Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 พฤศจิกายน 2556 ส.พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เตรียมฟ้อง กสทช. ยกชุด ขอศาลถอนประกาศซิมดับชี้เป็นการแข่งขันไม่เป็นธรรม


ประเด็นหลัก


น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า จากการติดตามผลการดำเนินงานตาม ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 ภายหลัง กสทช. ประกาศใช้งานครบ 60 วัน โดยทางศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมสำนักงาน กสทช. พบว่า เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์  ที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ทำไว้ร่วมกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี มีจำนวนทั้งสิ้น 50  เรื่องร้องเรียน และประกาศฉบับนี้จะมีผลต่อสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่านอื่นๆด้วย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ กสทช. ต้องมองถึงเรื่องการจัดประมูลล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เพราะวิธีนี้จะไม่กระทบประโยชน์ของรัฐวิสากิจ และผู้รับสัญญาสัมปทาน อีกทั้งลูกค้าได้รู้ว่าตัวเองจะได้ไปอยู่กับผู้ให้บริการรายใด เป็นการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าสำหรับสัญญาสัมปทานฉบับอื่นๆ



______________________________________



กสทช. ยืนยันประกาศแก้ซิมดับทำเพื่อประชาชน

 
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า จากการติดตามผลการดำเนินงานตาม ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 ภายหลัง กสทช. ประกาศใช้งานครบ 60 วัน โดยทางศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมสำนักงาน กสทช. พบว่า เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์  ที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ทำไว้ร่วมกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี มีจำนวนทั้งสิ้น 50  เรื่องร้องเรียน และประกาศฉบับนี้จะมีผลต่อสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่านอื่นๆด้วย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ กสทช. ต้องมองถึงเรื่องการจัดประมูลล่วงหน้าก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เพราะวิธีนี้จะไม่กระทบประโยชน์ของรัฐวิสากิจ และผู้รับสัญญาสัมปทาน อีกทั้งลูกค้าได้รู้ว่าตัวเองจะได้ไปอยู่กับผู้ให้บริการรายใด เป็นการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าสำหรับสัญญาสัมปทานฉบับอื่นๆ

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ยืนยันว่าประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (ประกาศแก้ซิมดับ) เป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย และปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยในส่วนของเรื่องร้องเรียน ขณะนี้ได้มีการประสานงานไปยังผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ได้แก่ ทรูมูฟ และดีพีซี แล้ว ซึ่งหากยังตรวจพบและผู้ประกอบการทั้ง 2 รายไม่ดำเนินการแก้ไขจะดำเนินการแก้ไขวันละ 2 แสนบาท

นายฐากร กล่าวว่า ด้านการจัดการประมูลคลื่นความถี่อื่นๆล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัญญาสัมปทาน ขอยืนยันว่า กสทช. มีความต้องการดำเนินการเช่นกัน แต่การจำดำเนินการได้ ต้องได้รับการยินยอมจาก 2 บริษัท ผู้ให้สัญญาสัมปทานเดิม ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เสียก่อน ซึ่งที่ผ่านมาท่าทีของทั้ง 2 บริษัท ไม่มีทีท่าที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวแต่อย่างใด ประกอบกับทั้ง 2 บริษัท ยังคงยืนยันให้คลื่นหลังหมดสัญญาสัมปทานต้องโอนย้ายคืนไปให้ตนเอง


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1384424277&grpid=&catid=05&subcatid=0504

___________________________________





มติชน 15 พฤศจิกายน 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.