ควรใช้ตัวอักษรอย่างน้อย 8 ตัว เป็นอักษรตัวใหญ่และตัวเล็กที่มีตัวเลขรวมอยู่ด้วย และตั้งรหัสให้ต่างกันในแต่ละบัญชีของ Social Network ของคุณ ไม่งั้นแต่ละบัญชี Social Network ของคุณจะโดนเจาะระบบ (Hack) ได้ง่ายๆ เพราะกรณีรหัสเดียวกัน จะสามารถเข้า Hack ได้ทุกเว็บ และ 5.ก่อนจะทำการแทค (tag) ใคร ควรได้รับคำอนุญาต จากเพื่อนของคุณก่อน เพราะบางทีเขาอาจจะต้องการความเป็นส่วนตัวก็ได้ สุดท้าย 6.หมั่นตรวจสอบชื่อ หรือบัญชี (account) ใน Social Media ของตัวเองใน google บ้าง เผื่อมีภาพหรือข้อความที่มีผู้ไม่หวังดีนำไปเผยแพร่ จะได้ระงับทัน

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี กล่าวต่อว่า สำนักงาน กสทช.จะเดินหน้าให้ความรู้กับนักศึกษาและประชาชนในอีก 2 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช อนาคตจากนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการจัด เพิ่มเติมไปอีกในอนาคต โดยมุ่งเน้นเข้าไปที่สถาบันการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประโยชน์ 2 ด้าน ทั้งการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน และสำหรับผู้ที่เป็นสายตรงด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ก็จะทราบหลักการ กฎหมาย และภาครวมอนาคตการสื่อสารของประเทศชาติด้วย
















______________________________________



กสทช.ผุด 'คิดก่อนคลิก มหันตภัยปลายนิ้ว' เตือนภัยโลกไซเบอร์


กสทช.จัดโครงการ “คิดก่อนคลิก มหันตภัยปลายนิ้ว” เตือนภัยโลกออนไลน์ และการสื่อสารผ่านโซเลียลมีเดีย ป้องกันการถูกแฮกข้อมูล หรือการตกเป็นเป้านิ่ง ที่อาจถูกซุ่มโจมตีโดยไม่รู้ตัว...

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ภารกิจหนึ่งของ กสทช.ที่สำคัญคือ การดูแลผู้บริโภคด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากในยุคออนไลน์ การดำเนินชีวิตให้ห่างไกลจากอันตรายของโลกไซเบอร์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการเผยแพร่ให้ความรู้ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ดังนั้น กสทช.จึงได้จัดให้มีโครงการ “คิดก่อนคลิก : มหันตภัยปลายนิ้ว” (NBTC Campus Tour 2013) ขึ้น

“เราคาดหวังว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับความรู้เรื่องการสื่อสารในยุค 3G นี้ ที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital Community เต็มรูปแบบ กสทช. จึงได้เตรียมความพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลให้ทุกท่านได้รับทราบผ่านรูปแบบการจัดนิทรรศการ ที่ให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วม ในชื่อว่า ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ – Cyber Security เพราะทุกคนมีโลกการสื่อสารอยู่ในมือ จึงควรคอยติดตามข่าวสารต่างๆ ที่มากับโลกออนไลน์ เพื่อคอยแนะนำ ดูแล ตลอดจนตักเตือนไม่ให้เด็ก ซึ่งอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คลิก โดยไม่คิด เพราะมีอันตรายร้ายแรงรอคอยเราอยู่ หากพลาดพลั้งจะเสียทั้งเงิน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากบุคคลที่แสวงหาประโยชน์จากเด็กๆ ได้” พล.อ.อ.ธเรศ กล่าว

พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวต่อว่า ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ต่างมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตและเรียนรู้ในชีวิตของเยาวชน บุตรหลาน ปัจจุบันการสื่อสารแบบถึงตัวของโซเชียลมีเดียและโลกออนไลน์ มีภัยที่ไม่คาดคิดอยู่หลายข้อ ซึ่งมีข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ Socail Network ให้ลองปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัย 6 ข้อสำคัญ คือ 1.ต้องเลือกคนก่อนรับเป็นเพื่อน คัดเลือกเฉพาะคนไว้ใจเท่านั้น เพราะเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้ชมอีกคนหนึ่ง ที่มองเห็นเรื่องราวของเราตลอดเวลา 2.ก่อนจะโพสต์อะไร ลองตรวจสอบเนื้อหาและความเหมาะสมก่อน เพราะสิ่งที่ถูกแชร์ออกไป จะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไป

นอกจากนี้ ข้อ 3.อย่ารายงานทุกความเคลื่อนไหวตลอดเวลาว่าคุณทำอะไร อยู่ที่ไหน เพราะอาจจะมีผู้ไม่หวังดีไปเห็นเข้า และอาจทำให้คุณเป็นเป้านิ่งที่ถูกซุ่มโจมตีโดยไม่รู้ตัว 4.ควรตั้งพาสเวิร์ดให้แตกต่างกันในแต่ละบัญชี (account) ใน Social Media อีกทั้งพาสเวิร์ด ควรใช้ตัวอักษรอย่างน้อย 8 ตัว เป็นอักษรตัวใหญ่และตัวเล็กที่มีตัวเลขรวมอยู่ด้วย และตั้งรหัสให้ต่างกันในแต่ละบัญชีของ Social Network ของคุณ ไม่งั้นแต่ละบัญชี Social Network ของคุณจะโดนเจาะระบบ (Hack) ได้ง่ายๆ เพราะกรณีรหัสเดียวกัน จะสามารถเข้า Hack ได้ทุกเว็บ และ 5.ก่อนจะทำการแทค (tag) ใคร ควรได้รับคำอนุญาต จากเพื่อนของคุณก่อน เพราะบางทีเขาอาจจะต้องการความเป็นส่วนตัวก็ได้ สุดท้าย 6.หมั่นตรวจสอบชื่อ หรือบัญชี (account) ใน Social Media ของตัวเองใน google บ้าง เผื่อมีภาพหรือข้อความที่มีผู้ไม่หวังดีนำไปเผยแพร่ จะได้ระงับทัน

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี กล่าวต่อว่า สำนักงาน กสทช.จะเดินหน้าให้ความรู้กับนักศึกษาและประชาชนในอีก 2 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช อนาคตจากนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการจัด เพิ่มเติมไปอีกในอนาคต โดยมุ่งเน้นเข้าไปที่สถาบันการศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประโยชน์ 2 ด้าน ทั้งการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน และสำหรับผู้ที่เป็นสายตรงด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ก็จะทราบหลักการ กฎหมาย และภาครวมอนาคตการสื่อสารของประเทศชาติด้วย

อนึ่ง เวทีแรกจะขึ้นในวันพุธที่ 6 พ.ย.นี้ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิชาการในภาคเหนือ ภายในงานยังมีพันธมิตรทางการศึกษา ที่เชิญมาร่วมงานอีกหลายมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงนับได้ว่าเป็นการจัดงานที่รวบรวมสถาบันการศึกษาทางภาคเหนือครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยกิจกรรมในงานเข้มข้นด้วยสาระและบันเทิงในรูปแบบนิทรรศการ การบรรยาย และการเสวนา ในหัวข้อ “มหันตภัยปลายนิ้ว ภัยร้ายที่ต้องระวัง” และการบรรยายให้ความรู้นักศึกษาเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ในหัวข้อ “ทำไม อะไร ยังไง ดิจิตอลทีวี” โดยคุณสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. พร้อมกันนี้ ยังมีการบรรยายหัวข้อ “3G DDกับTechology ” โดย รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กสทช. ด้วย.

โดย: ทีมข่าวการศึกษา
http://m.thairath.co.th/content/tech/380945

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.