Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2556 ปิติพงษ์ มติธนวิรุฬห์ ระบุประเทศไทยจะมีดาวเทียมของตัวเอง แม้จะต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่นับเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางเทคโนโลยีให้กับประเทศในระยะยาว


ประเด็นหลัก

เขามองว่า ระบบดาวเทียมที่ประเทศไทยตัดสินใจลงทุนในเฟสแรก เป็นดาวเทียมเพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีข้อจำกัดเชิงแสง ในเรื่องของเมฆซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการได้ภาพถ่ายดาวเทียม อีกทั้งความถี่ของดาวเทียมที่ไม่มากพอทำให้หลายครั้งภาพที่ถ่ายได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ขณะที่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ยังเป็นไปอย่างจำกัด

"ดาวเทียมที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันมีอายุเกินการใช้งาน แม้จะยังคงอยู่ได้อีก 3-4 ปี ความแปรปรวนที่เกิดขึ้น ตลอดจนพลังงานที่ค่อยๆ ลดลง ทำให้เทคโนโลยีดาวเทียมของไทยอยู่ในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยง" เขากล่าว และว่าแต่หากประเทศไทยต้องการเดินหน้าพัฒนาดาวเทียมในระยะที่ 2 อาจต้องใช้เวลา 1-4 ปี กว่าที่เทคโนโลยีจะพร้อมใช้งาน

เขาบอกด้วยว่า ปัจจุบันหลายประเทศได้ลงทุนซื้อดาวเทียมเป็นของตัวเอง หรือเลือกที่จะสร้างสถานีรับสัญญาณ ในขณะที่หลายประเทศตัดสินใจสร้างดาวเทียมขึ้นเอง โดยนำเข้าอุปกรณ์บางส่วนจากประเทศผู้ผลิต

ทั้งนี้ บริษัทได้ศึกษาศักยภาพของผู้ใช้งาน ระบบตอบสนอง และผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับเมื่อเทียบกับการลงทุน โดยได้เสนอทางออกใน 3 แนวทาง ความเห็นว่า แนวทางแรกคือไทยไม่พัฒนาระบบดาวเทียมต่อและหันไปใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมดวงอื่นแทน

ส่วนแนวทางที่สอง คือพัฒนาระบบดาวเทียมเป็นของตัวเองโดยไม่ลงทุนดาวเทียมดวงใหม่ และเลือกตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแทน และแนวทางสุดท้ายคือการลงทุนสร้างดาวเทียมเป็นของตัวเอง เพื่อพัฒนาระบบอย่างครบวงจร

นายปิติพงษ์ มองว่า การที่ประเทศไทยจะมีดาวเทียมของตัวเอง เป็นแนวทางที่ดีที่สุด แม้จะต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่นับเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางเทคโนโลยีให้กับประเทศในระยะยาว

ปัจจุบันตลาดเทคโนโลยีดาวเทียมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิตมายังประเทศผู้ซื้อที่มากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสสำหรับประเทศที่ต้องการลงทุนเทคโนโลยี ต่างจากในอดีตที่เน้นขายอุปกรณ์อย่างเดียว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจระบบและนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ชนิดใหม่ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงมีราคาถูกลง ทำให้ต้นทุนของดาวเทียมต่างจากในอดีต ขณะที่ผู้ใช้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีแนวโน้มที่แต่ละประเทศจะลงทุนสร้างระบบดาวเทียมเป็นของตัวเอง และแลกเปลี่ยนข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกันมากขึ้น

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) บอกว่า ประเทศไทยได้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อติดตามและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมากว่า 30 ปี ซึ่งการใช้งานดังกล่าว สามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายของประเทศ อีกทั้งยังได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ภัยพิบัติ และความมั่นคง

อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานมีความต้องการข้อมูลที่หลากหลาย ทันต่อเหตุการณ์ และง่ายต่อการเข้าถึง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบสำรวจโลกด้วยดาวเทียมระยะที่ 2 ขึ้น

นายอานนท์ บอกอีกว่า จากการศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นของบริษัทที่ปรึกษา เอดับเบิ้ลยูอาร์ ลอยด์ นั้นตนเห็นว่าสิ่งที่สำคัญของโครงการดาวเทียมระยะที่ 2 คือ การเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด โดยครอบคลุมภารกิจสำคัญของประเทศไทยทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติ ด้านการเกษตร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนพัฒนาและจัดการพื้นที่เมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงและการทหาร รวมถึงการใช้งานด้านสุขภาพอนามัย เช่น ใช้วิเคราะห์สถานการณ์หมอกควัน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แม้บริษัทที่ปรึกษาจะเสนอว่าโครงการดาวเทียมระยะที่ 2 ไทยควรจะมีดาวเทียมเป็นของตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงด้านข้อมูล และสามารถใช้ต่อรองกับต่างประเทศได้มากกว่าที่จะเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้น นายอานนท์ มองว่าการต่อรองกับต่างประเทศ ไม่จำเป็นที่ไทยจะต้องมีดาวเทียมเป็นของตนเองก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือการนำมาใช้งานมากกว่า เพราะว่าปัจจุบันไทยไม่สามารถที่จะพึ่งพาดาวเทียมเพียงดวงใดดวงหนึ่งได้ แต่ต้องเข้าถึงและเชื่อมโยงดาวเทียมที่มีหลากหลายคุณสมบัติกว่า 20 ดวงในปัจจุบัน

ทั้งนี้ หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นในโครงการระบบสำรวจโลกด้วยดาวเทียมของประเทศ ระยะที่ 2 แล้ว จะมีการนำจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอต่อสภาพัฒน์ฯ พิจารณาศึกษาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ต่อไป โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนว่าจะเป็นไปในรูปแบบใดได้ในต้นปีหน้า

อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยจะพัฒนาระบบดาวเทียมของประเทศไปในทิศทางใดนั้น ที่สุดแล้วต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล


______________________________________



ไทยดันสร้าง'ดาวเทียม'เฟส 2

โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา


ปัจจุบันไทยไม่สามารถที่จะพึ่งพาดาวเทียมเพียงดวงใดดวงหนึ่งได้ แต่ต้องเข้าถึงและเชื่อมโยงดาวเทียมที่มีหลากหลายคุณสมบัติกว่า 20 ดวงในปัจจุบัน



เมื่อประเทศไทยมีความต้องการใช้ดาวเทียมในระบบกว่า 100 ดวง จึงเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของนักวิจัยไทย โดยเฉพาะกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะต้องดึงแนวร่วมภาคเอกชนเข้ามาเป็นพันธมิตรช่วยพัฒนาโครงการให้เป็นรูปธรรม ล่าสุดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการระบบสำรวจโลกด้วยดาวเทียมของประเทศ ระยะที่ 2 ให้บริษัทเอกชนได้ร่วมศึกษาความเป็นไปได้

นายปิติพงษ์ มติธนวิรุฬห์ ผู้อำนวยการบริษัทเอดับเบิ้ลยูอาร์ ลอยด์ จำกัด สะท้อนบทเรียนที่ผ่านมาว่า จากการพัฒนาดาวเทียมดวงแรกของไทยชี้ให้เห็นว่าเป็นการซื้อเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มากพอจะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการสร้างดาวเทียมเป็นของตัวเองได้ ในขณะที่ข้อจำกัดด้านความลับทางการค้าและเทคโนโลยียังเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมยังคงต้องอาศัยความร่วมมือจากต่างประเทศเป็นหลัก

ทั้งนี้ การพัฒนาระบบดาวเทียมของประเทศ ต้องมองถึงต้นน้ำ คือดาวเทียมของชาติและดาวเทียมอื่นๆ ในระบบ ส่วนกลางน้ำคือระบบประมวลผลและกระจายข้อมูล ตลอดจนปลายน้ำ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านการเกษตร ภัยพิบัติ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย

เขามองว่า ระบบดาวเทียมที่ประเทศไทยตัดสินใจลงทุนในเฟสแรก เป็นดาวเทียมเพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีข้อจำกัดเชิงแสง ในเรื่องของเมฆซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการได้ภาพถ่ายดาวเทียม อีกทั้งความถี่ของดาวเทียมที่ไม่มากพอทำให้หลายครั้งภาพที่ถ่ายได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ขณะที่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ยังเป็นไปอย่างจำกัด

"ดาวเทียมที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันมีอายุเกินการใช้งาน แม้จะยังคงอยู่ได้อีก 3-4 ปี ความแปรปรวนที่เกิดขึ้น ตลอดจนพลังงานที่ค่อยๆ ลดลง ทำให้เทคโนโลยีดาวเทียมของไทยอยู่ในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยง" เขากล่าว และว่าแต่หากประเทศไทยต้องการเดินหน้าพัฒนาดาวเทียมในระยะที่ 2 อาจต้องใช้เวลา 1-4 ปี กว่าที่เทคโนโลยีจะพร้อมใช้งาน

เขาบอกด้วยว่า ปัจจุบันหลายประเทศได้ลงทุนซื้อดาวเทียมเป็นของตัวเอง หรือเลือกที่จะสร้างสถานีรับสัญญาณ ในขณะที่หลายประเทศตัดสินใจสร้างดาวเทียมขึ้นเอง โดยนำเข้าอุปกรณ์บางส่วนจากประเทศผู้ผลิต

ทั้งนี้ บริษัทได้ศึกษาศักยภาพของผู้ใช้งาน ระบบตอบสนอง และผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับเมื่อเทียบกับการลงทุน โดยได้เสนอทางออกใน 3 แนวทาง ความเห็นว่า แนวทางแรกคือไทยไม่พัฒนาระบบดาวเทียมต่อและหันไปใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมดวงอื่นแทน

ส่วนแนวทางที่สอง คือพัฒนาระบบดาวเทียมเป็นของตัวเองโดยไม่ลงทุนดาวเทียมดวงใหม่ และเลือกตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมแทน และแนวทางสุดท้ายคือการลงทุนสร้างดาวเทียมเป็นของตัวเอง เพื่อพัฒนาระบบอย่างครบวงจร

นายปิติพงษ์ มองว่า การที่ประเทศไทยจะมีดาวเทียมของตัวเอง เป็นแนวทางที่ดีที่สุด แม้จะต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง แต่นับเป็นการสร้างอำนาจต่อรองทางเทคโนโลยีให้กับประเทศในระยะยาว

ปัจจุบันตลาดเทคโนโลยีดาวเทียมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิตมายังประเทศผู้ซื้อที่มากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสสำหรับประเทศที่ต้องการลงทุนเทคโนโลยี ต่างจากในอดีตที่เน้นขายอุปกรณ์อย่างเดียว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจระบบและนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ชนิดใหม่ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงมีราคาถูกลง ทำให้ต้นทุนของดาวเทียมต่างจากในอดีต ขณะที่ผู้ใช้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีแนวโน้มที่แต่ละประเทศจะลงทุนสร้างระบบดาวเทียมเป็นของตัวเอง และแลกเปลี่ยนข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกันมากขึ้น

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) บอกว่า ประเทศไทยได้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อติดตามและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมากว่า 30 ปี ซึ่งการใช้งานดังกล่าว สามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายของประเทศ อีกทั้งยังได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศในหลายด้าน ทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ภัยพิบัติ และความมั่นคง

อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานมีความต้องการข้อมูลที่หลากหลาย ทันต่อเหตุการณ์ และง่ายต่อการเข้าถึง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบสำรวจโลกด้วยดาวเทียมระยะที่ 2 ขึ้น

นายอานนท์ บอกอีกว่า จากการศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นของบริษัทที่ปรึกษา เอดับเบิ้ลยูอาร์ ลอยด์ นั้นตนเห็นว่าสิ่งที่สำคัญของโครงการดาวเทียมระยะที่ 2 คือ การเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด โดยครอบคลุมภารกิจสำคัญของประเทศไทยทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติ ด้านการเกษตร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนพัฒนาและจัดการพื้นที่เมืองและระบบโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงและการทหาร รวมถึงการใช้งานด้านสุขภาพอนามัย เช่น ใช้วิเคราะห์สถานการณ์หมอกควัน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แม้บริษัทที่ปรึกษาจะเสนอว่าโครงการดาวเทียมระยะที่ 2 ไทยควรจะมีดาวเทียมเป็นของตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงด้านข้อมูล และสามารถใช้ต่อรองกับต่างประเทศได้มากกว่าที่จะเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้น นายอานนท์ มองว่าการต่อรองกับต่างประเทศ ไม่จำเป็นที่ไทยจะต้องมีดาวเทียมเป็นของตนเองก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือการนำมาใช้งานมากกว่า เพราะว่าปัจจุบันไทยไม่สามารถที่จะพึ่งพาดาวเทียมเพียงดวงใดดวงหนึ่งได้ แต่ต้องเข้าถึงและเชื่อมโยงดาวเทียมที่มีหลากหลายคุณสมบัติกว่า 20 ดวงในปัจจุบัน

ทั้งนี้ หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นในโครงการระบบสำรวจโลกด้วยดาวเทียมของประเทศ ระยะที่ 2 แล้ว จะมีการนำจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอต่อสภาพัฒน์ฯ พิจารณาศึกษาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ต่อไป โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนว่าจะเป็นไปในรูปแบบใดได้ในต้นปีหน้า

อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยจะพัฒนาระบบดาวเทียมของประเทศไปในทิศทางใดนั้น ที่สุดแล้วต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20131106/541120/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%
94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%
B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9F%
E0%B8%AA-2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.