19 พฤศจิกายน 2556 Acer ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลก กระทบอย่างหนักจากกระแสความนิยมสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์พกพารูปแบบอื่น อดส่งพีซีทั่วโลกไตรมาส 3 ปี 2556 ลดจากยอดปีก่อนกว่า 8.6%
ประเด็นหลัก
"เจ ที แวง" กล่าวว่า "เอเซอร์ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนและหนักหนาสาหัสในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการเงินที่ย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายปี ทำให้ผมต้องส่งต่อหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทีมผู้นำหน้าใหม่เพื่อเปิดทางให้ เอเซอร์เข้าสู่ยุคใหม่"
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลกรายนี้ได้รับผล กระทบอย่างหนักจากกระแสความนิยมสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์พกพารูปแบบอื่น ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ตเนอร์ระบุว่า ยอดส่งพีซีทั่วโลกไตรมาส 3 ปี 2556 ลดจากยอดปีก่อนกว่า 8.6% เป็นการตอกย้ำเทรนด์ขาลงของตลาดด้วยตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องกว่า 6 ไตรมาสแล้ว
______________________________________
เอเซอร์-แบล็คเบอร์รี่ ปรับใหญ่ การเปลี่ยนแปลงที่หมายถึงอนาคต
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตลาด ไอทีเวลานี้อยู่ในช่วง "เปลี่ยนผ่าน"ทั้งในแง่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อันส่งผลต่อสถานะของแบรนด์ผู้นำตลาดแบบที่เรียกว่า "เก่าไปใหม่มา" ไม่ว่าจะในตลาดขาขึ้นอย่างสมาร์ทโฟน หรือขาลงคอมพิวเตอร์พีซี ส่งผลให้ "ผู้นำ" เป็น "อดีต" ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขนานใหญ่
"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า "เจที แวง" ประธานบริษัทคอมพิวเตอร์สัญชาติไต้หวัน "เอเซอร์" เตรียมสละเก้าอี้ใน มิถุนายนปีหน้า พร้อมบุคลากรอีกหลายร้อยชีวิต ตามนโยบายปรับโครงสร้างองค์กร โดยเอเซอร์ออกมาประกาศหลังพบว่าขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้จากสินค้าค้างสต๊อก และมูลค่าบริษัทที่เข้าไปถือหุ้นลดต่ำลง
การลาออกจากแม่ทัพธุรกิจของ "เจที แวง"ผู้ควบตำแหน่งประธานและซีอีโอ เป็นส่วนหนึ่งของปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ซึ่งจะลดจำนวนบุคลากร 7% ตั้งแต่ปีหน้า ช่วยประหยัดต้นทุนประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐและบริษัทมีแผนเปิดขายหุ้นครั้งใหม่กว่า 136 ล้านหุ้นด้วย
"เจ ที แวง" กล่าวว่า "เอเซอร์ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนและหนักหนาสาหัสในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการเงินที่ย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายปี ทำให้ผมต้องส่งต่อหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทีมผู้นำหน้าใหม่เพื่อเปิดทางให้ เอเซอร์เข้าสู่ยุคใหม่"
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลกรายนี้ได้รับผล กระทบอย่างหนักจากกระแสความนิยมสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์พกพารูปแบบอื่น ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ตเนอร์ระบุว่า ยอดส่งพีซีทั่วโลกไตรมาส 3 ปี 2556 ลดจากยอดปีก่อนกว่า 8.6% เป็นการตอกย้ำเทรนด์ขาลงของตลาดด้วยตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องกว่า 6 ไตรมาสแล้ว
"เอเซอร์" ให้ข้อมูลว่า ขาดทุนรวมกว่า 13,120 ล้านเหรียญไต้หวัน หรือ 442.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่สิ้นสุด ณ กันยายนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากการที่มูลค่าสินค้าค้างสต๊อก และหุ้นมูลค่ากว่า 9,940 ล้านเหรียญไต้หวัน ที่เอเซอร์ถือในบริษัทเกทเวย์ และแพคการ์ด เบลล์ เนื่องจากทั้งสองบริษัทได้รับผลกระทบจากตลาดพีซีโลกหดตัวเช่นกัน
"การ์ตเนอร์" ยังคาดว่า ยอดส่งสินค้าพีซีเอเซอร์ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 6.7 ล้านเครื่อง ลดจากยอดส่ง 8.6 ล้านเครื่อง ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในแง่ส่วนแบ่งตลาดโลกเอเซอร์อยู่ที่ 8.3% อันดับ 4 เป็นรองเลอโนโว, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และเดลล์
"จิม หว่อง" ประธานบริษัทเอเซอร์คนปัจจุบัน จะเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอในมกราคมปีหน้า ส่วนประธานบริษัทคนใหม่ยังอยู่ในขั้นตอนการสรรหา โดย "เจที แวง" ทำงานกับเอเซอร์มานานกว่า 25 ปี และรับตำแหน่งประธานและซีอีโอตั้งแต่ปี 2548 ไม่ใช่มีแต่ "เอเซอร์" ที่เข้าสู่สถานการณ์คับขัน
เจ้า ตลาดสมาร์ทโฟนที่กลายเป็นอดีตอย่าง "แบล็คเบอร์รี่" ก็ตกอยู่ในภาวะลำบากเช่นกัน โดยยกเลิกแผนการขายบริษัท หลังพยายามหาคนมาซื้อกิจการแต่ไม่สำเร็จ จึงต้องปรับโครงสร้างองค์กรอีกครั้ง ซึ่ง "เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" แคลงใจว่า ยิ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นหรือไม่บริษัทสมาร์ทโฟนสัญชาติแคนาดาออกมาประกาศ อย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ยกเลิกแผนการผันตัวเป็นบริษัทจำกัดจากการขายกิจการมูลค่ากว่า 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ และตัดสินใจทำธุรกิจต่อไปในฐานะบริษัทมหาชน ภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ และเงินทุนสนับสนุนมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากแฟร์แฟ็กซ์ ไฟแนนเชียล โฮลดิ้งส์ กลุ่มผู้ถือหุ้นหลัก
บรรดา ผู้บริหาร "แบล็คเบอร์รี่" กล่าวว่า ทุนก้อนใหม่เป็นปัจจัยหลักในการเสริมความแกร่งให้ "แบล็คเบอร์รี่" นอกจากนี้ยังเป็นการถอดป้าย "ขาย" ที่ห้อยคออยู่ ช่วยให้ภาพลักษณ์องค์กรดีขึ้น
อย่างไรก็ตามเหล่านักลงทุนและลูกค้าไม่ได้มองว่า การตัดสินใจครั้งใหม่ของแบล็คเบอร์รี่จะช่วยทำให้สถานะของบริษัทดีขึ้น โดยมูลค่าหุ้นตกลงอีก 16.4% จนเหลือที่ 6.49 เหรียญสหรัฐ/หุ้น ต่ำกว่ามูลค่าต่อหุ้น 9 เหรียญสหรัฐ ที่แฟร์แฟ็กซ์เสนอซื้อในเดือนกันยายน
ผู้บริหาร "แบล็คเบอร์รี่" ไม่ได้ออกมาชี้แจงว่าวางแนวทางให้อยู่รอดหลังใช้เงินทุนก้อนใหม่หมด แล้วอย่างไร หากดูจากอัตราการใช้เงินขององค์กรขณะนี้ เงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐน่าจะหมดไม่เกินปลายปีหน้า ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้แบล็คเบอร์รี่ลดบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และลงบัญชีลดมูลค่าโทรศัพท์มือถือค้างสต๊อก ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าจำเป็นต้องลดพนักงานมากกว่านี้
บริษัทยังประกาศว่า "ธอร์สเทน ไฮนส์" ซีอีโอปัจจุบันจะลาออกหลังเข้ามาทำหน้าที่ได้เกือบสองปี และเดินหน้าออกสายผลิตภัณฑ์ใหม่แทนการหาพาร์ตเนอร์และขายสินทรัพย์ในองค์กร โดย "จอห์น เชน" อดีตซีอีโอซอฟต์แวร์ "ไซเบส" มาแทน และควบตำแหน่งประธานบริหารไปด้วย
คำถามสำคัญที่เขาต้องเผชิญต่อจากนี้คือ จะยื้อให้ "แบล็คเบอร์รี่" เดินต่อไปในสภาพเดิมได้หรือไม่ หรือต้องนำบางส่วนมาแยกขาย "จอห์น เชน" กล่าวว่า ยังไม่มีแผนปิดส่วนธุรกิจมือถือ ทั้งเห็นว่าแบล็คเบอร์รี่ จะพลิกสถานการณ์ได้ต้องใช้เวลาอีก 6 ไตรมาสเป็นอย่างน้อย โดยอาจกลายเป็นผู้นำในส่วนงานบริการลูกค้าองค์กร เป็นการใบ้ว่าเขาน่าจะนำประสบการณ์จากธุรกิจซอฟต์แวร์มาใช้กับที่ทำงานใหม่ นี้
แหล่งข่าววงในรายงานว่า แผนธุรกิจใหม่นี้เกิดขึ้นหลังกระบวนการขายบริษัทนานกว่า 3 เดือนจบลงไม่สวยนัก โดยบริษัทด้านเทคโนโลยีที่มีกำลังซื้อเพียงพอก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับการซื้อแบล็คเบอร์รี่เท่าที่ควร ส่วนดีลการซื้อขายจากกลุ่มการเงินก็เป็นไปได้ยาก
ช่วงเริ่มต้นแฟร์แฟ็กซ์พยายามหาทุนจาก แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ และ บีเอ็มโอ แคปิตอล มาร์เก็ตส์ แต่ก็ไม่สามารถหาเงินทุนได้เพียงพอ
สาเหตุที่ "แฟร์แฟ็กซ์" ไม่สามารถหาเงินมาปิดดีลได้ทันการยังไม่แน่ชัด แต่แหล่งข่าววงในเผยว่า ธนาคารหลายแห่งลังเลที่จะปล่อยเงินกู้ เพราะกังวลกับสถานะของแบล็คเบอร์รี่ที่ย่ำแย่ต่อเนื่อง
บรรดา ที่ปรึกษา "แบล็คเบอร์รี่" เคยหาทางเกลี้ยกล่อมให้ยักษ์ไอที กูเกิล, ไมโครซอฟท์, อเมซอนดอทคอม และอีริคสัน ทำสัญญาซื้อแบล็คเบอร์รี่ รวมถึงสิทธิบัตรของบริษัท แต่สุดท้ายผู้เล่นเหล่านี้ก็เบือนหน้าหนีด้วยเหตุผลบางประการ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384849501
"เจ ที แวง" กล่าวว่า "เอเซอร์ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนและหนักหนาสาหัสในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการเงินที่ย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายปี ทำให้ผมต้องส่งต่อหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทีมผู้นำหน้าใหม่เพื่อเปิดทางให้ เอเซอร์เข้าสู่ยุคใหม่"
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลกรายนี้ได้รับผล กระทบอย่างหนักจากกระแสความนิยมสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์พกพารูปแบบอื่น ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ตเนอร์ระบุว่า ยอดส่งพีซีทั่วโลกไตรมาส 3 ปี 2556 ลดจากยอดปีก่อนกว่า 8.6% เป็นการตอกย้ำเทรนด์ขาลงของตลาดด้วยตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องกว่า 6 ไตรมาสแล้ว
______________________________________
เอเซอร์-แบล็คเบอร์รี่ ปรับใหญ่ การเปลี่ยนแปลงที่หมายถึงอนาคต
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตลาด ไอทีเวลานี้อยู่ในช่วง "เปลี่ยนผ่าน"ทั้งในแง่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อันส่งผลต่อสถานะของแบรนด์ผู้นำตลาดแบบที่เรียกว่า "เก่าไปใหม่มา" ไม่ว่าจะในตลาดขาขึ้นอย่างสมาร์ทโฟน หรือขาลงคอมพิวเตอร์พีซี ส่งผลให้ "ผู้นำ" เป็น "อดีต" ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดขนานใหญ่
"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า "เจที แวง" ประธานบริษัทคอมพิวเตอร์สัญชาติไต้หวัน "เอเซอร์" เตรียมสละเก้าอี้ใน มิถุนายนปีหน้า พร้อมบุคลากรอีกหลายร้อยชีวิต ตามนโยบายปรับโครงสร้างองค์กร โดยเอเซอร์ออกมาประกาศหลังพบว่าขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้จากสินค้าค้างสต๊อก และมูลค่าบริษัทที่เข้าไปถือหุ้นลดต่ำลง
การลาออกจากแม่ทัพธุรกิจของ "เจที แวง"ผู้ควบตำแหน่งประธานและซีอีโอ เป็นส่วนหนึ่งของปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ซึ่งจะลดจำนวนบุคลากร 7% ตั้งแต่ปีหน้า ช่วยประหยัดต้นทุนประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐและบริษัทมีแผนเปิดขายหุ้นครั้งใหม่กว่า 136 ล้านหุ้นด้วย
"เจ ที แวง" กล่าวว่า "เอเซอร์ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนและหนักหนาสาหัสในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการเงินที่ย่ำแย่ติดต่อกันมาหลายปี ทำให้ผมต้องส่งต่อหน้าที่ความรับผิดชอบให้ทีมผู้นำหน้าใหม่เพื่อเปิดทางให้ เอเซอร์เข้าสู่ยุคใหม่"
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลกรายนี้ได้รับผล กระทบอย่างหนักจากกระแสความนิยมสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ประมวลผลคอมพิวเตอร์พกพารูปแบบอื่น ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการ์ตเนอร์ระบุว่า ยอดส่งพีซีทั่วโลกไตรมาส 3 ปี 2556 ลดจากยอดปีก่อนกว่า 8.6% เป็นการตอกย้ำเทรนด์ขาลงของตลาดด้วยตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องกว่า 6 ไตรมาสแล้ว
"เอเซอร์" ให้ข้อมูลว่า ขาดทุนรวมกว่า 13,120 ล้านเหรียญไต้หวัน หรือ 442.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่สิ้นสุด ณ กันยายนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากการที่มูลค่าสินค้าค้างสต๊อก และหุ้นมูลค่ากว่า 9,940 ล้านเหรียญไต้หวัน ที่เอเซอร์ถือในบริษัทเกทเวย์ และแพคการ์ด เบลล์ เนื่องจากทั้งสองบริษัทได้รับผลกระทบจากตลาดพีซีโลกหดตัวเช่นกัน
"การ์ตเนอร์" ยังคาดว่า ยอดส่งสินค้าพีซีเอเซอร์ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 6.7 ล้านเครื่อง ลดจากยอดส่ง 8.6 ล้านเครื่อง ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในแง่ส่วนแบ่งตลาดโลกเอเซอร์อยู่ที่ 8.3% อันดับ 4 เป็นรองเลอโนโว, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และเดลล์
"จิม หว่อง" ประธานบริษัทเอเซอร์คนปัจจุบัน จะเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอในมกราคมปีหน้า ส่วนประธานบริษัทคนใหม่ยังอยู่ในขั้นตอนการสรรหา โดย "เจที แวง" ทำงานกับเอเซอร์มานานกว่า 25 ปี และรับตำแหน่งประธานและซีอีโอตั้งแต่ปี 2548 ไม่ใช่มีแต่ "เอเซอร์" ที่เข้าสู่สถานการณ์คับขัน
เจ้า ตลาดสมาร์ทโฟนที่กลายเป็นอดีตอย่าง "แบล็คเบอร์รี่" ก็ตกอยู่ในภาวะลำบากเช่นกัน โดยยกเลิกแผนการขายบริษัท หลังพยายามหาคนมาซื้อกิจการแต่ไม่สำเร็จ จึงต้องปรับโครงสร้างองค์กรอีกครั้ง ซึ่ง "เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" แคลงใจว่า ยิ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นหรือไม่บริษัทสมาร์ทโฟนสัญชาติแคนาดาออกมาประกาศ อย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ยกเลิกแผนการผันตัวเป็นบริษัทจำกัดจากการขายกิจการมูลค่ากว่า 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ และตัดสินใจทำธุรกิจต่อไปในฐานะบริษัทมหาชน ภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ และเงินทุนสนับสนุนมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากแฟร์แฟ็กซ์ ไฟแนนเชียล โฮลดิ้งส์ กลุ่มผู้ถือหุ้นหลัก
บรรดา ผู้บริหาร "แบล็คเบอร์รี่" กล่าวว่า ทุนก้อนใหม่เป็นปัจจัยหลักในการเสริมความแกร่งให้ "แบล็คเบอร์รี่" นอกจากนี้ยังเป็นการถอดป้าย "ขาย" ที่ห้อยคออยู่ ช่วยให้ภาพลักษณ์องค์กรดีขึ้น
อย่างไรก็ตามเหล่านักลงทุนและลูกค้าไม่ได้มองว่า การตัดสินใจครั้งใหม่ของแบล็คเบอร์รี่จะช่วยทำให้สถานะของบริษัทดีขึ้น โดยมูลค่าหุ้นตกลงอีก 16.4% จนเหลือที่ 6.49 เหรียญสหรัฐ/หุ้น ต่ำกว่ามูลค่าต่อหุ้น 9 เหรียญสหรัฐ ที่แฟร์แฟ็กซ์เสนอซื้อในเดือนกันยายน
ผู้บริหาร "แบล็คเบอร์รี่" ไม่ได้ออกมาชี้แจงว่าวางแนวทางให้อยู่รอดหลังใช้เงินทุนก้อนใหม่หมด แล้วอย่างไร หากดูจากอัตราการใช้เงินขององค์กรขณะนี้ เงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐน่าจะหมดไม่เกินปลายปีหน้า ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้แบล็คเบอร์รี่ลดบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และลงบัญชีลดมูลค่าโทรศัพท์มือถือค้างสต๊อก ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าจำเป็นต้องลดพนักงานมากกว่านี้
บริษัทยังประกาศว่า "ธอร์สเทน ไฮนส์" ซีอีโอปัจจุบันจะลาออกหลังเข้ามาทำหน้าที่ได้เกือบสองปี และเดินหน้าออกสายผลิตภัณฑ์ใหม่แทนการหาพาร์ตเนอร์และขายสินทรัพย์ในองค์กร โดย "จอห์น เชน" อดีตซีอีโอซอฟต์แวร์ "ไซเบส" มาแทน และควบตำแหน่งประธานบริหารไปด้วย
คำถามสำคัญที่เขาต้องเผชิญต่อจากนี้คือ จะยื้อให้ "แบล็คเบอร์รี่" เดินต่อไปในสภาพเดิมได้หรือไม่ หรือต้องนำบางส่วนมาแยกขาย "จอห์น เชน" กล่าวว่า ยังไม่มีแผนปิดส่วนธุรกิจมือถือ ทั้งเห็นว่าแบล็คเบอร์รี่ จะพลิกสถานการณ์ได้ต้องใช้เวลาอีก 6 ไตรมาสเป็นอย่างน้อย โดยอาจกลายเป็นผู้นำในส่วนงานบริการลูกค้าองค์กร เป็นการใบ้ว่าเขาน่าจะนำประสบการณ์จากธุรกิจซอฟต์แวร์มาใช้กับที่ทำงานใหม่ นี้
แหล่งข่าววงในรายงานว่า แผนธุรกิจใหม่นี้เกิดขึ้นหลังกระบวนการขายบริษัทนานกว่า 3 เดือนจบลงไม่สวยนัก โดยบริษัทด้านเทคโนโลยีที่มีกำลังซื้อเพียงพอก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับการซื้อแบล็คเบอร์รี่เท่าที่ควร ส่วนดีลการซื้อขายจากกลุ่มการเงินก็เป็นไปได้ยาก
ช่วงเริ่มต้นแฟร์แฟ็กซ์พยายามหาทุนจาก แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ และ บีเอ็มโอ แคปิตอล มาร์เก็ตส์ แต่ก็ไม่สามารถหาเงินทุนได้เพียงพอ
สาเหตุที่ "แฟร์แฟ็กซ์" ไม่สามารถหาเงินมาปิดดีลได้ทันการยังไม่แน่ชัด แต่แหล่งข่าววงในเผยว่า ธนาคารหลายแห่งลังเลที่จะปล่อยเงินกู้ เพราะกังวลกับสถานะของแบล็คเบอร์รี่ที่ย่ำแย่ต่อเนื่อง
บรรดา ที่ปรึกษา "แบล็คเบอร์รี่" เคยหาทางเกลี้ยกล่อมให้ยักษ์ไอที กูเกิล, ไมโครซอฟท์, อเมซอนดอทคอม และอีริคสัน ทำสัญญาซื้อแบล็คเบอร์รี่ รวมถึงสิทธิบัตรของบริษัท แต่สุดท้ายผู้เล่นเหล่านี้ก็เบือนหน้าหนีด้วยเหตุผลบางประการ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1384849501
ไม่มีความคิดเห็น: