Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 พฤศจิกายน 2556 MY by CAT 3G 850 เปิดเผย มีความจุเหลือให้บริการ my และขายต่อ MVNO ประมาณ 4 แสน โดย ในสิ้นปีหน้าเร่งปิดดีล MVNO "365-ล็อกซเล่ย์"


ประเด็นหลัก


เร่งปิดดีล MVNO

ส่วน รายได้จากการขายส่งความจุโครงข่ายปีนี้จะอยู่ที่ 24,000 ล้านบาท ปี 2557 ที่ 25,000 ล้านบาท ปี 2558 ที่ 26,000 ล้านบาท ปี 2559 ได้ 27,300 ล้านบาท ปี 2560 ได้ 27,700 ล้านบาท และเป็น 27,900 ล้านบาทในปี 2561 มีกลุ่มทรูเป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งตามสัญญาที่ทำไว้มีกำไรเฉลี่ยที่ 23% แต่ช่วงปีแรก ๆ ที่ลูกค้าน้อยอาจได้ไม่ถึง

นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า การเจรจาหา MVNO นำความจุโครงข่ายไปขายต่อบริการใช้หลักการเดียวกัน ถ้าซื้อความจุเท่ากันจะได้ราคาขายส่งเดียวกัน ซึ่งกำลังเจรจากับบริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น และ บมจ.ล็อกซเล่ย์ คาดว่าจะทำสัญญากับบริษัทแรกได้ในเดือน พ.ย. และกำลังทำแพลตฟอร์มระบบไอทีกลางดูแลระบบงานหลังบ้านให้ MVNO ที่ต้องการให้ช่วยดูแลระบบคอลเซ็นเตอร์และระบบเติมเงิน

สำหรับความจุโครงข่าย HSPA ปัจจุบันที่กลุ่มทรูผู้ลงทุนขยายไปก่อน ภายในสิ้น ปีนี้จะมีสถานีฐาน 13,500 แห่ง ครอบคลุม 88% ของประชากร และในปีหน้าเพิ่มอีก 500 สถานีฐาน ครอบคลุม 90% ส่วนเงินลงทุนที่ต้องดำเนินการเอง ในช่วงแรกเน้นไปที่การเชื่อมโยง สื่อสัญญาณ เพราะกลุ่มทรูยังไม่มีแนวโน้มขอให้ขยายความจุโครงข่ายเพิ่ม จากปัจจุบันรองรับการใช้งานได้ 16.6 ล้านซับสไครเบอร์ โดยเรียลมูฟขอ ไว้ 13.3 ล้าน เรียลฟิวเจอร์ขอโรมมิ่งกับคลื่น 2.1GHz จำนวน 3 ล้าน และกำลังเจรจาอัตราค่าโรมมิ่ง มีความจุเหลือให้บริการ my และขายต่อ MVNO ประมาณ 4 แสน

"แต่ละซับสไครเบอร์จะรองรับลูกค้าได้กี่รายอยู่ที่การ ออกแบบโครงข่าย ถ้ามีลูกค้า 2 ราย คนหนึ่งใช้โทร. อีกรายใช้ดาต้าแบบไม่อั้น ทั้งคู่มารวมกันก็จะมีการใช้งานเท่ากับ 1 ซับฯ แต่การดีไซน์โปรโมชั่นหรือใช้งานจริงจะแยกย่อยไปกว่านั้น"


______________________________________



ปัดฝุ่นแบรนด์my ลงตลาดอีกรอบ เร่งขยายช่องทางขาย-จุดเติมเงินชู "ราคา" สู้ศึก3G


"กสท โทรคมนาคม" ปัดฝุ่นแบรนด์ my ลงตลาดอีกรอบ ชูจุดขาย "ราคาถูก-ดาต้าแพ็กเกจเพียบ" สู้ศึก 3G ปูพรมเพิ่มจุดเติมเงิน-ชำระค่าบริการ เปิดทางสำนักงานส่วนภูมิภาคตั้งตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ตั้งเป้าขยับฐานลูกค้า จาก 1.7 แสนรายเป็น 7.2 แสนราย ในสิ้นปีหน้าเร่งปิดดีล MVNO "365-ล็อกซเล่ย์"





นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด และการขายบมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ในปี 2557 เตรียมงบประมาณการตลาดไว้ที่ 600 ล้านบาท แต่จะให้ความสำคัญมากที่สุด

ในบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่าน เคเบิลใยแก้วนำแสง (FTTX) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ HSPA คลื่น 850 MHz โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินสำหรับ HSPA ภายใต้แบรนด์ "my" 200-300 ล้านบาท

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติโครงการลงทุน HSPA เป็นเงิน 14,545 ล้านบาท ทำให้เริ่มรับรู้รายได้จากการขายส่งขายต่อความจุโครงข่ายตามสัญญากับกลุ่ม ทรู (ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2554) ต่อไป HSPA จะมีรายได้ 2 ส่วน คือจากการขายส่งให้กลุ่มทรู และ MVNO รายอื่นอีกส่วนทำตลาดเองภายใต้แบรนด์ my

เข็น MY ลงตลาดอีกรอบ

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างจัดทำแผนธุรกิจ HSPA คลื่น 850 MHz เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับทราบพร้อมวางแผนโฆษณาและประชาสัมพันธ์สำหรับกลับมาเปิดตัวและทำตลาด my อีกครั้ง ก.พ.ปีหน้า

"หลัก ๆ คงใช้แบรนด์เดิมโลโก้เดิม แต่จะเริ่มทำการตลาดแบบบีโลว์เดอะไลน์ไปก่อน ขณะนี้กำลังเร่งดูว่าถ้าจะเปิดตัว ม.ค.นี้จะทันไหม จุดเด่นของ my คงต้องใช้เรื่องราคาค่าบริการที่ถูกกว่า มีโปรโมชั่นดาต้าให้เลือก เยอะกว่า ตอนทำ CAT CDMA ก็มีหลายโปรโมชั่นที่ลูกค้าตอบรับดีและแก้ไขจุดอ่อนเรื่องช่องทางจัดจำหน่าย ซิมบริการหลังการขาย ช่องทางเติมเงิน และการชำระเงินให้มีมากขึ้น"

สำหรับ ช่องทางจัดจำหน่ายจะกระจายอำนาจให้หัวหน้างานในส่วนภูมิภาคแต่ละจังหวัดไป เจรจากับดีลเลอร์รายย่อยระดับจังหวัดตามกรอบสัญญา และกำหนดส่วนแบ่งราย ได้จากการจัดจำหน่ายภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งร้านบางแห่งจะเป็นจุดบริการลูกค้า my ด้วย เพราะประหยัดกว่าการเปิดศูนย์ตามห้างสรรพสินค้าเอง

ส่วนช่องทางการเติมเงินและชำระเงินจะเจรจากับจุดรับชำระเงินตามคอนวีเนี่ยนสโตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงตู้เติมเงินมือถือ

ปัจจุบัน my มีลูกค้าโอนมาจากCDMA 1.7 แสนราย ตั้งเป้าว่า ในปีหน้าจะมีลูกค้า 7.2 แสนราย ก่อนเพิ่มเป็น 1 ล้านรายปี 2558 1.3 ล้านรายในปี 2559 เป็น 1.5 ล้านรายในปี 2560 และ 1.62 ล้านรายปี 2561 ส่วนรายได้ปีนี้ 1,050 ล้านบาทปี 2557 คาดอยู่ที่ 2,500 ล้านบาทปี 2558 เป็น 3,600 ล้านบาท ปี 2559 เป็น 4,300 ล้านบาท ปี 2560 อยู่ที่ 4,700 ล้านบาท และ 5,000 ล้านบาท ปี 2561

เร่งปิดดีล MVNO

ส่วน รายได้จากการขายส่งความจุโครงข่ายปีนี้จะอยู่ที่ 24,000 ล้านบาท ปี 2557 ที่ 25,000 ล้านบาท ปี 2558 ที่ 26,000 ล้านบาท ปี 2559 ได้ 27,300 ล้านบาท ปี 2560 ได้ 27,700 ล้านบาท และเป็น 27,900 ล้านบาทในปี 2561 มีกลุ่มทรูเป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งตามสัญญาที่ทำไว้มีกำไรเฉลี่ยที่ 23% แต่ช่วงปีแรก ๆ ที่ลูกค้าน้อยอาจได้ไม่ถึง

นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า การเจรจาหา MVNO นำความจุโครงข่ายไปขายต่อบริการใช้หลักการเดียวกัน ถ้าซื้อความจุเท่ากันจะได้ราคาขายส่งเดียวกัน ซึ่งกำลังเจรจากับบริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น และ บมจ.ล็อกซเล่ย์ คาดว่าจะทำสัญญากับบริษัทแรกได้ในเดือน พ.ย. และกำลังทำแพลตฟอร์มระบบไอทีกลางดูแลระบบงานหลังบ้านให้ MVNO ที่ต้องการให้ช่วยดูแลระบบคอลเซ็นเตอร์และระบบเติมเงิน

สำหรับความจุโครงข่าย HSPA ปัจจุบันที่กลุ่มทรูผู้ลงทุนขยายไปก่อน ภายในสิ้น ปีนี้จะมีสถานีฐาน 13,500 แห่ง ครอบคลุม 88% ของประชากร และในปีหน้าเพิ่มอีก 500 สถานีฐาน ครอบคลุม 90% ส่วนเงินลงทุนที่ต้องดำเนินการเอง ในช่วงแรกเน้นไปที่การเชื่อมโยง สื่อสัญญาณ เพราะกลุ่มทรูยังไม่มีแนวโน้มขอให้ขยายความจุโครงข่ายเพิ่ม จากปัจจุบันรองรับการใช้งานได้ 16.6 ล้านซับสไครเบอร์ โดยเรียลมูฟขอ ไว้ 13.3 ล้าน เรียลฟิวเจอร์ขอโรมมิ่งกับคลื่น 2.1GHz จำนวน 3 ล้าน และกำลังเจรจาอัตราค่าโรมมิ่ง มีความจุเหลือให้บริการ my และขายต่อ MVNO ประมาณ 4 แสน

"แต่ละซับสไครเบอร์จะรองรับลูกค้าได้กี่รายอยู่ที่การ ออกแบบโครงข่าย ถ้ามีลูกค้า 2 ราย คนหนึ่งใช้โทร. อีกรายใช้ดาต้าแบบไม่อั้น ทั้งคู่มารวมกันก็จะมีการใช้งานเท่ากับ 1 ซับฯ แต่การดีไซน์โปรโมชั่นหรือใช้งานจริงจะแยกย่อยไปกว่านั้น"

ปูพรม FTTX 20 จังหวัด

สำหรับ FTTX มีงบฯลงทุนโครงข่ายทุกปีอยู่แล้วในงบฯดำเนินการประจำปีจึงจะนำส่วนนี้มาใช้ ขยายโครงข่าย FTTX ใน 20 จังหวัดเศรษฐกิจที่มีความต้องการใช้งาน เจาะกลุ่มลูกค้าเป็นบ้านพัก คอนโดมิเนียม เป็นต้น ตั้งเป้าเพิ่มให้ได้ 1 แสนราย จากปัจจุบันมีลูกค้าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ADSL และ FTTX ที่ 50,000 ราย

ขณะที่สัดส่วนรายได้ไม่รวมสัมปทาน 9 เดือนแรกของปีนี้มีสัดส่วน 55% ของรายได้มาจากบริการบรอดแบนด์ อีก 30% มาจากโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ส่วนโมบายอยู่ที่ 10% เนื่องจาก ครม.เพิ่งอนุมัติโครงการ HSPA ยังไม่รวมรายได้ส่วนโฮลเซลอีกราว 5% มาจากบริการไอที คาดว่าสัดส่วนรายได้จากบริการโมบายจะเพิ่มเป็น 70% ของรายได้รวมตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป ขณะที่รายได้บรอดแบนด์จะอยู่ที่ 19% โทรศัพท์ระหว่างประเทศ 9% ที่เหลือเป็นบริการไอทีต่าง ๆ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384325401

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.