07 พฤศจิกายน 2556 กสทช. ระบุ การที่สิ้นสุดสัมปทาน TRUEMOVE GSM1800 ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานของผู้บนิโภค เหตุเพราะมีการประมูลคลื่น 2100 ทันเวลา
ประเด็นหลัก
ในส่วนผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และระหว่างบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา ปัจจุบันยังไม่ส่งผลกระทบต่อความหนาแน่นของการใช้งานโครงข่ายในปัจจุบัน เนื่องจาก กสทช. ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G ใหม่ 3 ราย แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF) และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ทำให้มีแบรนด์วิธเพียงพอที่จะรองรับการใช้บริการ
สำหรับในปี 2558 และปี 2561 ซึ่งเป็นปีที่สัญญาสัมปทานของ AIS และ DTAC จะสิ้นสุดลงตามลำดับนั้น จะทำให้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 รายคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF) และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เท่านั้น
______________________________________
กสทช.เตรียมเปิดประมูลคลื่นความถี่รองรับการใช้งานเพิ่มในอนาคต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66 ล้านคน มียอดผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 90 ล้านเลขหมาย มีสัดส่วนอัตราการใช้บริการสูงถึง 136.3 เลขหมายต่อประชากร 100 คน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตในลำดับต้นๆ ของโลก ส่วนการใช้งาน Social Network ในประเทศไทยเป็นการใช้งานผ่านโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ถึง 64% และมีการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์เพียง 36% โดยมีการเข้าถึงและการใช้งานผ่านโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดหรือ 85% คิดเป็นการเติบโตที่สูงเกือบ 2 เท่าตัวเปรียบเทียบจากปี 2555 ซึ่งการใช้บริการสื่อสารข้อมูลเฉพาะในระบบ W-CDMA / HSPA หรือ 3G ผ่านบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มากที่สุด ได้แก่ บริการดาวน์โหลดวิดีโอและเพลงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการรับส่งข้อความที่แนบภาพหรือวิดีโอ (SMS MMS) การเข้าชมเว็บไซต์ (Website Browsing) และการใช้ Social Media เช่น Facebook, Twitter, Google+, Instagram, LINE และ WhatsApp ฯลฯ รวมกันเกือบร้อยละ 80 ของบริการที่มิใช่ทางเสียงทั้งหมด
ในส่วนผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และระหว่างบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา ปัจจุบันยังไม่ส่งผลกระทบต่อความหนาแน่นของการใช้งานโครงข่ายในปัจจุบัน เนื่องจาก กสทช. ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ย่าน 2.1 GHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ 3G ใหม่ 3 ราย แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF) และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ทำให้มีแบรนด์วิธเพียงพอที่จะรองรับการใช้บริการ
สำหรับในปี 2558 และปี 2561 ซึ่งเป็นปีที่สัญญาสัมปทานของ AIS และ DTAC จะสิ้นสุดลงตามลำดับนั้น จะทำให้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 รายคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (RF) และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เท่านั้น
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=205794:2013-11-06-07-40-35&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
ไม่มีความคิดเห็น: