11 พฤศจิกายน 2556 RTBtechnology ผู้นำเข้าเครื่องเสียง Beats และหูฟังบลูทูท Jabra ระบุ ภาพรวมตลาดอุปกรณ์เสริมในปีนี้เติบโต 20-30% โดยการฟังเพลงของผู้บริโภคเปลี่ยนจากการใช้เครื่องเสียงไฮไฟมาฟังผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเลต และโน้ตบุ๊ก
ประเด็นหลัก
ดร.บรรพต วัฒนสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องเสียง Beats และหูฟังบลูทูท Jabra กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาพรวมตลาดอุปกรณ์เสริมในปีนี้เติบโต 20-30% โดยการฟังเพลงของผู้บริโภคเปลี่ยนจากการใช้เครื่องเสียงไฮไฟมาฟังผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเลต และโน้ตบุ๊ก แต่เทียบปีที่ผ่านมาเติบโตช้าลง เพราะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 2
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคไทยให้ความสนใจในแก็ดเจตประเภท "เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์" เช่น Jawbone Up, Samsung Galaxy Gear และ Fitbit รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทมิวสิกไลฟ์สไตล์ เช่น หูฟัง Beats ลำโพงไร้สาย Jabra Solemate เป็นต้น แต่ราคาค่อนข้างสูงตลาดจึงกระจุกตัวในเมืองใหญ่ และกรุงเทพฯเป็นหลัก
สำหรับรายได้บริษัทปีนี้อยู่ที่ 300 ล้านบาท โต 15-20% มีรายได้จากหูฟังบลูทูท 30% เฮดโฟน 25% ลำโพงไร้สาย 10% เคสโทรศัพท์มือถือ 10% และอื่น ๆ 25% โดยเฮดโฟนและลำโพงไร้สายเติบโตสูงเป็นพิเศษ มีลูกค้ากลุ่มแรกคือลูกค้าที่ต้องการซื้อหูฟังทั่วไปสำหรับใช้กับสมาร์ทดีไวซ์ จะซื้อสินค้าราคา 200-500 บาท อีกกลุ่มต้องการหูฟังคุณภาพให้ความสำคัญกับแบรนด์ซื้อราคาหลักพันถึงหลักหมื่นบาท
"ปีหน้าเราจะจับสินค้า Wearable (สวมใส่)มากขึ้น ส่วนที่มีอยู่เดิมก็ยังทำต่อไป แต่จะขยายลงไปในกลุ่มระดับราคาต่ำลง เนื่องจากตลาดโตที่กลุ่มแมส สมาร์ทโฟนที่ขายดีในปีหน้าจะราคาถูกลงพอสมควร ราคาอุปกรณ์เสริมจึงควรต่ำลงด้วย"
______________________________________
ผู้ค้านำเข้า"แก็ดเจต"ลงตลาดพรึ่บ ขยายกลุ่มสินค้าราคาไม่แพง-เทรนด์Wearableแรง
ผู้ค้าแห่นำเข้า สารพัด "แก็ดเจต" เกาะกระแสฮิต "สมาร์ทดีไวซ์" แต่โดนพิษกำลังซื้อวูบดับมู้ดจับจ่าย ฝากความหวังปีหน้าตลาดฟื้น เตรียมขน "ผลิตภัณฑ์ใหม่-แบรนด์ใหม่" โฟกัสสินค้าราคาไม่แพงตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ใส่ใจ "สุขภาพ" ชี้เทรนด์ Wearable ดีไวซ์มาแรง
ดร.บรรพต วัฒนสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องเสียง Beats และหูฟังบลูทูท Jabra กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาพรวมตลาดอุปกรณ์เสริมในปีนี้เติบโต 20-30% โดยการฟังเพลงของผู้บริโภคเปลี่ยนจากการใช้เครื่องเสียงไฮไฟมาฟังผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเลต และโน้ตบุ๊ก แต่เทียบปีที่ผ่านมาเติบโตช้าลง เพราะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 2
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคไทยให้ความสนใจในแก็ดเจตประเภท "เฮลท์ แอนด์ ไลฟ์สไตล์" เช่น Jawbone Up, Samsung Galaxy Gear และ Fitbit รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทมิวสิกไลฟ์สไตล์ เช่น หูฟัง Beats ลำโพงไร้สาย Jabra Solemate เป็นต้น แต่ราคาค่อนข้างสูงตลาดจึงกระจุกตัวในเมืองใหญ่ และกรุงเทพฯเป็นหลัก
สำหรับรายได้บริษัทปีนี้อยู่ที่ 300 ล้านบาท โต 15-20% มีรายได้จากหูฟังบลูทูท 30% เฮดโฟน 25% ลำโพงไร้สาย 10% เคสโทรศัพท์มือถือ 10% และอื่น ๆ 25% โดยเฮดโฟนและลำโพงไร้สายเติบโตสูงเป็นพิเศษ มีลูกค้ากลุ่มแรกคือลูกค้าที่ต้องการซื้อหูฟังทั่วไปสำหรับใช้กับสมาร์ทดีไวซ์ จะซื้อสินค้าราคา 200-500 บาท อีกกลุ่มต้องการหูฟังคุณภาพให้ความสำคัญกับแบรนด์ซื้อราคาหลักพันถึงหลักหมื่นบาท
"ปีหน้าเราจะจับสินค้า Wearable (สวมใส่)มากขึ้น ส่วนที่มีอยู่เดิมก็ยังทำต่อไป แต่จะขยายลงไปในกลุ่มระดับราคาต่ำลง เนื่องจากตลาดโตที่กลุ่มแมส สมาร์ทโฟนที่ขายดีในปีหน้าจะราคาถูกลงพอสมควร ราคาอุปกรณ์เสริมจึงควรต่ำลงด้วย"
ด้านนายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอเรชั่น เอส จำกัด ผู้จัดจำหน่ายหูฟัง Sennheiser และอุปกรณ์เสริม กล่าวว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคขณะนี้ชะลอตัวลง แต่ช่วงท้ายปีน่าจะเพิ่มขึ้นตามเทศกาล โดยส่วนตัวมองว่าตลาดแก็ดเจตในไทยคงไม่เติบโต จากปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจากแก็ดเจตเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์
"ดิสทริบิวเตอร์นำสินค้าแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาดมากขึ้น ขณะที่ร้านค้าปลีกไอทีจำนวนมากเริ่มหันมาจำหน่ายแก็ดเจตไอทีด้วยตัวเอง ทำให้การเติบโตของธุรกิจอยู่กับผู้เล่นรายใหญ่ แต่ยอดขายร้านค้าปลีกรายย่อยลดลง"
สำหรับบริษัท ในปีนี้แม้จะยังเติบโต แต่น้อยกว่าที่คาดไว้ ถึงสิ้นปีน่าจะทำได้ 80 ล้านบาท โต 20-30% จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 100 ล้านบาท มีรายได้จากหูฟัง, ปากกา สไตลัส และเคสสมาร์ทดีไวซ์ อย่างละ 30%
นายสรศักดิ์กล่าวต่อว่า เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เพิ่งจัดโปรโมชั่นผลักดันยอดขายและจะมีอีกในปลายปีโดยร่วมกับพาร์ตเนอร์ และปีหน้าจะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้แบรนด์ misfit ซึ่งเป็น Wearable ดีไวซ์เข้ามาทำตลาด เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ
นอกจากนี้ ยังเตรียมนำอุปกรณ์เสริมสำหรับโทรศัพท์มือถือแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาดเพิ่มเติม รวมถึงขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้น คาดว่าในปีหน้า แก็ดเจตประเภทหูฟังจะได้รับความนิยมในประเทศไทยมากขึ้น อีกผลิตภัณฑ์ที่น่าเติบโต คือปากกาสไตลัส เนื่องจากมีการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานที่ให้ความรู้สึกเหมือนดินสอหรือปากกาของจริง
นายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของร้านค้าปลีก "บานาน่าไอที" กล่าวว่า แก็ดเจตราคาแพงเป็นสินค้าแฟชั่นมาไวไปไว กลุ่มลูกค้ามีพฤติกรรมต่างจากทั่วไป โดยจะเดินซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้าในเมือง หรือผ่านออนไลน์ ตัดสินใจซื้อรวดเร็ว ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาแล้ว และไม่มีปัญหากำลังซื้อ โดยตนมองว่า ฐานลูกค้าแก็ดเจตไฮเอนด์จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะอุปกรณ์ไอทีกลายเป็นแฟชั่น ทำให้แก็ดเจตราคาสูงขายดี เช่น หูฟัง, ลำโพง และแก็ดเจตสำหรับใช้ด้านสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม แก็ดเจตที่น่าจะมาแรงในปีหน้า นอกจากราคา 1,000-5,000 บาทแล้วยังจะเป็นกลุ่มแก็ดเจตที่มีแอปพลิเคชั่น
สำหรับใช้คู่กับสมาร์ทดีไวซ์ ทั้งแก็ดเจตด้านสุขภาพ, กีฬาและเกม "สมาร์ทวอทช์ยังทำยอดขายไม่ได้มาก เปิดตัวมายังทำได้ไม่ดี ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า เพราะไม่ใช่สายผลิตภัณฑ์ที่คนจำเป็นต้องใช้ หรืออยู่ในกลุ่มทอยแก็ดเจตเท่านั้น"
สำหรับคอมเซเว่นจะวางจำหน่ายแก็ดเจตระดับไฮเอนด์ตามร้านค้าที่มีสาขาอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือในตัวเมืองเท่านั้น หากเป็นสาขาต่างจังหวัดจะเน้นแก็ดเจตระดับล่าง และในปีหน้าวางแผนเพิ่มแบรนด์สินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมที่รองรับการใช้งานกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เนื่องจากมีสินค้ากว่า 80% รองรับการใช้งานระบบปฏิบัติการไอโอเอสอย่างเดียว ทั้งจะนำอุปกรณ์เสริมที่มีแอปพลิเคชั่นที่ใช้คู่กับสมาร์ทดีไวซ์เข้ามาจำหน่ายเพิ่มขึ้น
"รายได้รวมของบริษัทปีนี้น่าจะอยู่ที่16,000-17,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าตอนแรกที่ตั้งไว้ที่ 19,000 ล้านบาท 15% อาจเป็นเพราะกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากหลายปัจจัย สัดส่วนรายได้จากแก็ดเจตต่ำกว่า 5% จากเคสมือถือ, หูฟัง และพาวเวอร์แบงก์เป็นหลัก ส่วนแก็ดเจตราคาแพงอื่น ๆ ก็ยังทำรายได้ให้ไม่มาก แต่มีเพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่ามีของใหม่ ช่วยดึงทราฟฟิกเข้าร้าน"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1383886581
ไม่มีความคิดเห็น: