Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 พฤศจิกายน 2556 AIS.ฐิติพงศ์ ระบุทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่อยู่บนโลกออนไลน์ กับนักแสดงทั้ง 7 คน ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต


ประเด็นหลัก


       ดังนั้นในมุมของเอไอเอส จึงมองว่า ควรที่จะมีรูปแบบการสื่อสารใหม่ไปยังกลุ่มลูกค้าเดิม รวมไปถึงการขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ ผ่านหนังสั้นง่ายๆ ที่เชื่อว่าผู้ที่ได้ดูแล้วจะมีความสุข รวมถึงได้ความสนุก สดใส จากนักแสดงทั้ง 7 คน ที่มาแสดงร่วมกันเพื่อที่จะสื่อถึง ‘ความเข้าใจ’ ในแต่ละมุมที่เกิดขึ้น
   
       ที่สำคัญคือภายในหนังสั้นดังกล่าว ถ้าได้ดูแล้วจะรู้ว่าไม่ได้เป็นการขายของ เพราะไม่มีการพูดถึงรูปแบบบริการ หรือผลิตภัณฑ์ใดๆที่เอไอเอส ให้บริการอยู่เลย เพียงแต่สื่อให้เห็นว่าด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต รวมถึงสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่รักได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นแทนโดยหลังจากปล่อยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปรับชมใน www.ais.co.th/jamesandthegang ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่มีการโปรโมทผ่านสื่อหลักเท่าใดนัก

______________________________________




เปิดแนวรุก ‘เอไอเอส’ ลุยตลาดออนไลน์ (Cyber Weekend)





ในมุมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมขณะนี้ ค่ายมือถือที่ให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากที่สุดคงหนีไม่พ้นผู้นำตลาด อย่างเอไอเอส ที่ล่าสุดได้เพิ่มแนวคิดในการสื่อสารไปยังผู้บริโภค ในมุมที่ไม่เน้นการขายของ แต่ใช้การสื่อสารในมุมของการเป็นเพื่อนสนิท ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกๆเรื่อง ผ่าน 'ความเข้าใจ’ ซึ่งกลายเป็นประโยคล่าสุดที่ทีมงานการตลาดของเอไอเอส พยายามสื่อสารไปยังผู้บริโภค เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ก็มีมุมที่ต้องการเข้าไปอยู่ในใจของผู้ใช้งาน หลังจากพยายามสร้างความเป็น ตัวจริงในแง่การให้บริการ 3G บนคลื่น 2100 MHz มาเกือบปี
     
       แต่ไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้นที่เอไอเอสพยายามปลุกปั้นตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเว็บบอร์ดสาธารณะ ซึ่งจะมีทีมงานที่คอยเข้าไปให้บริการลูกค้า ด้วยการตอบข้อซักถามต่างๆ รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือแบบออนไลน์ ควบคู่ไปกับการวางระบบ e-service ที่นับวันจะยิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น
     
       ฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขายบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า ในมุมของการสื่อสารไปยังลูกค้าของเอไอเอสตอนนี้หลักๆแล้วจะใช้ 'เจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข' เป็นตัวละครหลัก พร้อมกับเพื่อนๆนักแสดงอีก 6 คนที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มผู้ใช้งานของเอไอเอส มาช่วยสื่อสารว่าเอไอเอสมีโปรโมชัน หรือแพกเกจ หรือบริการเสริมใดบ้างซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในมุมของฮาร์ดเซลที่เน้นการขายของเป็นหลัก
     
       แต่ล่าสุดเอไอเอสได้เปลี่ยนแนวคิดแบบใหม่ที่จะมาทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่อยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เริ่มมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ตามอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งการมาของ 3G ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเช่นเดียวกัน
       ดังนั้นในมุมของเอไอเอส จึงมองว่า ควรที่จะมีรูปแบบการสื่อสารใหม่ไปยังกลุ่มลูกค้าเดิม รวมไปถึงการขยายฐานไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ ผ่านหนังสั้นง่ายๆ ที่เชื่อว่าผู้ที่ได้ดูแล้วจะมีความสุข รวมถึงได้ความสนุก สดใส จากนักแสดงทั้ง 7 คน ที่มาแสดงร่วมกันเพื่อที่จะสื่อถึง ‘ความเข้าใจ’ ในแต่ละมุมที่เกิดขึ้น
     
       ที่สำคัญคือภายในหนังสั้นดังกล่าว ถ้าได้ดูแล้วจะรู้ว่าไม่ได้เป็นการขายของ เพราะไม่มีการพูดถึงรูปแบบบริการ หรือผลิตภัณฑ์ใดๆที่เอไอเอส ให้บริการอยู่เลย เพียงแต่สื่อให้เห็นว่าด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ผู้บริโภคสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต รวมถึงสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่รักได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นแทนโดยหลังจากปล่อยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปรับชมใน www.ais.co.th/jamesandthegang ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่มีการโปรโมทผ่านสื่อหลักเท่าใดนัก
     
       แต่ยอดคนคลิกเข้าไปรับชมก็อยู่ในระดับ 2 หมื่นวิว ซึ่งถ้าถึงจุดหนึ่งที่มีการแชร์ไปยังโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยโปรโมทภาพลักษณ์ของแบรนด์เอไอเอสไปในตัว ทำให้ช่องทางการสื่อสาร ไปยังลูกค้าผ่านออนไลน์ของเอไอเอส ตอนนี้จะประกอบไปด้วย 3 ช่องทางหลักๆ คือ คอนเทนต์ที่เป็นวิดีโอ ผ่านช่องยูทิวบ์ AIS LifeStyle Channel การแจ้งข้อมูลข่าวสารผ่าน Official Account ใน LINE และล่าสุดเพิ่งมีการสร้าง AISInstagram ขึ้นมาเพิ่ม
     
       สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้คือแนวทางการตลาดผ่านโลกออนไลน์ล่าสุด ของเอไอเอส ขณะที่ก่อนหน้านี้เอไอเอสจะมองว่า ช่องทางออนไลน์เปรียบเสมือนช่องทางให้ลูกค้าได้เข้ามาติดต่อกับเอไอเอส ในการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า รวมไปถึงสอบถามปัญหาการใช้งานที่เกิดขึ้นมากกว่าโดยก่อนหน้านี้ทางเอไอเอส ได้มีการเปิดแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/aiscallcenter1175 มาคอยให้บริการ ซึ่งปัจจุบันยอดผู้ที่คลิกไลค์ อยู่ที่ราว 173,000 ราย เท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีช่องทางดังกล่าวอยู่ และเลือกที่จะไปสอบถามปัญหาตามแฟนเพจอื่นๆในเครือของเอไอเอสแทน
       ในจุดนี้ ฐิติพงศ์ มองว่า การที่เอไอเอส เลือกที่จะตอบปัญหา หรือให้บริการหลังการขายในเพจของคอลเซ็นเตอร์ เพียงอย่างเดียวเพราะว่าจะได้กลายเป็นเพจที่รวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาสามารถเข้าไปอ่านการแก้ไขในเรื่องเดียวกันได้ ซึ่งในแฟนเพจดังกล่าวจะมีทีมงานที่คอยมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวตลอดเวลา
     
       เช่นเดียวกับในเว็บบอร์ดสาธารณะอย่าง พันทิปดอทคอม ซึ่งคอลเซ็นเตอร์ ของเอไอเอส ก็มักจะได้รับคำชมจากผู้ใช้งานมากที่สุด เพราะถือเป็น เคพีไอ ในการให้บริการว่า ต้องตอบข้อสงสัย และพยายามแก้ไขปัญหาของลูกค้าให้เร็วที่สุด หรือถ้าเป็นในเรื่องที่คอลเซ็นเตอร์ไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะมีการประสานงานไป ยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
     
       ขณะเดียวกันในส่วนของงบ ที่ใช้ทำตลาดออนไลน์ นอกเหนือไปจาก 2 เรื่องข้างต้นแล้ว ก็จะรวมไปถึงการพัฒนาบริการ e-service ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้งาน เปลี่ยนโปรโมชัน ทำธุรกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง บนแนวคิดที่ว่าเมื่อบริการ e-service สมบูรณ์แล้วลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องไปรอรับบริการตามศูนย์บริการอีกต่อไป เพราะบริการใดที่เกิดขึ้นในแต่ละศูนย์ ก็สามารถใช้งานผ่านระบบ e-service ได้เช่นเดียวกัน
     
       ในจุดนี้ยังรวมไปถึง หน้าร้านค้าออนไลน์อย่าง ais online shopping ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์เสริม แอร์การ์ด ซิมการ์ด และของชำร่วยของอุ่นใจ ให้สามารถสั่งซื้อผ่านหน้าร้านออนไลน์ได้ทันที
       ซึ่งในแต่ละเดือนก็จะมี โปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านทางช่องทางดังกล่าว อย่างส่วนลดสินค้า 500 - 1,000 บาท หรืออย่างตอนนี้ก็จะมีโปรโมชันซื้อสมาร์ทโฟนของซัมซุงที่รองรับการใช้งาน NFC จะได้รับซิม AIS mPAY Rabbit และส่วนลดเป็นเงินคืนในระบบ mCASH สูงสุด 1,300 บาท เป็นต้น
     
       'สิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คือแบรนด์ต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องไม่สามารถหยุดนิ่งได้ เนื่องจากมีเครื่องมือทางโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆเกิดขึ้นมามากมาย แต่ที่สำคัญก็คือต้องปรับใช้เครื่องมือแต่ละชนิดให้ได้ดีที่สุด'
     


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000141916

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.