Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 พฤศจิกายน 2556 ปลัดICT.สุรชัย ลุย e-government ได้รับสรรงบประมาณรวม 9,475 ล้านบาท ระบบเตือนภัยพิบัติของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน ด้วยระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัย


ประเด็นหลัก


ยก"นครนายก"โมเดลต้นแบบ

นายสุรชัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายหลักของประเทศในการบริหารงานตามนโยบายที่ได้รับจากรัฐบาล และน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีจะมุ่งเน้นดึงรูปแบบที่ใช้พัฒนา จ.นครนายกซึ่งเป็นจังหวัดต้นแบบอัจฉริยะ (Smart Province)

ดังนั้น เมื่อเห็นผลลัพธ์ของ จ.นครนายกแล้ว ขั้นต่อไป คือ การยกระดับทุกจังหวัดในประเทศไทย ให้เข้าถึงไอซีทีลดช่องว่างทางการสื่อสาร ทำให้สมาร์ทไทยแลนด์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งตามแผนงานนั้นจะเริ่มเห็นความชัดเจนอย่างน้อย 10 จังหวัด ในปี 2558 และใช้งานครบทั้งประเทศในปี 2562

โครงการสมาร์ทโพรวินซ์มีต้นแบบแล้ว มีงบประมาณพร้อม จากนี้จึงเหลือแค่ตั้งองค์กรในการขับเคลื่อนไปยังจังหวัดต่างๆ สร้างศูนย์ดำเนินงานสมาร์ทโพรวินซ์เป็นการเฉพาะในแต่ละจังหวัด ไปจนถึงลงไปพัฒนาคน พัฒนาระบบฮาร์ดแวร์ และฐานข้อมูลด้านการติดต่อสื่อสารเท่านั้น จึงต้องสานต่อทุกเรื่อง ทั้งเรื่องที่ยังไม่ประสบความสำเร็จหรือยังคงมีปัญหา

"ผมจะใช้ความรู้ในการบริหารจัดการเรื่องไอซีที จากการบริหารงานในจังหวัดนครนายกมาแล้ว เชื่อมั่นว่าจะสามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานมาบูรณาการการทำงานในทุกภาคส่วนจนถึงระดับชาติได้ พร้อมกับมุ่งทำงานร่วมมือกับทุกกระทรวงของรัฐบาลทั้งหมด 20 กระทรวง จากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลในด้านงานปกครองมาตลอด แต่ก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปทำงานในตำแหน่งปลัดกระทรวงไอซีทีตามนโยบายของภาครัฐ"

หางเสืออี-กอฟเวิร์นเมนต์

นายสุรชัย กล่าวถึงแผนงานของสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีว่า ตามพันธกิจประจำปีงบประมาณ พศ. 2556-2559 พันธกิจสำคัญของไอซีทียังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้คนไทยทุกพื้นที่ของประเทศ ได้ใช้บริการไอซีทีอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพราะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้ และระบบไอซีที ยังช่วยพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย

ปี 2557 กระทรวงไอซีที ได้รับสรรงบประมาณรวม 9,475 ล้านบาท โดย 1.จะกำหนดนโยบายและแผนงานการบริหารด้านไอซีที และระบบเตือนภัยพิบัติของประเทศ รวมทั้งประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริม 2.สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัย

3.ส่งเสริม สนับสนุนการนำไอซีทีมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบบริการ และบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ และพัฒนาการใช้ไอซีที ในทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาประเทศอย่าทั่วถึง เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านไอซีที รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที ให้มีมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถด้านไอซีที และ 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทั้งนี้ ไอซีทีได้กำหนดแผนทิศทางโรดแมพ ในการพัฒนาระบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐแบบก้าวกระโดดในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า และแผนดำเนินการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้สามารถบรรลุการพัฒนาไปสู่ "ออนไลน์ อินฟอร์เมชั่น" ผ่านเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ รองรับการใช้งานจากประชาชนให้เข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐในลักษณะการให้และรับบริการแบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานระบบอี-เซอร์วิส เกิดความสะดวก ไว้วางใจในระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้

"เราจะทำทุกอย่างบนฐานข้อมูลกลาง สร้างโครงสร้างพื้นฐานบนโลกออนไลน์ ยกระดับไปสู่อี-กอฟเวอร์เมนต์เต็มรูปแบบ และจะดึงเอาคลาวด์คอมพิวติ้งมาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ในปีนี้ทุกอย่างได้วางรากฐานเอาไว้เกือบสมบูรณ์ พอขึ้นปี 2557 ระบบจะเดินหน้าได้เองอย่างเต็มประสิทธิภาพ ควบกับการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับหมู่บ้านสู่บริการของรัฐ" นายสุรชัย กล่าว




























______________________________________



สุรชัย ศรีสารคาม ชูภารกิจดัน "สมาร์ท ไทยแลนด์" ทุกตารางนิ้ว

โดย : ปานฉัตร สินสุข



1 ต.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงหลายตำแหน่ง แต่ที่น่าจะดูเหนือความคาดหมายของใครหลายคนคือ การมีมติแต่งตั้ง "สุรชัย ศรีสารคาม" ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แทนที่ปลัดคนเก่า "ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์" ที่โดนอุบัติเหตุทางการเมืองหลุดวงโคจรออกไป

จากผู้เปลี่ยนแปลงระบบการจัดการทะเบียนราษฎร์ ด้วยเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก และผลักดันบัตรประชาชนสู่ระบบสมาร์ทการ์ด มาสู่ "ปลัดไอซีที" นี้ หลายคนพูดว่า การรับตำแหน่งเป็นผลพวงจากการปลุกปั้นโครงการจังหวัดต้นแบบอัจฉริยะ นำร่องที่ "นครนายก" เพื่อนำไอทีเข้ามาช่วยบริหารจัดการจังหวัด นับว่าเป็นการตอบโจทย์สมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาลอย่างได้ผล

ยก"นครนายก"โมเดลต้นแบบ

นายสุรชัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายหลักของประเทศในการบริหารงานตามนโยบายที่ได้รับจากรัฐบาล และน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีจะมุ่งเน้นดึงรูปแบบที่ใช้พัฒนา จ.นครนายกซึ่งเป็นจังหวัดต้นแบบอัจฉริยะ (Smart Province)

ดังนั้น เมื่อเห็นผลลัพธ์ของ จ.นครนายกแล้ว ขั้นต่อไป คือ การยกระดับทุกจังหวัดในประเทศไทย ให้เข้าถึงไอซีทีลดช่องว่างทางการสื่อสาร ทำให้สมาร์ทไทยแลนด์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งตามแผนงานนั้นจะเริ่มเห็นความชัดเจนอย่างน้อย 10 จังหวัด ในปี 2558 และใช้งานครบทั้งประเทศในปี 2562

โครงการสมาร์ทโพรวินซ์มีต้นแบบแล้ว มีงบประมาณพร้อม จากนี้จึงเหลือแค่ตั้งองค์กรในการขับเคลื่อนไปยังจังหวัดต่างๆ สร้างศูนย์ดำเนินงานสมาร์ทโพรวินซ์เป็นการเฉพาะในแต่ละจังหวัด ไปจนถึงลงไปพัฒนาคน พัฒนาระบบฮาร์ดแวร์ และฐานข้อมูลด้านการติดต่อสื่อสารเท่านั้น จึงต้องสานต่อทุกเรื่อง ทั้งเรื่องที่ยังไม่ประสบความสำเร็จหรือยังคงมีปัญหา

"ผมจะใช้ความรู้ในการบริหารจัดการเรื่องไอซีที จากการบริหารงานในจังหวัดนครนายกมาแล้ว เชื่อมั่นว่าจะสามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานมาบูรณาการการทำงานในทุกภาคส่วนจนถึงระดับชาติได้ พร้อมกับมุ่งทำงานร่วมมือกับทุกกระทรวงของรัฐบาลทั้งหมด 20 กระทรวง จากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลในด้านงานปกครองมาตลอด แต่ก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปทำงานในตำแหน่งปลัดกระทรวงไอซีทีตามนโยบายของภาครัฐ"

สมาร์ทไทยแลนด์ทุกตารางนิ้ว

เขา อธิบายว่า ส่วนผสม 5 ประการสำคัญของสมาร์ทไทยแลนด์ ได้แก่ 1.ให้ประชาชนสามารถเชื่อมข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้ทั่วประเทศ 2.ข้อมูลภาครัฐจะต้องบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกันได้ทั้งหมด 3.บริการภาครัฐจะต้องกระจายลงไปใกล้ตัวประชาชนมากที่สุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางของประชาชน 4.สนับสนุนด้านการศึกษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดมิติชัดเจน และ 5.ระบบเศรษฐกิจสหกรณ์ ใช้งานด้านอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนผู้ผลิตสินค้าโอท็อปให้มีรายได้สูงขึ้น

ทั้ง 5 ประการนี้จะต้องอยู่ในภายใต้การขับเคลื่อนของอี-กอฟเวิร์นเมนต์ อี-เซอร์วิส อี-เลิร์นนิ่ง และ อี-คอมเมิร์ชไปพร้อมกันๆ ซึ่งความสำเร็จจะเห็นได้เป็นรูปธรรม เมื่อมีการบริหารจัดการที่ดี

ที่ผ่านมา งานด้านไอซีทีจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านการสื่อสาร ขอรับบริการพื้นฐานจากภาครัฐได้อย่างสะดวกชนิดเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งในเมืองและชนบท ดังนั้น จึงต้องมุ่งเน้นให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถนำไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"หลักในการทำงานที่ยึดมาตลอด คือ นำเอาพลังของผู้ใต้บังคับบัญชามาใช้ ให้เกียรติเพื่อร่วมงานทุกคน และที่สำคัญผมจะไม่เข้าไปล้วงลูกการทำงานของลูกน้อง ผมเชื่อว่าทุกคนมีความรู้ความสามารถ เมื่อมาอยู่ร่วมกันได้แล้ว ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน"

อย่างไรก็ดี การจะผลักดันให้ประเทศให้เป็นสมาร์ทไทยแลนด์นั้น การนำไอซีทีมาใช้ในภาครัฐด้วยการยกระดับให้เป็นอี-กอฟเวอร์เมนต์ ต้องเริ่มอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชน และภาคธุรกิจ จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย และโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันสามารถนำไอซีทีมาใช้ เพื่อปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

หางเสืออี-กอฟเวิร์นเมนต์

นายสุรชัย กล่าวถึงแผนงานของสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีว่า ตามพันธกิจประจำปีงบประมาณ พศ. 2556-2559 พันธกิจสำคัญของไอซีทียังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้คนไทยทุกพื้นที่ของประเทศ ได้ใช้บริการไอซีทีอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพราะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้ และระบบไอซีที ยังช่วยพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย

ปี 2557 กระทรวงไอซีที ได้รับสรรงบประมาณรวม 9,475 ล้านบาท โดย 1.จะกำหนดนโยบายและแผนงานการบริหารด้านไอซีที และระบบเตือนภัยพิบัติของประเทศ รวมทั้งประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริม 2.สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบความมั่นคงปลอดภัยที่ทันสมัย

3.ส่งเสริม สนับสนุนการนำไอซีทีมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบบริการ และบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ และพัฒนาการใช้ไอซีที ในทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาประเทศอย่าทั่วถึง เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านไอซีที รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที ให้มีมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถด้านไอซีที และ 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ทั้งนี้ ไอซีทีได้กำหนดแผนทิศทางโรดแมพ ในการพัฒนาระบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐแบบก้าวกระโดดในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า และแผนดำเนินการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้สามารถบรรลุการพัฒนาไปสู่ "ออนไลน์ อินฟอร์เมชั่น" ผ่านเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ รองรับการใช้งานจากประชาชนให้เข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐในลักษณะการให้และรับบริการแบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานระบบอี-เซอร์วิส เกิดความสะดวก ไว้วางใจในระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้

"เราจะทำทุกอย่างบนฐานข้อมูลกลาง สร้างโครงสร้างพื้นฐานบนโลกออนไลน์ ยกระดับไปสู่อี-กอฟเวอร์เมนต์เต็มรูปแบบ และจะดึงเอาคลาวด์คอมพิวติ้งมาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ในปีนี้ทุกอย่างได้วางรากฐานเอาไว้เกือบสมบูรณ์ พอขึ้นปี 2557 ระบบจะเดินหน้าได้เองอย่างเต็มประสิทธิภาพ ควบกับการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับหมู่บ้านสู่บริการของรัฐ" นายสุรชัย กล่าว


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20131111/542182/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8
%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-
%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B
8%A1-
%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B
8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97-
%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C-
%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B
8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.