11 พฤศจิกายน 2556 อีริค ชมิดท์ ประธาน GOOGLE ระบุ บริษัทจะพัฒนาบริการค้นหาด้วยภาษาไทย สนับสนุนการเพิ่มเนื้อหาภาษาไทยบนเว็บไซต์ และสนับสนุนด้านการศึกษา
ประเด็นหลัก
ขณะที่สาขาของกูเกิลในไทย นายอีริค กล่าวว่า บริษัทยังไม่ขนาดใหญ่ แต่มีโอกาสทางธุรกิจและอัตราการเติบโตของรายได้สูง โดยเว็บไซต์ "ยูทูบ" จะเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ
นอกจากนี้บริษัทจะพัฒนาบริการค้นหาด้วยภาษาไทย สนับสนุนการเพิ่มเนื้อหาภาษาไทยบนเว็บไซต์ และสนับสนุนด้านการศึกษาจากการเผยแพร่บริการของกูเกิล รวมถึงการจับมือกับสถานศึกษาในไทย นำสื่อการเรียนการสอนระดับโลกมาเผยแพร่บนโลกออนไลน์ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้จากทั่วทุกมุมโลก
______________________________________
บิ๊กกูเกิลชี้ "เน็ตเวิร์ก"บอดจุดอ่อนไทย กระตุ้นรัฐลงทุนเพิ่มหนุนเด็กคิดต่าง
อีริค ชมิดท์ ชี้โครงสร้างพื้นฐานเน็ต-วิศวกรไอทีเป็นจุดอ่อนประเทศไทย กระตุ้นรัฐบาลวางโครงข่ายให้ประชาชนออนไลน์ได้ทั่วประเทศและเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาระบบการศึกษาให้เด็กคิดนอกกรอบ เพื่อก้าวเป็นผู้นำไอทีในอาเซียน ขณะที่กูเกิลไทยมีรายได้สูงขึ้นเตรียมต่อยอดสร้างคอนเทนต์ภาษาไทยและพัฒนาระบบหาคำอย่างต่อเนื่อง
เมื่อ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา นายอีริค ชมิดท์ ประธานบริษัท กูเกิล เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมงาน Google Big Tent Thailand 2013 หลังจากได้เดินสายไปปาฐกถาหลายประเทศในเอเชีย อาทิ อินเดีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง โดยประธานกูเกิลกล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทยว่า วันนี้คุณภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในไทยดีเฉพาะในเขตเมืองเท่านั้น ต่างกับเขตรอบนอกอย่างชัดเจน
ภารกิจของรัฐบาลคือต้องวางโครงข่ายเชื่อมประเทศไทยเข้าด้วยกัน และต้องไม่ปิดกั้นหรือกลั่นกรองความคิดของประชาชน ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี แม้จะเป็นความเห็นทางการเมือง หากทำได้สำเร็จธุรกิจอื่นจะเกิดขึ้นได้เองจากการปล่อยให้ประชาชนขับเคลื่อน
"ถ้าหากผมเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในไทยคงจะเริ่มจากการทำซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยว การศึกษา หรือการบอกข้อมูลจราจร เมื่อทั้งประเทศคุณเชื่อมต่อถึงกันหมดแล้ว คุณจะสามารถมองเห็นปัญหาต่าง ๆ และช่วยพัฒนาประเทศได้ ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาการคอร์รัปชั่นก็ได้ เพราะจะทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ และช่วยให้ทุกคนรู้ว่าเงินหมุนเวียนผ่านช่องทางไหนบ้าง"
คนไทยโดดเด่นเรื่องความคิดสร้างสรรค์และความสามารถด้านวิศวกรรมอยู่แล้ว แต่การที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคอาเซียนได้จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มด้านโครงข่าย การสร้างวิศวกรและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะเป็นทรัพยากรสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต แต่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนคิดไอเดียใหม่ๆ ทางแก้คือการนำอินเทอร์เน็ตเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแล้วกระตุ้นให้เด็กสงสัยใคร่รู้และคิดต่าง จากนั้นจึงบอกว่าสิ่งใดที่ถูกที่ควรและสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม โดยครอบครัวจะเป็นส่วนสำคัญให้เด็กและเยาวชนใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัย
"ทั่วโลกมีคนออนไลน์ประมาณ 2,500 ล้านคน แต่คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นอีก 4,000 ล้านคน และใช้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์ การศึกษา ความปลอดภัย และความบันเทิงเชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน
ส่วนโอกาสของการเกิดซิลิกอนวัลเลย์ในประเทศไทย นายอีริคกล่าวว่า ซิลิกอนวัลเลย์ในสหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่เป็นกระบวนการทางด้านนามธรรมมากกว่า โดยความสำเร็จของกูเกิลนั้นเกิดขึ้นได้ จากการกระตุ้นบุคลากรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และทำให้เชื่อว่าเทคโนโลยีจะทำให้โลกดีขึ้น ซึ่งความเชื่อจะทำให้มีพลังในการทำงาน
ขณะที่สาขาของกูเกิลในไทย นายอีริค กล่าวว่า บริษัทยังไม่ขนาดใหญ่ แต่มีโอกาสทางธุรกิจและอัตราการเติบโตของรายได้สูง โดยเว็บไซต์ "ยูทูบ" จะเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ
นอกจากนี้บริษัทจะพัฒนาบริการค้นหาด้วยภาษาไทย สนับสนุนการเพิ่มเนื้อหาภาษาไทยบนเว็บไซต์ และสนับสนุนด้านการศึกษาจากการเผยแพร่บริการของกูเกิล รวมถึงการจับมือกับสถานศึกษาในไทย นำสื่อการเรียนการสอนระดับโลกมาเผยแพร่บนโลกออนไลน์ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้จากทั่วทุกมุมโลก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1383795849
ไม่มีความคิดเห็น: