11 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา เปิดเผยในการประชุม (แก้ร่างคุมTV) ตามมาตรา 37 แก้..โดยห้ามนำเสนอเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อย่างร้ายแรง
ประเด็นหลัก
เมื่อวันที่ 9 พ.ย. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ว่า วันจันทร์นี้ (11 พ.ย.2556) ได้เตรียมพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. .... เป็นการกำกับเนื้อหาทางโทรทัศน์ วิทยุ ตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดยห้ามนำเสนอเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อย่างร้ายแรง
______________________________________
กสท.เตรียมปรับเนื้อหา หวั่นบิดเบือนซ้ำรอยเดิม
กสท.เตรียมพิจารณาร่างหลักเกณฑ์เนื้อหารายการ รับทีวีดิจิตอล ห่วงการพิจารณาอาจขัดความเป็นจริง-เลือกปฏิบัติ สุภิญญา แนะ เสนอเนื้อหาตามมาตรา 37...
เมื่อวันที่ 9 พ.ย. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ว่า วันจันทร์นี้ (11 พ.ย.2556) ได้เตรียมพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. .... เป็นการกำกับเนื้อหาทางโทรทัศน์ วิทยุ ตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดยห้ามนำเสนอเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ ยังกำหนดมาตรการสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไข หรือพักใช้ใบอนุญาตได้ภายหลัง ซึ่งครั้งที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่มีมติให้สำนักงาน กสทช. นำร่างไปปรับแก้ไข ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม กสท. อีกครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอีกรอบ ท่ามกลางกระแสการคัดค้านจากองค์กรวิชาชีพสื่อ นักวิชาการ และผู้บริโภค
น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า ถึงแม้จะมีการปรับเนื้อหาในร่างประกาศบางส่วนแล้วก็ตาม แต่ยังกังวลว่าอาจจะขยายอำนาจการใช้ดุลยพินิจของบอร์ด กสท. ในการพิจารณาเรื่องต่างๆ และอาจขัดต่อความเป็นจริง และอาจเกิดการเลือกปฏิบัติได้ เพราะที่ผ่านมาการออกอากาศเนื้อหาที่บิดเบือนข้อเท็จจริงไม่ว่าจะในละคร ข่าว หรือรายการต่างๆ สื่อมวลชนและสังคมจะช่วยกันตรวจสอบเองตามหลักการประชาธิปไตย อีกทั้ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ มาตรา 39 และมาตรา 40 ได้กำหนดให้กสทช. มีหน้าที่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบวิชาชีพมีหน้าที่กำกับดูแลตนเองภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรมทางวิชาชีพ
อย่างไรก็ตาม จึงไม่ต้องการให้ กสท. ทำหน้าที่พิจารณาความถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องของจรรยาบรรณ ควรเป็นแนวทางในการตักเตือนวิชาชีพ โดยไม่ควรนำมาบรรจุไว้ใน “หมวด 1 เนื้อหารายการต้องห้ามมิให้ออกอากาศ” เพราะขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ หากเนื้อหาไม่ได้บิดเบือนหรือไปกระทบสถาบันที่สำคัญอย่างร้ายแรง จึงเสนอแนวคิดร่างฯ ทางเลือกในการกำกับเนื้อหาตาม มาตรา 37 แบบที่ไม่ขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักสิทธิเสรีภาพเพิ่มเติมด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวาระการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์กำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่ เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. ... และร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาและมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดจากพฤติกรรม อันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ...เพื่อรองรับทีวีดิจิตอล ซึ่งกำลังเตรียมประมูลในช่วงปลายปีนี้
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/eco/381757
ไม่มีความคิดเห็น: