13 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) samart เปิดตัว Set Top Box รายแรก ราคากล่องละ 1,155 บาท มีอายุการใช้งานถึง 5,000 ชั่วโมง รับประกัน 1.5 ปี และเสาสัญญาณมีเสาขายพ่วง
ประเด็นหลัก
นายทวี อุดมกิจโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถวิศวกรรม จำกัด กล่าวว่า กลุ่มสามารถได้รับอนุญาตจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ (Set Top Box) จาก กสทช. เป็นรายแรกและรายเดียวในขณะนี้ โดยมีราคากล่องละ 1,155 บาท และเสาสัญญาณ แบบติดตั้งภายนอกอาคาร ราคา 270 บาท และติดตั้งภายในอาคาร 490 บาท โดยประชาชนสามารถซื้อควบคู่กัน หรือแยกซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งไปติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลของยี่ห้ออื่นได้ด้วยตนเอง
สุดท้าย สายธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งรวม บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์, บริษัท วิชั่นแอนด์ซิเคียวริตี้ และบริษัท สามารถวิศวกรรม ที่จะเริ่มจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล จากประสบการณ์ในการผลิตอุปกรณ์รับส่งสัญญาณทีวีมากว่า 50 ปี ผ่านช่องทางกระจายสินค้าของไอ-โมบาย 10,000 แห่งทั่วประเทศ โดยกล่องรับสัญญาณรุ่น “Strong” จะเน้นจุดเด่นที่ดี ชัด จัดเต็ม “ดี” คือ ช่วยประหยัดพลังงาน ติดตั้งง่าย ทนทาน มีอายุการใช้งานถึง 5,000 ชั่วโมง รับประกัน 1.5 ปี “ชัด” ภาพมีความละเอียดสูงระดับ Full HD แสดงภาพต่อเนื่องแม้สัญญาณต่ำ “จัดเต็ม” ด้วยระบบเสียงลิขสิทธิ์ Dolby Digital ทั้งนี้ ได้กำหนดราคาขายไว้ที่ 1,155 บาท ส่วนถ้าซื้อพร้อมเสารับสัญญาณจะอยู่ที่ราว 1,300 บาท
______________________________________
สามารถฯ ลุยเปิดตัว Set Top Box รายแรก
กลุ่มสามารถฯ เปิดตัวกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ฟุ้งได้รับอนุญาตจำหน่ายรายแรกของไทย ยันการเมืองไม่กระทบธุรกิจ...
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงอารยะขัดขืน บริษัทยังคงทำงานต่อไป โดยไม่ได้หยุดงาน และการชุมนุมทางการเมืองยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และอาจมีการท่องเที่ยวลดลง จึงทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลงตามไปด้วย แต่ในทางกลับกัน ก็จะมีการบริโภคข่าวสารมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้โทรศัพท์เติบโตขึ้นได้
นายทวี อุดมกิจโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามารถวิศวกรรม จำกัด กล่าวว่า กลุ่มสามารถได้รับอนุญาตจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือ เซตท็อปบ็อกซ์ (Set Top Box) จาก กสทช. เป็นรายแรกและรายเดียวในขณะนี้ โดยมีราคากล่องละ 1,155 บาท และเสาสัญญาณ แบบติดตั้งภายนอกอาคาร ราคา 270 บาท และติดตั้งภายในอาคาร 490 บาท โดยประชาชนสามารถซื้อควบคู่กัน หรือแยกซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งไปติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลของยี่ห้ออื่นได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ หากประเมินจากการแจกคูปองจำนวน 22 ล้านครัวเรือนของ กสทช. จะพบว่าแต่ละบ้านโดยเฉลี่ย ต้องติดกล่องรับสัญญาณ 1.8-2 กล่อง ซึ่งคาดว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า จะขายกล่องได้ประมาณ 40 ล้านกล่อง และหากคิดมูลค่าเฉลี่ยราคา 1,000 บาท จะมีมูลค่า 40,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และบริษัทมีความพร้อมจำหน่ายก่อนรายอื่น ทำให้มีความได้เปรียบหลังซุ่มบุกเบิกมากว่า 1 ปี
ส่วนเรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล ได้ร่วมมือกับสยามสปอร์ต เข้าซื้อซองประมูลทีวีดิจิตอลช่องข่าว ในนามบริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด แต่ช่วงนี้อยู่ในช่วงไซเรนท์พีเรียต หรือ ห้ามให้สัมภาษณ์ หรือ ให้ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการประมูลที่มีนัยสำคัญ ที่จะส่งผลให้เกิดการฮั้วการประมูล จนถึงช่วงเวลาที่มีการประกาศรายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่เช่นนั้นอาจผิดกฎคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มสามารถไตรมาส 3/2556 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 5,937 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% มีกำไรสุทธิ 393 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสายธุรกิจไอซีทีโซลูชั่น มีรายได้ไตรมาส 3 ทั้งสิ้น 2,605 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% โดยเซ็นสัญญาโครงการใหม่มูลค่ารวม 1,557 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันมีโครงการ 7,000 ล้านบาท และไตรมาสสุดท้ายมีงานรออีกกว่า 40 โครงการ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 6,500 ล้านบาท ขณะที่สายธุรกิจโมบายมัลติมีเดีย มีรายได้ 2,678 ล้านบาท และมั่นใจว่าปีนี้จะมียอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือไม่ต่ำกว่า 3.6 ล้านเครื่อง
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/eco/382592
____________________________
‘สามารถ’ พร้อมขายกล่องทีวีดิจิตอลรายแรก
สามารถลุยเปิดตัวกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ตั้งราคา 1,155 บาท คาดทำตลาด 2 แสนเครื่องภายใน 2 เดือน มั่นใจเป็นธุรกิจสร้างรายได้สำคัญในปีหน้า ส่วนไตรมาส 3 ผลประกอบการรวม 5,937 ล้านบาท เติบโตขึ้นเกือบ 50% เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มสามารถมีแนวทางในการเปลี่ยนกลยุทธ์หลักเพื่อหารายได้ที่มั่นคงขึ้น เป็นรายได้ระยะยาว ทำให้มองว่าต้องหาธุรกิจที่มั่นคงมาช่วย ประกอบกับการที่ กสทช.จะเริ่มเปิดให้เอกชนประมูลทีวีดิจิตอล และเริ่มออกอากาศในช่วงเดือนพฤษภาคมปีหน้า จึงมองว่าการขายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจะกลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กลุ่มสามารถได้ต่อไปในอนาคต
“ในไตรมาส 4 ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 6,500 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ก็มีการเซ็นสัญญาไปแล้วราว 2,200 ล้านบาท และยังมีการเริ่มวางจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่คาดว่าจะขายได้ราว 2 แสนกล่องภายใน 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งทางสามารถถือเป็นผู้จำหน่ายรายแรกที่ได้รับการรับรองจาก กสทช.”
โดยมองว่าทั้งการเปลี่ยนผ่านระบบโทรศัพท์มือถือสู่ 3G และโทรทัศน์แอนะล็อกสู่ทีวีดิจิตอล ถือเป็นโอกาสที่จะช่วยสร้างการเติบโตของกลุ่มสามารถได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปกับการขยายธุรกิจใหม่ๆ อย่างล่าสุดเซ็นสัญญากับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ในการเข้าไปจัดหาระบบและอุปกรณ์บริหารการจราจรทางอากาศ มูลค่าทั้งสิ้น 1,720 ล้านบาท และคาดว่าจะมีรายได้ต่อเนื่องตามมาในปีหน้าอีกราว 300 ล้านบาทในการอัปเกรดระบบ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่ได้มีการเซ็นสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 2 ของทีโอที ส่งผลให้รายได้รวมทั้งปีอาจจะพลาดจากเป้าหมายที่วางไว้ แต่เชื่อว่าถ้ามีการเปิดประมูลในปีหน้าก็จะเข้ามาเป็นรายได้ให้แก่บริษัทต่อไป ขณะที่ธุรกิจ MVNO ของไอโมบาย 3GX ที่ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้งานราว 4 แสนราย คาดว่าจนถึงสิ้นปีน่าจะเพิ่มเป็น 5.5-6 แสนราย จากการที่เข้าไปบันเดิลซิมการ์ด ร่วมกับโทรศัพท์มือถือของไอโมบายที่จำหน่ายออกไป รวมไปถึงการเข้าไปถือหุ้นของเอ็มลิงก์ ทำให้สามารถบันเดิลซิมการ์ดเข้าไปในโทรศัพท์มือถือโนเกียด้วย
ส่วนในกลุ่มสามารถ ไอโมบาย จะมีเครื่องรุ่นใหม่อย่าง IQ X Bliz จะเป็นรุ่นแรกที่วางขายในราคาสูงกว่า 1 หมื่นบาท โดยมีความโดดเด่นอยู่ที่วัสดุของตัวเครื่องที่มีความบาง 7.1 มิลลิเมตร ขณะเดียวกันก็จะมีรุ่นที่แบตฯ อึดอย่าง IQ 6.3 ที่ใส่แบตเตอรี่มาขนาดมากกว่า 3,000 mAh และสุดท้ายรุ่นที่คาดว่าจะขายได้หลายแสนเครื่องคือ i-Style 7.5 ซึ่งจะวางจำหน่ายในราคา 3,990 บาท
ขณะที่ผลประกอบการในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2556 กลุ่มสามารถสร้างรายได้รวม 5,937 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาเกือบ 50% คิดเป็นกำไรสุทธิ 393 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสายธุรกิจ ICT Solutions มีรายได้ทั้งสิ้น 2,605 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% มีกำไรสุทธิ 224 ล้านบาท รวม 9 เดือนที่ผ่านมาเซ็นสัญญาเพิ่มเติมมูลค่าราว 4,500 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันมีโครงการในมือมูลค่าทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท
สายธุรกิจ Mobile Multimedia มีรายได้ 2,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% กำไรสุทธิ 221 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 5 เท่า เมื่อรวมตลอดระยะเวลา 9 เดือนมียอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรวม 2.8 ล้านเครื่อง โดยเป็นสมาร์ทโฟน 1.2 ล้านเครื่อง ทำให้ราคาเฉลี่ยโทรศัพท์สูงขึ้นเป็น 2,880 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 88%
ส่วนสายธุรกิจ Utilities & Transportations มีผลประกอบการสม่ำเสมอไตรมาสละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทจากบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิสเซส และบริษัท กัมปอด เพาเวอร์แพลนท์ ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่ประเทศกัมพูชา และยังมีการรับรู้รายได้ประจำจากบริษัท เทด้า ซึ่งดำเนินธุรกิจระบบสายส่งไฟฟ้า โดยในไตรมาส 3 เทด้ายังประมูลงานใหม่ได้เพิ่ม มูลค่า 647 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันมีมูลค่างานในมือกว่า 1,700 ล้านบาท
สุดท้าย สายธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งรวม บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์, บริษัท วิชั่นแอนด์ซิเคียวริตี้ และบริษัท สามารถวิศวกรรม ที่จะเริ่มจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล จากประสบการณ์ในการผลิตอุปกรณ์รับส่งสัญญาณทีวีมากว่า 50 ปี ผ่านช่องทางกระจายสินค้าของไอ-โมบาย 10,000 แห่งทั่วประเทศ โดยกล่องรับสัญญาณรุ่น “Strong” จะเน้นจุดเด่นที่ดี ชัด จัดเต็ม “ดี” คือ ช่วยประหยัดพลังงาน ติดตั้งง่าย ทนทาน มีอายุการใช้งานถึง 5,000 ชั่วโมง รับประกัน 1.5 ปี “ชัด” ภาพมีความละเอียดสูงระดับ Full HD แสดงภาพต่อเนื่องแม้สัญญาณต่ำ “จัดเต็ม” ด้วยระบบเสียงลิขสิทธิ์ Dolby Digital ทั้งนี้ ได้กำหนดราคาขายไว้ที่ 1,155 บาท ส่วนถ้าซื้อพร้อมเสารับสัญญาณจะอยู่ที่ราว 1,300 บาท
ทั้งนี้ ปัจจุบันถ้าซื้อกล่องรับสัญญาณไปติดตั้งกับเสาอากาศที่รับสัญญาณในระบบ UHF จะสามารถรับชมช่องฟรีทีวีในความละเอียดมาตรฐาน และช่องความคมชัดสูงของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก และไทยพีบีเอสได้เท่านั้น ส่วนช่องรายการสาธารณะที่เหลือจะต้องรอการประมูลใบอนุญาตจากทาง กสทช.ก่อน
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000141504
ไม่มีความคิดเห็น: