Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤศจิกายน 2556 นายกยิ่งลักษณ์ ประกาศดันไทยเป็น Smartly DIGITAL ปี 2020 ในงาน Connect Asia-Pacific Summit 2013 (เชื่อมเน็ต ซอฟต์แวร์ ความร่วมมือระหว่างรัฐเอกชนและเศรษฐกิจ)


ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ การก้าวไปสู่ Smartly Digital มี 4 แนวทางในการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ 1. การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งควรจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับสาธารณูปโภคอื่น โดยขณะนี้ประเทศไทยทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยระบบ Wi-Fi เช่น โครงการ Free Wi-Fi ในพื้นที่ทั่วประเทศ และเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูง เป็นต้น 2. การส่งเสริมด้านซอฟต์แวร์ในด้านข้อมูลสารสนเทศ โดยรวมถึงกฎระเบียบ และการส่งเสริมขีดความสามารถของบุคคล และต้องให้ความสำคัญต่อประเทศที่มีการเชื่อมโยงน้อยที่สุด และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด
   
       3. การเพิ่มความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ขยายความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กับผู้มีส่วนได้เสียระหว่างภาคเอกชนต่างๆ ความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิตอลใหม่นั้นส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งทุกส่วนควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การเกษตร การผลิต ธุรกิจ SMEs ภาควิชาการ และประชาสังคมด้วย และ 4. การเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนา การเชื่อมเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นกุญแจไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนา ประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากการเติบโต

______________________________________



“ยิ่งลักษณ์” ดันไทยสู่ Smartly DIGITAL ปี 2020



       “นายกฯ ยิ่งลักษณ์” เดินหน้าผลักดันประเทศไทยมุ่งสู่ Smartly Digital ภายในปี 2563 ชู 4 แนวทางความสำเร็จ ด้าน รมว.ไอซีทีระบุการเป็นเจ้าภาพจัด Connect Asia-Pacific Summit 2013 ครั้งแรกในไทยได้ประโยชน์หลายด้าน
     
       น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (Connect Asia-Pacific Summit 2013) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีให้ผู้นำประเทศ ผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรี และผู้นำอุตสาหกรรมไอทีจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ และความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายของโลกดิจิตอล รวมถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ตลอดจนกำหนดทิศทางด้านการลงทุนในโครงข่ายพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไอซีที แอปพลิเคชันและบริการที่สร้างสรรค์
     
       โดยเป้าหมายหลักของประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิกคือการก้าวเปลี่ยนผ่านไปสู่วิสัยทัศน์ Asia Pacific 2020 : Smartly Digital หรือทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีในอนาคตของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2563 ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี และการสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ได้ตกลงร่วมกัน
     
       ทั้งนี้ การก้าวไปสู่ Smartly Digital มี 4 แนวทางในการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ 1. การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งควรจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับสาธารณูปโภคอื่น โดยขณะนี้ประเทศไทยทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยระบบ Wi-Fi เช่น โครงการ Free Wi-Fi ในพื้นที่ทั่วประเทศ และเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูง เป็นต้น 2. การส่งเสริมด้านซอฟต์แวร์ในด้านข้อมูลสารสนเทศ โดยรวมถึงกฎระเบียบ และการส่งเสริมขีดความสามารถของบุคคล และต้องให้ความสำคัญต่อประเทศที่มีการเชื่อมโยงน้อยที่สุด และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด
     
       3. การเพิ่มความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย ขยายความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กับผู้มีส่วนได้เสียระหว่างภาคเอกชนต่างๆ ความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิตอลใหม่นั้นส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งทุกส่วนควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การเกษตร การผลิต ธุรกิจ SMEs ภาควิชาการ และประชาสังคมด้วย และ 4. การเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนา การเชื่อมเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นกุญแจไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนา ประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากการเติบโต
     
       นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) พบว่าที่ผ่านมามีประชากรเข้าสู่โลกออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 250 ล้านคนจากประชากรทั่วโลก 7,000 ล้านคน และภายในสิ้นปีนี้ 40% ของประชากรโลกจะใช้งานอินเทอร์เน็ต The Broadband Commission for Digital Development อีกทั้งปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกว่า 9,000 ล้านเครื่อง และในปี 2025 จะมีเพิ่มถึง 1 ล้านล้านเครื่อง และคาดว่าการใช้งาน 4G จะเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากปี 2012-2017 และยังมีการประเมินว่าผู้หญิงเข้าสู่โลกออนโลน์เพิ่มขึ้นกว่า 600 ล้านคน ทำให้มูลค่า GDP ทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 13-18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
     
       น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขณะเดียวกันสิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือเรื่องช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยี สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสูงถึง 80% ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนานั้นมีการเข้าถึงเทคโนโลยีเพียง 28% เท่านั้น อีกทั้งสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่น้อยไปกว่ากัน คือเรื่องการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรม หรือแม้กระทั่งการก่อการร้าย ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก
     
       ด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ Connect Asia-Pacific Summit ในครั้งนี้เป็นการหารือถึงทิศทางการพัฒนาทางสังคม ทางเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกันในภูมิภาค เช่น ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ โครงข่าย 3G, 4G และเทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกันเพื่อพัฒนาในภูมิภาค โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประชุมหารือ
     
       พร้อมทั้งยังเกิดความร่วมมือทั้งด้านนโยบาย และวิสัยทัศน์เพื่อนำไปพัฒนาประเทศและต่อยอดธุรกิจไอซีทีในประเทศไทย รวมทั้งเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องภัยพิบัติ ที่ทำให้ระบบการสื่อสาร การแจ้งเตือนภัยทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพดีขึ้น ตลอดจนสามารถใช้ระบบเตือนภัยด้วยเทคโนโลยีร่วมกันในภูมิภาคอีกด้วย
     

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000143391

_____________________________



วงการไอซีทีโลกร่วมเปิดเวทีอภิปรายแนวทาง “เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล” ในงาน “ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013” พร้อมเปิดโอกาสคนในวงการไอทีร่วมพบปะและแลกเปลี่ยนความเห็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก

วันจันทร์ 18 พฤศจิกายน 2556 เวลา 14:35 น.
วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ดร.ฮามาดูน ทูเร เลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พร้อมด้วย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้แทนประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013 และ มร.วาลีด อัลซายแอด ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ออรีดู ในฐานะตัวแทนอุตสาหกรรมไอซีทีและประเทศกาตาร์ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดงานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ ในเดือนธ.ค.ปีหน้า

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวว่า งานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013 จัดขึ้นในกรอบแนวคิด “เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล” ซึ่งจะเน้นในกรอบ 5 หัวข้อหลักได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในวิธีการสื่อสารของผู้คน ความจำเป็นของโมเดลธุรกิจในยุคข้อมูลเป็นใหญ่ พลวัตความเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และระเบียบและกระบวนการวางมาตรฐาน

โดยในงานจะมีการอภิปรายซึ่งจะจัดขึ้นในหลายหัวข้อ พื้นที่นิทรรศการ (Showfloor) ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสด้านการลงทุนจากทั่วโลก รวมทั้งกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้พบปะและพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยในบริเวณนิทรรศการ จะมีโซน InnovationSpace ซึ่งผู้เข้ารอบสุดท้ายของการประกวด ITU Young Innovators’ Competition จะนำผลงานที่ได้รับรางวัลมาแสดง และพื้นที่ The Lab ซึ่งจำลองภาพการใช้ชีวิตแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ตลอดจนการพิมพ์แบบ 3D

ดร.ฮามาดูน ทูเร เลขาธิการสหภาพไอทียู กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้ ได้เลือกกรุงเทพฯ ให้เป็นที่จัดงาน เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือว่าเป็นประตูสู่ภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก จึงเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางของการที่คนในวงการไอซีทีทั่วโลกจะมาร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมไอซีที และในชีวิตของประชาชนทั่วไป

“งานนี้จะเปิดให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้มารวมพลังพูดคุยในเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีที ที่เป็นเช่นนั้นเพราะงาน ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ สามารถดึงคนจากอุตสาหกรรมและภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องจริง มาร่วมกันอภิปรายหัวข้อที่จะกำหนดทิศทางแห่งอนาคตของอุตสาหกรรมไอซีทีและโลกของเรา ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อประโยชน์สำหรับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม” ดร.ทูเร กล่าว

สำหรับงาน ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013 จะจัดขึ้นระหว่าง 19-22 พ.ย.56 โดยมีผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนทั่วโลกเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะรัฐมนตรี หน่วยงานกำกับดูแล ผู้นำองค์กรในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับไอซีที ไปจนถึงผู้นำทางความคิด ที่ปรึกษา นักวิชาการ และนักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล


http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=195691

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.