13 พฤศจิกายน 2556 CAT เปิดให้เช่าช่องสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์ เน็ต เพื่อให้บริการโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต IPTV เฟส 1 เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และตั้งเป้าสิ้นปี 57 จะมีลูกค้า 30 ช่องรายการ และคืนทุนในปี 57 ด้วย
ประเด็นหลัก
นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย กสท เล่าว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี กสท ถือเป็นผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม
จึงจัดให้มีการเช่าช่องไอพีทีวี ด้วยการลงทุนระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ พร้อมเปิดตัว “แคท อี-เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” ที่ลงทุนเฟส 1 เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และตั้งเป้าสิ้นปี 57 จะมีลูกค้า 30 ช่องรายการ และคืนทุนในปี 57 ด้วย
สำหรับ แคท อี-เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จะเป็นการเปิดให้เช่าช่องสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์ เน็ต เพื่อให้บริการโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือไอพีทีวี กสท จะลงทุนด้านโครงข่ายและช่องทางการออกอากาศให้กับลูกค้า และดูแลรักษาโครงข่ายให้ตลอด 24 ชั่วโมง
______________________________________
ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิต ทุกคนต่างหาเทคโนโลยีมาดำเนินธุรกิจของตนเอง
ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิต ทุกคนต่างหาเทคโนโลยีมาดำเนินธุรกิจของตนเอง เพื่อความอยู่รอดขององค์กร
ในงานเสวนา “IPTV กับธุรกิจเคเบิลทีวีไทยในอนาคต” จัดโดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เชิญกลุ่มภาคธุรกิจเคเบิลทีวีมาร่วมรับฟังข้อมูลของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีให้อยู่รอดในยุคปัจจุบัน
นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย กสท เล่าว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี กสท ถือเป็นผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม
จึงจัดให้มีการเช่าช่องไอพีทีวี ด้วยการลงทุนระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ พร้อมเปิดตัว “แคท อี-เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” ที่ลงทุนเฟส 1 เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และตั้งเป้าสิ้นปี 57 จะมีลูกค้า 30 ช่องรายการ และคืนทุนในปี 57 ด้วย
สำหรับ แคท อี-เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จะเป็นการเปิดให้เช่าช่องสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์ เน็ต เพื่อให้บริการโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือไอพีทีวี กสท จะลงทุนด้านโครงข่ายและช่องทางการออกอากาศให้กับลูกค้า และดูแลรักษาโครงข่ายให้ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ยังมีบริการเสริม อาทิ บริการเก็บค่าใช้บริการจากผู้ใช้บริการเข้าชม บริการพื้นที่โหลดเพลง และชอปปิง ออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งการให้บริการไม่จำเป็นต้อง
ผ่านบริการอินเทอร์เน็ตของ กสท แต่จะเปิดกว้างสำหรับทุกเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตปัจจุบันมีผู้ที่สนใจอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อนำไปสู่การเปิดใช้บริการ จำนวน 14 ช่องรายการ แบ่งเป็นการออกอากาศแบบความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ราย แบบความคมชัดปกติ (เอสดี) 10 ราย อาทิ ช่องการศึกษาทางไกล ช่องรายการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และช่องกรีนทีวี เป็นต้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าธุรกิจไอพีทีวี จะชิงส่วนแบ่งการตลาดจาก ทีวีดาวเทียม หรือทีวีดิจิทัลได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตที่ผู้รับชมไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมมากนัก สามารถชมได้ผ่านมือถือ โดยหากเนื้อหารายการเป็นที่ต้องการของตลาดก็จะประสบความสำเร็จได้
ด้านนายเกษม อินทร์แก้ว ที่ปรึกษานายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวถึงมุมมองและจุดเปลี่ยนเคเบิลทีวีมาเป็นไอพีทีวีว่า เทรนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจเคเบิลทีวีได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดทีวีดิจิทัล ที่จะมีการเปิดประมูลในเร็ว ๆ นี้
โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่อย่าง ทรูวิชั่นส์ หรือแม้แต่ซีทีเอช ก็ได้มีการปรับเป็นระบบดิจิทัลแล้ว เคเบิลทีวีจะทำอย่างไรจากภัยที่จะเกิดขึ้นจากทีวีดิจิทัล อีกทั้งไอพีทีวีกำลังจะเข้ามาแทน ซึ่งการที่เคเบิลทีวีจะอยู่ได้สิ่งสำคัญคือคอนเทนต์ต้องดี ถึงจะยืนหยัดได้ในยุคที่มีการแข่งขันที่รุนแรงสิ่งที่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีต้องตระหนักคือคนดูต้องจ่ายเงิน เพราะไม่ใช่ช่องฟรีทีวี ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนา เพราะดิจิทัลเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่อยากดูเมื่อไหร่ก็ดูได้ อีกทั้งความละเอียดของภาพก็คมชัดด้วย
“เคเบิลทีวีต้องเปลี่ยนเทคโนโลยี ต้องเหนือกว่า 3 ชั้น ที่ต้องเน้นทั้งคอนเทนต์ และบริการหลังการขายที่รวดเร็ว ดังนั้นการลงทุนเงินหลักล้านบาทก็คงจะไม่พอ เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันถือเป็นนวัตกรรมใหม่” นายเกษมกล่าวเชื่อว่าเคเบิลทีวีจะยังคงอยู่ได้ถ้ามีการปรับตัว เพราะฐานการรับชมของคนไทยทั่วประเทศยังกว้างอยู่ จะเห็นได้จากการปรับเข้าสู่ระบบ 3จี และ 4จี แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากยังคงใช้ 2จี อยู่
ดังนั้น การรับชมทีวีปัจจุบัน ประชาชนจะเป็นผู้เลือกเอง หากผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่ตรงใจ ในยุคที่การแข่งขันรุนแรงไปตามพฤติกรรมผู้บริโภค.
กัญณัฏฐ์ บุตรดี
Kanyanat25@gmail.com
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=194256
ไม่มีความคิดเห็น: