17 พฤศจิกายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา ระบุ กสท. เตรียม ออกหลักปฏิบัติการประมูลคลื่นทีวีดิจิทัล ชี้พร้อมกำหนดวันและสถานที่ในการประมูล
ประเด็นหลัก
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า เกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้ต่อผู้เข้าร่วมประมูลทุกราย อยากให้ทุกบริษัทช่วยกันจับตาร่างนี้เพื่อให้ทุกเกณฑ์เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และสำนักงานควรมีการซักซ้อมสร้างคามเข้าใจก่อนการประมูลจริง นอกจากนี้ ที่ประชุมเตรียมพิจารณาข้อมูลชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ตามที่นายศุภชัย ศรีหล้า ประธานคณะกรรมาธิการฯ มีหนังสือเชิญ ประธาน และกรรมการกสทช.เข้าร่วมประชุม เพื่อสอบถามข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดประมูล ทั้งในเรื่อง ข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ความแตกต่างข้อดีข้อเสียระหว่างการให้สัมปทานกับการจัดประมูล รวมถึงผลกระทบด้านต่างๆ ต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบกิจการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วันที่ 18 พ.ย. นี้ กสท.เตรียมออก (ร่าง) หลักปฏิบัติการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ถือเป็นแนวทางสำคัญของการดำเนินการประมูลให้เป็นธรรม โปร่งใส และเป็นไปตามที่กฎหมายโดยกำไหนดหลักปฏิบัติการประมูลไว้ 6 หมวด คือ1.การเตรียมการประมูล 2.การเข้าสู่สถานที่การจัดประมูล 3.การประมูล 4.การติดต่อสื่อสารระหว่างการประมูล 5.การประกาศและรับรองผลประมูล 6.มาตรการรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของรัฐในการประมูล นอกจากนี้ ยังรวมถึง ภาคผนวก ก หนังสือยินยอมเพื่อการรักษาข้อมูลสารสนเทศที่ต้องห้ามเปิดเผยและป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และภาคผนวก ข สิ่งของและอุปกรณ์ที่อนุญาตนำเข้าห้องประมูล เป็นต้น
______________________________________
จับตาวาระการประชุมบอร์ด กสท.พรุ่งนี้ เตรียม ออกหลักปฏิบัติการประมูลคลื่นทีวีดิจิทัล พร้อมติดตามกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ สภาผู้แทนฯ เรียก กสทช.ชี้แจง 20 พ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วันที่ 18 พ.ย. นี้ กสท.เตรียมออก (ร่าง) หลักปฏิบัติการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ถือเป็นแนวทางสำคัญของการดำเนินการประมูลให้เป็นธรรม โปร่งใส และเป็นไปตามที่กฎหมายโดยกำไหนดหลักปฏิบัติการประมูลไว้ 6 หมวด คือ1.การเตรียมการประมูล 2.การเข้าสู่สถานที่การจัดประมูล 3.การประมูล 4.การติดต่อสื่อสารระหว่างการประมูล 5.การประกาศและรับรองผลประมูล 6.มาตรการรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของรัฐในการประมูล นอกจากนี้ ยังรวมถึง ภาคผนวก ก หนังสือยินยอมเพื่อการรักษาข้อมูลสารสนเทศที่ต้องห้ามเปิดเผยและป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และภาคผนวก ข สิ่งของและอุปกรณ์ที่อนุญาตนำเข้าห้องประมูล เป็นต้น
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า เกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้ต่อผู้เข้าร่วมประมูลทุกราย อยากให้ทุกบริษัทช่วยกันจับตาร่างนี้เพื่อให้ทุกเกณฑ์เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และสำนักงานควรมีการซักซ้อมสร้างคามเข้าใจก่อนการประมูลจริง นอกจากนี้ ที่ประชุมเตรียมพิจารณาข้อมูลชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ตามที่นายศุภชัย ศรีหล้า ประธานคณะกรรมาธิการฯ มีหนังสือเชิญ ประธาน และกรรมการกสทช.เข้าร่วมประชุม เพื่อสอบถามข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดประมูล ทั้งในเรื่อง ข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ความแตกต่างข้อดีข้อเสียระหว่างการให้สัมปทานกับการจัดประมูล รวมถึงผลกระทบด้านต่างๆ ต่อผู้บริโภคและผู้ประกอบกิจการ
นอกจากนี้ ยังขอข้อมูลการขอสนับสนุนเงินงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ จาก กสทช.และหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ ตั้งแต่ปี 53 – 56 รายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่าย และแผนการเผยแพร่ความเข้าใจให้แก่ประชาชน การใช้อำนาจชะลอการเปิดประมูลทีวีดิจิทัลได้หรือไม่ ข้อมูลต่างประเทศที่มีการประมูลคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัล การจัดการคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และประเด็นแนวทางการควบคุมเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มีการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ในรายการที่ใช้ถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือไม่เหมาะสม และเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม ทั้งโทรทัศน์ภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียม
น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า การที่ กสทช.ถูกตรวจสอบเป็นเรื่องการประมูล หรือการตั้งคำถามเข้ามาทั้งจากกรรมาธิการ กลุ่มต่างๆ หรือแม้แต่สหภาพฯ เป็นเรื่องที่ดี เพราะการประมูลย่อมมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงเป็นหน้าที่ กสทช.ควรชี้แจง ตนเชื่อว่าข้อมูลที่จะเตรียมหารือเพื่อเข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการ จะออกมาด้วยดี สามารถสร้างความเข้าใจในการประมูลครั้งนี้ที่ยึดตามกรอบกฎหมาย ส่วนถ้ามีข้อบกพร่องอะไรจะช่วยกันปรับปรุง แต่หากจะไม่ให้เกิดการประมูลเลยคงเป็นไปไม่ได้เพราะจะกระทบต่อทิศทางการปฏิรูปโครงสร้าง และระบบโทรทัศน์ไทย ที่เราอยากจะใช้โอกาสการประมูลครั้งนี้ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกเป็นดิจิทัลเท่านั้น
ทั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนระบบสัมปทานกึ่งผูกขาดมาเป็นระบบใบอนุญาต ที่เปิดโอกาสตลาดให้มีการแข่งขันมากขึ้น สุดท้ายแล้วผู้บริโภคจะมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น เป็นหลักสำคัญที่ กสทช.ต้องดำเนินการตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งในวันที่ 20 พ.ย. เวลา 10.00 น. ตนจะเข้าร่วมชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว ณ ห้องประชุมหมายเลข 213 – 214 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 ด้วย
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=195438
ไม่มีความคิดเห็น: