13 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) นักวิชาการชี้ สุดท้ายโทรทัศน์จะแข่งขันด้านคอนเทนต์ เอชดีอาจเป็นส่วนช่วยเสริม ไม่ใช่เฉพาะภาพเสียงที่คมชัดอย่างเดียว
ประเด็นหลัก
"สุดท้ายโทรทัศน์จะแข่งขันด้านคอนเทนต์ เอชดีอาจเป็นส่วนช่วยเสริม ไม่ใช่เฉพาะภาพเสียงที่คมชัดอย่างเดียว มันสามารถทำอินเตอร์เฟส อินเตอร์แอคทีฟได้มากมาย เพราะฉะนั้นคนที่ลงทุนด้านเอชดี ต้องมีตอบโจทย์ในใจ ว่าลงทุนไปจะได้อะไรในการประมูลที่มีราคาสูงลิ่ว จะสามารถทำผลประโยชน์ หรือผลกำไร ที่ดีกับประชาชน หรือกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร" นักวิชาการอิสระด้านนิวมีเดียและสื่อสารมวลชน กล่าว
______________________________________
นักวิชาการแนะจับตาทีวีดิจิตอล แข่งเดือด "คอนเทนต์"
"สิขเรศ ศิรากานต์" นักวิชาการอิสระด้านนิวมีเดียฯ ประเมิน สนามรบทีวีดิจิตอล เป็นการแข่งขันกันด้านคอนเทนต์มากกว่าเม็ดเงินประมูล...
เมื่อวันที่ 12 พ.ย.56 นายสิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านนิวมีเดียและสื่อสารมวลชน กล่าวว่า หากประเมินการพลาดหวังการแข่งขันจากช่องความคมชัดสูง (เอชดี) เป็นช่องคมชัดมาตรฐาน (เอสดี) หลายคนมองว่า พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และอยากดูภาพคมชัดมากขึ้น แต่หากวิเคราะห์จากบทเรียนที่ผ่านมาหายไปหลายอย่าง เช่น ทีวี 3 มิติ หรือ นวัตกรรมอื่นๆ เริ่มหายไป ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า การลงทุนการลงทุนเอชดีสูงเกินไป และการลงทุนเอสดีน้อยเกินไป แต่สุดท้ายโทรทัศน์จะแข่งกันที่คอนเทนต์ที่นำเสนอต่อประชาชนมากกว่า
"สุดท้ายโทรทัศน์จะแข่งขันด้านคอนเทนต์ เอชดีอาจเป็นส่วนช่วยเสริม ไม่ใช่เฉพาะภาพเสียงที่คมชัดอย่างเดียว มันสามารถทำอินเตอร์เฟส อินเตอร์แอคทีฟได้มากมาย เพราะฉะนั้นคนที่ลงทุนด้านเอชดี ต้องมีตอบโจทย์ในใจ ว่าลงทุนไปจะได้อะไรในการประมูลที่มีราคาสูงลิ่ว จะสามารถทำผลประโยชน์ หรือผลกำไร ที่ดีกับประชาชน หรือกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร" นักวิชาการอิสระด้านนิวมีเดียและสื่อสารมวลชน กล่าว
นายสิขเรศ กล่าวต่อว่า การประมูลทีวีดิจิตอล เป็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานเป็นใบอนุญาต ซึ่งหากประเมินการเคาะราคาว่าจะจบลงที่เท่าไร ส่วนตัวมองว่า ยังเหลือเวลาอีก 45 วัน ซึ่งทุกบริษัทคงประเมินค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วทั้ง ค่าใบอนุญาต ค่าเช่าโครงข่าย ค่าปฏิบัติการ จึงเชื่อว่าจากบทเรียนที่ผ่านมาทั้งไทยและต่างประเทศ การเคาะราคาสูงมาก
ทั้งนี้ ทุกคนจะอยู่ในภาวะการเสี่ยง แม้ว่าการถือครองใบอนุญาตจะมีอายุ 15 ปี แต่ค่าต้นทุนดังกล่าวยังคงเป็นภาระอยู่ ซึ่งแม้ว่าการแข่งขันจะดุเดือด แต่คงไม่มากนัก และคิดว่าผู้บริหารทุกคนคงมีประสบการณ์ การให้ราคาในการประมูลมากเกินไปไม่อาจดำรงธุรกิจอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการประมูลที่มีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริงตามอุตสาหกรรม ก็เท่ากับเป็นการประเมินค่าจนสูงเกินไปในมูลค่าอุตสาหกรรม หรือเรียกว่า ฟองสบู่ดิจิตอล นั่นเอง.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/382372
ไม่มีความคิดเห็น: