Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2556 เลขาธิการ กสทช. ระบุชี้ TRUEMOVE และ GSM1800 ต้องจ่ายเงินมากกว่า 30% ในช่วงเยียวยา 1800 MHz ณะทำงานจะตรวจสอบการหักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนรายไตรมาสเช่นค่าเช่าเสา CAT


ประเด็นหลัก


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ความคืบหน้าประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (ประกาศเยียวยา 1800 MHz) ในเรื่องการนำส่งเงินรายได้ของผู้ประกอบการในช่วงระยะเวลาเยียวยาส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดินนั้น เบื้องต้นคณะทำงานได้มีมติให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย คือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) นำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2556 จำนวน 30% ซึ่งเท่ากับอัตราสัญญาสัมปทานเดิม นำส่งเข้าบัญชีพักเงินรายได้ก่อนโดยให้อยู่กับกรมบัญชีกลางก่อนทุกเดือน จากนั้นคณะทำงานจะตรวจสอบการหักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนรายไตรมาส เช่น ค่าเช่าโครงข่ายกับบริษัท กสท โทรคมนาคม และค่าบริหารจัดการ เป็นต้น
   
       ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์หน้า กสทช.จะเชิญผู้ประกอบการทั้ง 2 รายเข้าหารือในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อชี้แจงในการปฏิบัติตามมติของคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศเยียวยา 1800 MHz
   
       “สุดท้ายผู้ประกอบการอาจจะต้องส่งเงินให้แผ่นดินทั้งหมดมากกว่า 30% ก็เป็นไปได้ เนื่องจากรายได้ที่ผู้ประกอบการจะต้องส่งให้แผ่นดินนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 30% อยู่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขสุดท้ายที่เป็นค่าสัมปทาน อย่างไรก็ดีคงต้องรอให้คณะทำงานฯ สรุปรายจ่ายที่แท้จริงของเอกชนในช่วงให้บริการเยียวยาก่อน”


______________________________________



ช่วยกันจำ “ฐากร” เชื่อค่ายมือถือจ่ายมากกว่า 30% ในช่วงเยียวยา 1800 MHz




นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
       กสทช.เผยรายได้ที่เกิดช่วงประกาศเยียวยา 1800 MHz เอกชนอาจต้องส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดินมากกว่า 30% (ตามอัตราสัญญาสัมปทานเดิม) ระบุภายในสัปดาห์หน้าเตรียมเรียกเอกชนเข้าหารือ พร้อมอนุมัติงบซูเปอร์บอร์ดรวม 52.01 ล้านบาท ส่วนค่าไอซีมีลุ้นปรับลงเหลือ 21 สตางค์ มี.ค.ปีหน้า
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ความคืบหน้าประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (ประกาศเยียวยา 1800 MHz) ในเรื่องการนำส่งเงินรายได้ของผู้ประกอบการในช่วงระยะเวลาเยียวยาส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดินนั้น เบื้องต้นคณะทำงานได้มีมติให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย คือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) นำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2556 จำนวน 30% ซึ่งเท่ากับอัตราสัญญาสัมปทานเดิม นำส่งเข้าบัญชีพักเงินรายได้ก่อนโดยให้อยู่กับกรมบัญชีกลางก่อนทุกเดือน จากนั้นคณะทำงานจะตรวจสอบการหักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนรายไตรมาส เช่น ค่าเช่าโครงข่ายกับบริษัท กสท โทรคมนาคม และค่าบริหารจัดการ เป็นต้น
     
       ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์หน้า กสทช.จะเชิญผู้ประกอบการทั้ง 2 รายเข้าหารือในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อชี้แจงในการปฏิบัติตามมติของคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศเยียวยา 1800 MHz
     
       “สุดท้ายผู้ประกอบการอาจจะต้องส่งเงินให้แผ่นดินทั้งหมดมากกว่า 30% ก็เป็นไปได้ เนื่องจากรายได้ที่ผู้ประกอบการจะต้องส่งให้แผ่นดินนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 30% อยู่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขสุดท้ายที่เป็นค่าสัมปทาน อย่างไรก็ดีคงต้องรอให้คณะทำงานฯ สรุปรายจ่ายที่แท้จริงของเอกชนในช่วงให้บริการเยียวยาก่อน”
     
       ส่วนความคืบหน้าการส่งรายงานการให้บริการคงสิทธิเลขหมายมายัง กสทช.ของผู้ประกอบการทั้ง 2 รายนั้น ล่าสุดยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด โดย กสทช.ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทั้ง 2 บริษัทรีบดำเนินการจัดส่งมาภายในเดือน พ.ย.นี้ โดยล่าสุดทรูมูฟยังคงไม่ได้ส่งข้อมูลเดือน ต.ค.มาให้แต่อย่างใด มีเพียงดีพีซีที่ส่งรายงานเดือน ต.ค.มา โดยตอนนี้เหลือลูกค้าในระบบเพียง 28,000 เลขหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าในระบบเติมเงิน และไม่ได้ใช้งานในเบอร์ดังกล่าวด้วย
     
       นอกจากนี้ ข้อมูลทรูมูฟล่าสุดที่ส่งมาให้ กสทช.คือ ในเดือน ก.ย.ยังคงมีลูกค้าที่เหลือในระบบประมาณ 13.2 ล้านเลขหมาย และมีที่เข้าคิวรอการโอนย้ายออกจากระบบราว 1 ล้านเลขหมาย ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าทางทรูมูฟจะเข้ามาหารือในปัญหาการโอนย้ายกับบอร์ด กทค.อีกครั้ง
     
       นายฐากรกล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. วันนี้ (13 พ.ย.) ยังมีมติเห็นชอบสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายการจ้างเหมาบริการบุคลากรพร้อมค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมเพื่อสนับสนุนภารกิจของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) หรือซูเปอร์บอร์ดเพิ่มเติมอีกจำนวน 3.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นกรอบวงเงิน 2 เดือน (พ.ย.-ธ.ค.) เพื่อใช้สำหรับการจ้างบุคลากร ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพิ่มเป็น 36 อัตรา ซึ่งก่อนหน้านี้ กสทช.อนุมัติอัตราพนักงานไปแล้วรวม 11 อัตรา และยังมีพนักงานปริญญาตรีอีกจำนวน 20 อัตรา ปริญญาโท 10 อัตรา
     
       อีกทั้งก่อนหน้านี้ กสทช.อนุมัติงบสนับสนุนไปแล้ว 43.61 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณสำหรับค่าดำเนินการ (งบประจำปี) 23.61 ล้านบาท และงบโครงการจำนวน 5 โครงการวงเงิน 20 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ กสทช.สนับสนุนไปแล้ว 52.01 ล้านบาท
     
       ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (ค่าไอซี) แล้ว และเตรียมนำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป รวมถึงยังเห็นชอบให้นำร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กลับไปรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) อีก 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุดก่อนนำกลับเข้าบอร์ด กสท.และบอร์ด กสทช.เพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยคาดว่าทั้งหมดจะใช้เวลาในการดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 60 วัน
     
       อนึ่ง ภายหลังจากประกาศค่าไอซีมีผลบังคับใช้ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจะต้องอ้างอิงอัตราค่าเชื่อมโยงในอัตรานาที 45 สตางค์ ไปจนกว่าผลการศึกษาโครงสร้างต้นทุนค่าบริการและสูตรการคำนวณค่าไอซีทั้งหมดจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือน มี.ค. 2557 ซึ่งอัตราอ้างอิงมีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ปรับลดลงตามภาวะตลาด คาดว่าจะต่ำกว่านาทีละ 21 สต. ซึ่งจะส่งผลให้ค่าบริการโทรศัพท์มือถือปรับลดลงอย่างแน่นอน ส่วนจะลดลงอัตราเท่าใดนั้นจะต้องรอผลการศึกษาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000141532

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.