Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 พฤศจิกายน 2556 กสทช.เตรียมปรับปรุง(ร่างคุมคุณภาพเสียงใหม่)หลังมีผู้ร้องเรียนเรื่องสายหลุดเวลาใช้บริการขณะอยู่บนรถ ใช้วิธีถามความพอใจผู้บริโภคเทียบเครื่องวัดแล้วสรุปเป็นค่าเฉลี่ย


ประเด็นหลัก

   พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค.วานนี้(12 พ.ย.)มีมติแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช.เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ผ่านมาผลการตรวจสอบทางเทคนิคไม่ตรงกับความพึงพอใจ และความรู้สึกจริงของผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นจากเดิมสูงถึง 300%-400% โดยเบื้องต้นคาดว่ากระบวนปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ปี 2557
   
       “ต้องยอมรับว่าการให้บริการประเภทเสียงของผู้ประกอบการโทรคมนาคมยังมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากยังมีผู้ร้องเรียนเรื่องสายหลุดเวลาใช้บริการขณะอยู่บนรถ รวมไปถึงคุณภาพเสียงก็ยังต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นในบ้างพื้นที่”
   
       ทั้งนี้ร่างประกาศฯมาตรฐานฉบับปรับปรุงจะเป็นการนำเอามาตรฐานวัดความพึงพอใจผู้บริโภคมาประกอบกับเกณฑ์วัดมาตรฐานทางเทคนิคซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าวัดพารามิเตอร์ที่ใช้วัดอยู่ในปัจจุบันด้วย เพื่อนำมาตรฐานการวัดทั้ง2แบบมาหาค่าเฉลี่ยในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการรายใดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบ้างซึ่งหากพบผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานฉบับปรับปรุงจะมีบทลงโทษตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมกสทช. 2544


______________________________________



กทค.เข้มปรับประกาศฯมาตรฐานเสียงใหม่



พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)
       กทค.เอาจริงปรับปรุงมาตรฐานประเภทเสียง เน้นความพึงพอใจผู้บริโภคมาประกอบกับการวัดค่าพารามิเตอร์ คาดนำมาบังคับใช้ไตรมาส3 ปี2557 "เศรษฐพงค์"ระบุกรณี สคร.ค้านประกาศเยียวยา1800MHz ชี้เป็นการแสดงความคิดเห็นหลังประกาศ
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค.วานนี้(12 พ.ย.)มีมติแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงแก้ไขประกาศ กสทช.เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ผ่านมาผลการตรวจสอบทางเทคนิคไม่ตรงกับความพึงพอใจ และความรู้สึกจริงของผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นจากเดิมสูงถึง 300%-400% โดยเบื้องต้นคาดว่ากระบวนปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ปี 2557
     
       “ต้องยอมรับว่าการให้บริการประเภทเสียงของผู้ประกอบการโทรคมนาคมยังมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากยังมีผู้ร้องเรียนเรื่องสายหลุดเวลาใช้บริการขณะอยู่บนรถ รวมไปถึงคุณภาพเสียงก็ยังต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นในบ้างพื้นที่”
     
       ทั้งนี้ร่างประกาศฯมาตรฐานฉบับปรับปรุงจะเป็นการนำเอามาตรฐานวัดความพึงพอใจผู้บริโภคมาประกอบกับเกณฑ์วัดมาตรฐานทางเทคนิคซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าวัดพารามิเตอร์ที่ใช้วัดอยู่ในปัจจุบันด้วย เพื่อนำมาตรฐานการวัดทั้ง2แบบมาหาค่าเฉลี่ยในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการรายใดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบ้างซึ่งหากพบผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานฉบับปรับปรุงจะมีบทลงโทษตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมกสทช. 2544
     
       ขณะที่ประกาศ กสทช.เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูล(ดาต้า) ก็จะมีการปรับปรุงจากประกาศฉบับเดิมเช่นเดียวกัน ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อพิจารณาต่อไป
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ให้ความเห็นต่อประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ 2556 (ประกาศเยียวยา 1800 MHz) ถือเป็นการเสนอความเห็นมาหลังจากที่กสทช.ได้ออกประกาศฉบับดังกล่าวไปแล้ว โดยในเบื้องต้นสคร.ไม่เห็นด้วยกับการออกประกาศฉบับดังกล่าว เช่นเดียวกับกรณีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ขอหารือเกี่ยวกับการดำเนินการตามพ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 84 วรรค 3 เพื่อขอใช้คลื่นต่อนั้น กสท จะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.กสทช.อย่างเคร่งครัด คือ เมื่อพ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 3 ปีแล้ว กสท จะต้องนำรายได้จากสัญญาสัมปทานที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว นำส่งกสทช.ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป เพื่อกสทช.จะต้องนำรายได้ดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
     
       ส่วนกรณี(ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และเงื่อนไขการประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสารทั้งแบบประเภทที่ 1 2 และ 3 ยังคงไม่ได้นำเข้าพิจารณาภายในบอร์ดกทค.เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสารที่มีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ ประธานคณะอนุกรรมการฯ
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุ นำเข้า นำออก ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เพื่อสาธิตทดลอง และจัดแสดงในงาน ITU TELECOM WORLD 2013 ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้านี้


http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000140938

________________________________________



บอร์ด กทค. สั่งปรับปรุงประกาศมาตรฐานการให้บริการโทรคมนาคมด้านเสียง หลังพบผู้ใช้งานสายหลุดบ่อยในช่วงพีค สวนทางกับผลการตรวจสอบมาตรฐาน แง้มเล็งเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบดาต้าเช่นกัน เหตุการใช้งานที่สูงขึ้น 300-400%

วันอังคาร 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 16:25 น.
วันนี้ (12 พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหาร กทค.ว่า บอร์ด มีมติให้ปรับปรุงประกาศ มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง โดยจะตรวจสอบคุณภาพการให้บริการเข้มงวดมากขึ้น และห้ามมิให้สายหลุดในช่วงที่มีการใช้งานสูง หรือช่วงพีค หรือช่วงเวลาระหว่าง 16.00-21.00 น.

เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ว่า โทรศัพท์เกิดปัญหาสายหลุดบ่อยในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งความพึงพอใจของผู้ใช้บริการนั้นสวนทางกับผลการตรวจสอบคุณภาพมือถือที่คณะทำงานตรวจสอบได้ดำเนินการมา ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากช่วงเวลาที่ทดสอบระบบมาตรฐานดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีการใช้งานน้อยที่ไม่ใช่ช่วงพีค จึงทำให้ผลการตรวจสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

สำหรับ การปรับปรุงประกาศครั้งนี้ จะเพิ่มมาตรฐานชี้วัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ (Mean Opinion Score) ควบคู่ไปกับการตรวจสอบทางเทคนิค ซึ่งหากผลการชี้วัดออกมาต่ำกว่าเกณฑ์ จะมีมาตรการลงโทษผู้ให้บริการตั้งแต่ การตักเตือนเพื่อให้ปรับปรุงไปจนถึงยึดใบอนุญาตให้บริการ คาดว่า การปรับปรุงประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับได้ในอีก 8 เดือน

“การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานดาต้า กทค.จะเตรียมเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบบริการดาต้าเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานปัจจุบันที่ดาต้าเติบโตสูงขึ้น 300-400% เพื่อควบคุมคุณภาพการให้บริการให้ดีมากขึ้นด้วย” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว


http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=194356

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.