12 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) 3 ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดลักษณะและมาตรการป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาด ระบุชัด ผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามฐานผู้ชมคือมากกว่า 25% ของฐานผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ (ห้ามถือครองข้ามสื่อ)
ประเด็นหลัก
ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดลักษณะและมาตรการป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาดโดยการควบรวมกิจการ การครองสิทธิข้ามสื่อ และการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาและมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ทั้งนี้ 3 ร่างประกาศดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดตลาด และการแข่งขันของตลาดในกิจการโทรทัศน์ ทั้งในแบบใช้คลื่น และไม่ใช้คลื่น เช่น ตลาดทีวีดิจิตอลจะต้องไม่แข่งขันกับตลาดทีวีดาวเทียม นำไปสู่การกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาด เพื่อป้องกันการผูกขาดของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ซึ่งจะกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามฐานผู้ชมคือมากกว่า 25% ของฐานผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ โดยท้ายสุดจะไปสู่การกำหนดเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ไม่ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งครอบงำสื่อและมีอำนาจเหนือตลาดมากจนเกินไป
______________________________________
เปิดโฟกัสกรุ๊ปดึงผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหารือ ชี้ 3 ร่าง ตีกรอบตลาดการแข่งขัน อำนาจควบรวมกิจการวิทยุ ทีวี ไม่เหมารวมสื่อสิงพิมพ์
วันนี้(11พ.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมหางชาติ(กสทช.)พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดว่า ที่ประชุมกสท.เห็นชอบหลักการ 3 ร่างประกาศที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการทีวีดิจิทัล เพื่อให้ผู้ประกอบการจำนวน 29 ราย 41 ซอง ที่ยื่นขอเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัล ได้เห็นภาพรวมของร่างประกาศโดยกสท.จะให้เปิดประชุมกลุ่มย่อย(โฟกัส กรุ๊ป) ภายใน 2 สัปดาห์นี้ ก่อนเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ
สำหรับร่างที่จะไปโฟกัส กรุ๊ป มีจำนวน 3 ร่างประกอบด้วย 1.หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. ... หรือร่างที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดขอบเขตตลาด กำหนดนิยาม ลักษณะตลาดเนื่องจากบริบท อาทิ ทีวีมีทั้งแบบไม่ใช่คลื่นความถี่ และใช้คลื่นความถี่ หรือโครงข่ายสำหรับกิจการดาวเทียม – เคเบิลทีวี กิจการทีวีดิจิทัล โดยต้องแบ่งแยกให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการผูกขาด 2.หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน พ.ศ. ... อาทิ การแบ่งแยกบัญชี และ 3. เรื่องการกำหนดลักษณะและมาตรการป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาดโดยการควบรวมกิจการ การครองสิทธิข้ามสื่อ และการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... เพื่อไม่ให้เกิดการควบรวมกิจการ โดยกำหนดผู้ใดที่มีส่วนแบ่งการตลาดเกิน 25 % โดยวัดจากผู้รับชม ถือว่าเป็นผู้ที่อำนาจทางการตลาด เป็นต้น
“ร่างประกาศฉบับแรกนั้นจะเป็นเหมือนเสาเข็มหลัก ก่อนที่จะออกอีก 2 ร่าง ส่วนกรณีที่ให้มีการกำหนดสื่อสิ่งพิมพ์นั้น มองว่ากสท.ไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะไปกำหนดในการแบ่งสัดส่วน ซึ่งหากกำหนดหนังสือพิมพ์ ต้องกำหนดสื่อนิตยสารและอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน ส่วนตัวมองว่าไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องกัน ”พ.อ.ดร.นที กล่าว
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=194108
_____________________
กสท.เดินหน้าออกกฎคุมอำนาจเหนือตลาด
กสท.ผ่านหลักการ 3 ร่างฯ เบื้องต้น หวังนำมาควบคุมอำนาจเหนือตลาดจากรายใหญ่ มั่นใจประเด็น กมธ.-การเมือง ไม่ส่งผลให้เลื่อนการประมูลทีวีดิจิตอล
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.วานนี้ (11 พ.ย.) มีมติอนุมัติหลักการเบื้องต้นของร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดที่เกี่ยวข้องในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดลักษณะและมาตรการป้องกันการกระทำอันเป็นการผูกขาดโดยการควบรวมกิจการ การครองสิทธิข้ามสื่อ และการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาและมาตรการเฉพาะเพื่อแก้ไขผลที่เกิดจากพฤติกรรมอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ทั้งนี้ 3 ร่างประกาศดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดตลาด และการแข่งขันของตลาดในกิจการโทรทัศน์ ทั้งในแบบใช้คลื่น และไม่ใช้คลื่น เช่น ตลาดทีวีดิจิตอลจะต้องไม่แข่งขันกับตลาดทีวีดาวเทียม นำไปสู่การกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาด เพื่อป้องกันการผูกขาดของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ซึ่งจะกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามฐานผู้ชมคือมากกว่า 25% ของฐานผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ โดยท้ายสุดจะไปสู่การกำหนดเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ไม่ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งครอบงำสื่อและมีอำนาจเหนือตลาดมากจนเกินไป
ขณะเดียวกัน ขั้นตอนต่อไปจะนำทั้ง 3 ร่างประกาศดังกล่าวไปจัดประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับผู้ประกอบการที่ยื่นซองเข้าประมูลทีวีดิจิตอล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับร่างประกาศฯ ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อนำไปสู่การมีความเห็นร่วมกันในการกำหนดร่างประกาศฯ และกลับมาเข้าบอร์ด กสทช.เพื่อพิจารณาต่อไป ก่อนจะนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) และมีผลบังคับใช้ต่อไป
“การกำหนดเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ปัจจุบันยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าผู้ถือครองสื่อห้ามถือครองสื่อควบรวมในประเภทใดบ้าง เนื่องจากที่ปรึกษาของ กสท.ได้ให้ความเห็นว่า ควรมีกิจการหนังสือพิมพ์เข้ามารวมด้วย แต่ตนเห็นว่าไม่ควรรวม เนื่องจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่อยู่เกินขอบข่ายอำนาจของ กสท. และหากรวมจริงก็ต้องรวมนิตยสารและเว็บไซต์ไปด้วยเช่นกัน”
พ.อ.นทีกล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายศุภชัย ศรีหล้า เป็นประธาน ต้องการให้ กสท.เลื่อนการประมูลทีวีดิจิตอล กลุ่มช่องธุรกิจ จำนวน 24 ช่องออกไปก่อนเนื่องจากกลัวว่าการประมูลจะไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น รวมไปถึงปัญหาทางการเมืองในตอนนี้ไม่ได้ส่งผลทำให้ต้องเลื่อนกรอบระยะเวลาในการประมูลที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนธ.ค.-ม.ค. 2557 แต่อย่างใด
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140713
ไม่มีความคิดเห็น: