11 พฤศจิกายน 2556 กสทช.สุทธิพล ระบุ CAT ฟ้องคดีแน่นอน!!! โดยเตรียมยกร่าง ป้องซิมดับ เหตุทำตามกฏหมายหมายและกำหนดให้ทั้ง CAT และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องนำส่งรายได้จากสัมปทานให้กับแผ่นดินตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป
ประเด็นหลัก
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าว ภายหลังการเข้าห้องพิจารณาคดี 5 ศาลปกครองกลางว่า มั่นใจในคำชี้แจงกรณีที่ถูกบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ยื่นฟ้อง กทค. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และขอคุ้มครองฉุกเฉิน เรียก ค่าเสียหาย และขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช. ที่ออกประกาศ เรื่อง มาตรการ คุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ พ.ศ 2556 โดยชี้แจงว่า กสท ไม่มีสิทธิ์ในคลื่นดังกล่าวตั้งแต่สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) จำกัดสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 ก .ย. 2556 และหาก กทค. ไม่ออกประกาศคุ้มครองฯ จะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศและไม่มี ผู้รับผิดชอบผู้ใช้บริการประมาณ 17 ล้านราย ดังนั้น การที่ กทค. ออกร่าง ประกาศดังกล่าว ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ได้ทำให้ กสท เสียหายแต่อย่างใด
______________________________________
กทค. ยกร่างฯ ป้องซิมดับ อุดสุญญากาศ แจงศาลปกครอง
"สุทธิพล ทวีชัยการ" กก.กทค. ชี้ กสท ฟ้องเรียก 2.75 แสนล้านบาทไร้น้ำหนัก มั่นใจ ออกร่างป้องกันซิมดับ อุดสุญญากาศ คุ้มครองผู้บริโภค...
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าว ภายหลังการเข้าห้องพิจารณาคดี 5 ศาลปกครองกลางว่า มั่นใจในคำชี้แจงกรณีที่ถูกบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ยื่นฟ้อง กทค. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และขอคุ้มครองฉุกเฉิน เรียก ค่าเสียหาย และขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช. ที่ออกประกาศ เรื่อง มาตรการ คุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ พ.ศ 2556 โดยชี้แจงว่า กสท ไม่มีสิทธิ์ในคลื่นดังกล่าวตั้งแต่สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) จำกัดสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 ก .ย. 2556 และหาก กทค. ไม่ออกประกาศคุ้มครองฯ จะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศและไม่มี ผู้รับผิดชอบผู้ใช้บริการประมาณ 17 ล้านราย ดังนั้น การที่ กทค. ออกร่าง ประกาศดังกล่าว ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ได้ทำให้ กสท เสียหายแต่อย่างใด
อีกทั้ง ตาม พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนดให้ทั้ง กสท และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องนำส่งรายได้จากสัมปทานให้กับแผ่นดินตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป อยู่แล้ว ดังนั้น แม้จะมีสัมปทานหรือไม่มีสัมปทานก็ตาม กสท ก็ไม่มีสิทธิ์ใน รายได้จากสัมปทานนั้นอีกต่อไป การฟ้องกรณีดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมากพอ
"การ ที่ กสท ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 2.75 แสนล้านบาท จะแตกต่างจากการฟ้องเพื่อเพิกถอนประกาศฯ ดังนั้นต้องเสียเงินค่าธรรมเนียม 1% ของวงเงินหรือ 2.75 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเรียกร้องที่สูญเปล่า เพราะ กสท ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในคลื่นความถี่ได้อีกต่อไป" นายสุทธิพล กล่าว
สำหรับ คดีดังกล่าว กสท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อกลางเดือน ต.ค. 2556 โดยขอคุ้มครองฉุกเฉิน มูลค่าความเสียหาย 2.75 แสนล้านบาท คิดจากรายได้ที่ ควรจะได้รับจากเลขหมายมือถือตามสัญญาสัมปทาน 17-18 ล้านเลขหมาย ซึ่งแต่ละเลขหมาย มีรายได้ขั้นต่ำ 200-300 ต่อเดือน โดยเป็นการคำนวณรายได้ไปจนถึงการสิ้นสุดใบอนุญาตของ กสท ในปี 2568
อย่างไร ก็ตาม ประกาศดังกล่าวยังขัดต่อกฏหมายอยู่ 3 ประเด็น คือ 1.กำหนดให้เจ้าของสัมปทาน คือ กสท และผู้รับสัมปทานคือ ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้ให้บริการต่อไปในช่วง ประกาศดังกล่าว ทั้งที่ผู้รับสัมปทานมีข้อจำกัดของกฏหมายในการให้บริการตาม มาตรา 80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยสรุปสิทธิการบริหารจัดการของ ผู้รับสัมปทานต้องหมดลงตั้งแต่ในวันที่ 15 ก.ย. 2556
2.ประเด็น การใช้คลื่นความถี่ที่จะไม่ขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดย ระบุว่าผู้รับสัมปทานสามารถบริหารคลื่นความถี่ได้เฉพาะในช่วงที่อยู่ใน สัมปทานเท่านั้น ดังนั้นการใช้คลื่นความถี่ภายหลังหมดสัญญาสัมปทานผู้รับ สัมปทานคือทรูมูฟ และดีพีซี จึงไม่มีสิทธิในการนำคลื่นดังกล่าวมาบริหาร จัดการแต่อย่างใด และกสท มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพราะเป็นผู้รับใบอนุญาต
3.กรณี ประกาศดังกล่าวมีการเร่งรัดให้โอนย้ายลูกค้าออกจากระบบนั้น ถือเป็นการทำให้ กสทฯเป็นผู้เสียหายโดยตรง เนื่องจากลูกค้าทั้งหมดภายใต้สัญญาสัมปทาน ราว 17 ล้านเลขหมายจะต้องย้ายมาอยู่ในระบบมาย ของ กสท แทน และยังไม่เป็นไป ตามประกาศบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) ที่ระบุให้มีการโอน ย้ายแบบยินยอมสมัครใจเท่านั้น จึงส่งผลทำให้ลูกค้าของกสท ที่ควรจะมี ราว 17 ล้านรายย้ายออกจากระบบทั้งหมด.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/381954
______________________________________
“กทค.” เชื่อหลุดคดี กสท ฟ้องประกาศเยียวยา 1800 MHz
“สุทธิพล” เชื่อหลุดคดี กสท ฟ้องร้องประกาศเยียวยา 1800 MHz ชี้ประเด็นฟ้องไร้น้ำหนัก พร้อมเสียดายแทนเงินค่าธรรมเนียม 1% ทั้งที่เป็นเงินของประชาชน ระบุหากไม่มีประกาศดังกล่าวผู้บริโภค 17 ล้านรายเกิดภาวะสุญญากาศแน่
นายสุทธิพล ทวีชัยการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังเข้าไปชี้แจงต่อศาลปกครองกลางว่า ตนมั่นใจในคำชี้แจงเป็นอย่างมาก ในกรณีที่ กทค. และ กสทช. ถูกบริษัท กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้อง และขอคุ้มครองฉุกเฉิน พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากทำให้ กสท สูญเสียรายได้ราว 2.75 แสนล้านบาท และขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช.ที่ออกประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ 2556 (ประกาศเยียวยา 1800 MHz)
โดยสาระสำคัญที่ทาง กทค.ได้ชี้แจงต่อศาลไปนั้นคือ กสท ไม่มีสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าวตั้งแต่สัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ บริษัท ทรูมูฟ และดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา และหาก กทค.ไม่ออกประกาศเยียวยา 1800 MHz เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการก็จะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศ และไม่มีผู้รับผิดชอบผู้ใช้บริการกว่า 17 ล้านราย ดังนั้นจึงจำเป็นที่ กทค.ต้องออกประกาศฉบับดังกล่าว ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ได้ทำให้ กสท เสียหายแต่อย่างใดด้วย
อีกทั้งตาม พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ. 2553 กำหนดให้ทั้ง กสท และบริษัท ทีโอที จำกัด ต้องนำส่งรายได้จากสัมปทานแก่แผ่นดินตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปอยู่แล้ว ดังนั้น แม้จะมีสัมปทานหรือไม่มีสัมปทานก็ตาม กสท ก็ไม่มีสิทธิ์ในรายได้จากสัมปทานนั้นอีกต่อไป การฟ้องกรณีดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมากพอ
“เงินค่าธรรมเนียม 1% หรือราว 270 ล้านบาทที่ กสท ต้องจ่ายให้ศาลกรณีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นการเรียกร้องที่สูญเปล่า ทั้งที่ กสท ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในคลื่นความถี่ได้อีกต่อไป ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นเงินของประชาชนเช่นกัน”
อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง กสท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อช่วงกลางเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และขอให้เพิกถอนประกาศเยียวยา 1800 MHz รวมถึงล่าสุดขอให้ศาลคุ้มครองฉุกเฉินสำหรับประกาศดังกล่าว โดยค่าเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียรายได้มีมูลค่าราว 2.75 แสนล้านบาท ซึ่งคำนวณจากการนำอัตรารายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือนของ กสท ซึ่งมีอัตราขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 200-300 บาทต่อเดือน คูณด้วยจำนวนผู้ใช้บริการทั้ง 17 ล้านเลขหมาย และคิดรวมไปกับรายได้ไปจนถึงการสิ้นสุดใบอนุญาตของ กสท ในปี 2568 หรือประมาณ 12 ปี ที่สามารถให้บริการ 3G ภายใต้แบรนด์ “My” ของ กสท
นอกจากนี้ กสท ยังมองว่าประกาศเยียวยา 1800 MHz ยังขัดต่อกฎหมายอยู่ 3 ประเด็น คือ 1. กำหนดให้เจ้าของสัมปทานคือ กสท และผู้รับสัมปทานคือ ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้ให้บริการต่อไปในช่วงประกาศดังกล่าว ทั้งที่ผู้รับสัมปทานมีข้อจำกัดของกฎหมายในการให้บริการตามมาตรา 80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยสรุปสิทธิการบริหารจัดการของผู้รับสัมปทานต้องหมดลงตั้งแต่ในวันที่ 15 ก.ย. 2556 2. ประเด็นการใช้คลื่นความถี่ที่จะไม่ขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยระบุว่าผู้รับสัมปทานสามารถบริหารคลื่นความถี่ได้เฉพาะในช่วงที่อยู่ในสัมปทานเท่านั้น ดังนั้น การใช้คลื่นความถี่ภายหลังหมดสัญญาสัมปทานผู้รับสัมปทานคือทรูมูฟ และดีพีซี จึงไม่มีสิทธิในการนำคลื่นดังกล่าวมาบริหารจัดการแต่อย่างใด และ กสท มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพราะเป็นผู้รับใบอนุญาต
3. กรณีประกาศดังกล่าวมีการเร่งรัดให้โอนย้ายลูกค้าออกจากระบบนั้น ถือเป็นการทำให้ กสท เป็นผู้เสียหายโดยตรง เนื่องจากลูกค้าทั้งหมดภายใต้สัญญาสัมปทานราว 17 ล้านเลขหมายจะต้องย้ายมาอยู่ในระบบของ กสท แทน และยังไม่เป็นไปตามประกาศบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี) ที่ระบุให้มีการโอนย้ายแบบยินยอมสมัครใจเท่านั้น จึงส่งผลทำให้ลูกค้าของ กสท ที่ควรจะมีราว 17 ล้านรายย้ายออกจากระบบทั้งหมด
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000139673
_______________________________________________
กทค.มั่นใจหลุดคดีซิมดับ กสทช.ขอกทม.อนุมัตินำข่ายสื่อสารโทรคมนาคมลงดิน
กทค.มั่นใจหลุดคดีฟ้องร้องออกร่างป้องกันซิมดับ 3 แสนล้านบาท ชี้คุ้มครองผู้ใช้บริการ 17 ล้านราย กสทช.ส่งหนังสือถึง กทม. ขอนำข่ายสื่อสารโทรคมนาคมลงดิน จากอนุสาวรีย์ชัยฯ ถึงลาดพร้าว
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า มั่นใจในคำชี้แจงต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ กทค. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถูกบริษัท กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้องและขอคุ้มครองฉุกเฉิน เรียกค่าเสียหายและขอยกเลิกเพิกถอนมติ กสทช.ที่ออกประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 ซึ่งได้ประมาณการว่าจะทำให้ กสท เสียหายสูงถึง 2.75 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ กทค.ได้ชี้แจงว่า กสท ไม่มีสิทธิ์ในคลื่นความถี่ดังกล่าวตั้งแต่สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ และดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา และหาก กทค.ไม่ออกประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการดังกล่าว จะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศและไม่มีผู้รับผิดชอบผู้ใช้บริการกว่า 17 ล้านราย ดังนั้นการที่ กทค.ออกร่างประกาศฉบับนี้ ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และไม่ได้ทำให้ กสท เสียหายแต่อย่างใด
“การที่ กสท ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และต้องเสียเงินค่าธรรมเนียม 1% ของวงเงิน หรือเกือบ 300 ล้านบาทนั้นเป็นการเรียกร้องที่สูญเปล่า เพราะ กสท ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในคลื่นความถี่ได้อีกต่อไป ซึ่งเงินดังกล่าวก็เป็นเงินของประชาชนเช่นกัน” นายสุทธิพลกล่าว
นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.กสทช. พ.ศ.2553 กำหนดให้ทั้ง กสท และทีโอทีต้องนำส่งรายได้จากสัมปทานให้กับแผ่นดินตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปอยู่แล้ว ดังนั้นแม้จะมีสัมปทานหรือไม่มีสัมปทานก็ตาม กสท ก็ไม่มีสิทธิ์ในรายได้จากสัมปทานนั้นอีกต่อไป การฟ้องกรณีดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมากพอ
สำหรับคดีดังกล่าว กสท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อกลางเดือน ต.ค. ขอคุ้มครองฉุกเฉิน โดยมูลค่าความเสียหาย 2.75 แสนล้านบาท คำนวณจากการนำอัตรารายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (Arpu) ของ กสท ซึ่งมีอัตราขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 200-300 บาทต่อเดือน คูณด้วยจำนวนผู้ใช้บริการทั้ง 17 ล้านเลขหมาย และคิดรวมไปกับรายได้ไปจนถึงการสิ้นสุดใบอนุญาตของ กสท ในปี 2568 หรือประมาณ 12 ปี ที่สามารถให้บริการ 3 จี ภายใต้แบรนด์ “มาย” ของ กสท เอง
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงาน กสทช.ส่งหนังสือถึงกรุงเทพมหานครแจ้งความประสงค์ขอนำสายสื่อสารอากาศที่พาดอยู่บนเสาลงดิน และจะดำเนินการก่อสร้างท่อร้อยสายในเส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงห้าแยกลาดพร้าว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสายจำนวนมากอยู่บนเสา ก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สัญจร
สำหรับการดำเนินการนำสายสื่อสารลงดินนั้น เป็นไปตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมด้านการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพของ กสทช. ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งหากได้รับการอนุญาตจากกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างท่อร้อยสายเพื่อดำเนินการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมดังกล่าวได้.
http://www.thaipost.net/news/091113/81822
ไม่มีความคิดเห็น: