19 พฤศจิกายน 2556 นางสาวสายทิพย์ แสงสิงแก้ว ระบุ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัตร" เริ่มเกิดขึ้นใช้คลื่นความถี่ที่ว่างอยู่และสามารถนำที่ว่างนั้นมาให้ได้ใช้อย่างฟรีๆ และยังมีความเร็วทัดเทียม Super WI-FI
ประเด็นหลัก
นวัตกรรม "Dynamic Spectrum Allocation" หรือ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัต" เป็นการทำงานโดยไม่ได้ใช้คนหรือองค์กรจัดสรร แต่เป็นการใช้คอมพิวเตอร์วิ่งหาคลื่นเอง โดยไม่จำกัดรูปแบบการใช้งานของคลื่นนั้นๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นโทรคมนาคม เทคโนโลยีตัวนี้สามารถวิ่งไปยังคลื่นความถี่ที่ว่างอยู่และสามารถนำที่ว่างนั้นมาให้ได้ใช้อย่างฟรีๆ และยังมีความเร็วทัดเทียม Super WI-FI
______________________________________
การจัดสรรคลื่นความถี่ระบบแบ่งปัน นวัตกรรมใหม่ราคาถูกและเร็วระดับ Super Wi-Fi
สายทิพย์ แสงสิงแก้วสายทิพย์ แสงสิงแก้ว นางสาวสายทิพย์ แสงสิงแก้ว หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Digital Agenda Thailand เตรียมจัดงานสัมมนาหัวข้อ The Dawn of Spectrum Abundance เพื่อให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับ คลื่นความถี่ White Space Spectrum และเทคโนโลยี Dynamic Spectrum Allocation ซึ่งจะเปลี่ยนโลกของคลื่นความถี่สู่ศตวรรษใหม่
นางสาวสายทิพย์ แสงสิงแก้ว กล่าวว่า "Dynamic Spectrum Allocation" หรือ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัตร" เป็นเทคโนโลยี ที่ทดลองใช้กันในหลายประเทศทั่วโลกทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย มาระยะหนึ่งแล้วเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีล่าสุดที่ เกิดขึ้นจากกลุ่มที่เป็นการรวมตัวกันของภาครัฐและเอกชนยักษ์ใหญ่จากนานาประเทศซึ่งเรียกตัวเองว่า "Dynamic Spectrum Alliance (DSA)" อาทิ USAID ของประเทศสหรัฐอเมริกา FCC มหาวิทยาลัย Cambridge ในลอนดอน รัฐบาลสิงคโปร์ บริษัทMicrosoft บริษัท Google จากสหรัฐอเมริกา และอีกหลายองค์กรและบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มี วิสัยทัศน์เป็นผู้นำTrend ทางด้านเทคโนโลยียุคใหม่ของโลกเสมอ 4303
“กลุ่มผู้นำ เหล่านี้ ร่วมกันคิดค้นและทดลองเทคโนโลยีตัวนี้ขึ้นมาเพื่อมุ่งหวังจะให้คลื่นความถี่ในยุคนี้และยุคหน้านั้นเป็นคลื่นที่เกิดจากการแบ่งปันกัน เป็นการสร้างโลกใหม่ สร้างมูลค่าให้แก่สิ่งต่างๆ มากขึ้น ลดต้นทุน และที่สำคัญประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเหมือนอย่างในทุกวันนี้ ไม่ต้องประมูลเพื่อเป็นเจ้าของคลื่นถึงจะใช้คลื่นความถี่นี้ได้ตามที่ใจอยาก และเป็นการนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกเซ็กเตอร์เลยก็ว่าได้”
นางสาวสายทิพย์ กล่าวต่อว่า Dynamic Spectrum Allocation คือเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความชาญฉลาดในการวิ่งหาคลื่นความถี่ได้เอง เหมือนกับการ วิ่งหาเนื้อที่ว่างบนถนนเพื่อให้รถของเราขับต่อไปได้อย่างคล่องและเร็วขึ้นโดยไม่ต้องติดหรือรอคิว โดยไม่ต้องคำนึงว่าคลื่นความถี่นั้นจะอยู่ในความถี่ประเภทไหน
ทั้งนี้ ผู้จัดงาน Global Summit on Dynamic Spectrum Access ว่าด้วยเรื่อง "The Dawn of Spectrum Abundance" คนหนึ่งได้อธิบายเพิ่มเติมถึงเทคโนโลยีดังกล่าวว่า “เป็นการบีบคั้นคลื่นความถี่ออกมาใช้อย่างหมดเปลือกเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ต่างเต็มขีดความสามารถที่คลื่นความถี่พึงมีให้ โดยในปัจจุบันระบบการจัดสรรคลื่นความถี่นั้นใช้องค์กรหรือ มนุษย์ได้แก่ หน่วยงานกำกับดูแล อาทิ การประมูลคลื่น 3G ในประเทศไทย และในอนาคตอันใกล้จะมีการประมูล 4G LTE รวมทั้งทีวีดิจิตอลนั้น เป็นการประมูลเพื่อเป็นเจ้าของคลื่นหรือเจ้าของสถานีทีวีดิจิตอลแบบเอ็กซ์คลูซีฟ หมายถึงใครประมูลคลื่นไหนได้ก็จะมีแต่ผู้นั้นใช้ได้แค่คนเดียวตลอดระยะเวลาตามสัญญาถึงแม้ใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรมาใช้ไม่หมดคนอื่นก็ไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ เหมือนกับการขับรถอยู่บนถนนที่ถูกจองให้เป็นเลนของตัวเองคนเดียว ต่อให้ใช้ทั้งเลนไม่หมดคนอื่นก็มาวิ่งอยู่บนเลนของตัวเองไม่ได้ ซึ่งทำให้เลนถนนหรือคลื่นความถี่ที่มีอยู่นั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ยิ่งกว่านั้นยังมีการจำแนกประเภทคลื่นความถี่ด้วยว่าคลื่นความถี่ชนิดนี้ใช้กับวิทยุ คลื่นความถี่ชนิดนี้ใช้กับโทรคมนาคม คลื่นความถี่ชนิดนี้ใช้เฉพาะกับทีวีเท่านั้น ทำให้สิ้นเปลืองหรือเสียคลื่นความถี่ แต่ในอนาคตอันใกล้จะไม่เป็นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว จากการมีเทคโนโลยีตัวใหม่ที่เรียกว่าการจัดสรรคลื่นความถี่พลวัตรนี้
4301 นวัตกรรม "Dynamic Spectrum Allocation" หรือ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัต" เป็นการทำงานโดยไม่ได้ใช้คนหรือองค์กรจัดสรร แต่เป็นการใช้คอมพิวเตอร์วิ่งหาคลื่นเอง โดยไม่จำกัดรูปแบบการใช้งานของคลื่นนั้นๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นโทรคมนาคม เทคโนโลยีตัวนี้สามารถวิ่งไปยังคลื่นความถี่ที่ว่างอยู่และสามารถนำที่ว่างนั้นมาให้ได้ใช้อย่างฟรีๆ และยังมีความเร็วทัดเทียม Super WI-FI
ทั้งนี้ในหลายๆ ประเทศในทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชียได้ร่วมกันทดลองคลื่นความถี่หรือเทคโนโลยีนี้แล้วโดยใช้คลื่นของเหลือหรือที่ยังว่างอยู่จากทีวีที่เรียกว่า TV White Space Spectrum โดยใช้คลื่นแบบ UHF เพราะครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกลและไม่ต้องตั้งเสามาก โดยนำมาใช้ในเรื่องของการศึกษา การแพทย์ การเตือนภัย และความมั่นคงของชาติ
ตัวอย่างการใช้งานในประเทศแอฟริกาใต้นั้น เนื่องจากแต่ละเมืองอยู่ไกลกันและการเดินทางไปมาแต่ละเมืองมีอันตราย ดังนั้นรัฐบาลแอฟริกาใต้จึงตั้งเสายิงคลื่นที่เมือง Cape Town ทำให้การสื่อสารสามารถครอบคลุมไปหลายเมืองรวมถึง Tanzania เลยทีเดียว โดยคลื่น UHF ตัวนี้ก็เหมือนกับที่ฟรีทีวีสถานีหนึ่งที่ครอบคลุมกว้างทำให้เครื่องรับโทรทัศน์รับภาพได้ในกลายท้องที่
นางสาวสายทิพย์ กล่าวว่า งานสัมมนาเรื่อง The Dawn of Spectrum Abundance ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ IMPACT เมืองทองธานีครั้งนี้ จะมีตัวแทนจากหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ร่วมคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น USAID บริษัท Google บริษัท Microsoft ผู้กำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคมจากประเทศสเปนและประเทศเคนยา มาประชุมกันที่ห้องฟินิกส์ ศูนย์ประชุมนานาชาติอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันเดียวกัน
นางสาวสายทิพย์กล่าวทิ้งท้ายว่า “ที่น่าตื่นเต้นก็คือจะมีการสาธิตการใช้คลื่นตัวนี้แบบสดๆ จาก 3 ประเทศ (ทวีป) ทั่วโลกให้ผู้ร่วมงานได้เห็นกันจะจะ โดยผู้ที่ควรมางานนี้เป็นอย่างยิ่งคือบริษัทที่เป็น Operator ทางด้านโทรคมนาคมทั้งหลาย บริษัทที่ประกอบธุรกิจ Network เรื่อง Cloud Computing ผู้ที่กำลังเตรียมตัวประมูลทีวีดิจิตอลทั้งหลาย เจ้าของ Content และเจ้าของช่องทีวีดาวเทียวและเคเบิลทีวี มาฟังแล้วมาดูแล้วอาจจะมีแนวความคิดใหม่ในเรื่องการคิดราคาประมูลหรือไม่ก็เปลี่ยนใจไม่ประมูลคลื่นความถี่เลยก็ได้ เพราะกลัวจะเป็นในสิ่งที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Winner’s Curse งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่มีจำนวนที่นั่งจำกัดโดยสามารถลงทะเบียนที่http://www.amiando.com/DSA-Conference.html หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ info.acethailand@gmail.com
■ คอลัมน์ : AEC รายงาน / ■ THAN AEC
■ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ AEC world ปีที่33 (1) ฉบับที่ 2,897 (38) วันที่ 17 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=207453:
--super-wi-fi&catid=231:aec-news&Itemid=621
นวัตกรรม "Dynamic Spectrum Allocation" หรือ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัต" เป็นการทำงานโดยไม่ได้ใช้คนหรือองค์กรจัดสรร แต่เป็นการใช้คอมพิวเตอร์วิ่งหาคลื่นเอง โดยไม่จำกัดรูปแบบการใช้งานของคลื่นนั้นๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นโทรคมนาคม เทคโนโลยีตัวนี้สามารถวิ่งไปยังคลื่นความถี่ที่ว่างอยู่และสามารถนำที่ว่างนั้นมาให้ได้ใช้อย่างฟรีๆ และยังมีความเร็วทัดเทียม Super WI-FI
______________________________________
การจัดสรรคลื่นความถี่ระบบแบ่งปัน นวัตกรรมใหม่ราคาถูกและเร็วระดับ Super Wi-Fi
สายทิพย์ แสงสิงแก้วสายทิพย์ แสงสิงแก้ว นางสาวสายทิพย์ แสงสิงแก้ว หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Digital Agenda Thailand เตรียมจัดงานสัมมนาหัวข้อ The Dawn of Spectrum Abundance เพื่อให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับ คลื่นความถี่ White Space Spectrum และเทคโนโลยี Dynamic Spectrum Allocation ซึ่งจะเปลี่ยนโลกของคลื่นความถี่สู่ศตวรรษใหม่
นางสาวสายทิพย์ แสงสิงแก้ว กล่าวว่า "Dynamic Spectrum Allocation" หรือ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัตร" เป็นเทคโนโลยี ที่ทดลองใช้กันในหลายประเทศทั่วโลกทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย มาระยะหนึ่งแล้วเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีล่าสุดที่ เกิดขึ้นจากกลุ่มที่เป็นการรวมตัวกันของภาครัฐและเอกชนยักษ์ใหญ่จากนานาประเทศซึ่งเรียกตัวเองว่า "Dynamic Spectrum Alliance (DSA)" อาทิ USAID ของประเทศสหรัฐอเมริกา FCC มหาวิทยาลัย Cambridge ในลอนดอน รัฐบาลสิงคโปร์ บริษัทMicrosoft บริษัท Google จากสหรัฐอเมริกา และอีกหลายองค์กรและบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มี วิสัยทัศน์เป็นผู้นำTrend ทางด้านเทคโนโลยียุคใหม่ของโลกเสมอ 4303
“กลุ่มผู้นำ เหล่านี้ ร่วมกันคิดค้นและทดลองเทคโนโลยีตัวนี้ขึ้นมาเพื่อมุ่งหวังจะให้คลื่นความถี่ในยุคนี้และยุคหน้านั้นเป็นคลื่นที่เกิดจากการแบ่งปันกัน เป็นการสร้างโลกใหม่ สร้างมูลค่าให้แก่สิ่งต่างๆ มากขึ้น ลดต้นทุน และที่สำคัญประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเหมือนอย่างในทุกวันนี้ ไม่ต้องประมูลเพื่อเป็นเจ้าของคลื่นถึงจะใช้คลื่นความถี่นี้ได้ตามที่ใจอยาก และเป็นการนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกเซ็กเตอร์เลยก็ว่าได้”
นางสาวสายทิพย์ กล่าวต่อว่า Dynamic Spectrum Allocation คือเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความชาญฉลาดในการวิ่งหาคลื่นความถี่ได้เอง เหมือนกับการ วิ่งหาเนื้อที่ว่างบนถนนเพื่อให้รถของเราขับต่อไปได้อย่างคล่องและเร็วขึ้นโดยไม่ต้องติดหรือรอคิว โดยไม่ต้องคำนึงว่าคลื่นความถี่นั้นจะอยู่ในความถี่ประเภทไหน
ทั้งนี้ ผู้จัดงาน Global Summit on Dynamic Spectrum Access ว่าด้วยเรื่อง "The Dawn of Spectrum Abundance" คนหนึ่งได้อธิบายเพิ่มเติมถึงเทคโนโลยีดังกล่าวว่า “เป็นการบีบคั้นคลื่นความถี่ออกมาใช้อย่างหมดเปลือกเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ต่างเต็มขีดความสามารถที่คลื่นความถี่พึงมีให้ โดยในปัจจุบันระบบการจัดสรรคลื่นความถี่นั้นใช้องค์กรหรือ มนุษย์ได้แก่ หน่วยงานกำกับดูแล อาทิ การประมูลคลื่น 3G ในประเทศไทย และในอนาคตอันใกล้จะมีการประมูล 4G LTE รวมทั้งทีวีดิจิตอลนั้น เป็นการประมูลเพื่อเป็นเจ้าของคลื่นหรือเจ้าของสถานีทีวีดิจิตอลแบบเอ็กซ์คลูซีฟ หมายถึงใครประมูลคลื่นไหนได้ก็จะมีแต่ผู้นั้นใช้ได้แค่คนเดียวตลอดระยะเวลาตามสัญญาถึงแม้ใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรมาใช้ไม่หมดคนอื่นก็ไม่มีสิทธิ์ได้ใช้ เหมือนกับการขับรถอยู่บนถนนที่ถูกจองให้เป็นเลนของตัวเองคนเดียว ต่อให้ใช้ทั้งเลนไม่หมดคนอื่นก็มาวิ่งอยู่บนเลนของตัวเองไม่ได้ ซึ่งทำให้เลนถนนหรือคลื่นความถี่ที่มีอยู่นั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ยิ่งกว่านั้นยังมีการจำแนกประเภทคลื่นความถี่ด้วยว่าคลื่นความถี่ชนิดนี้ใช้กับวิทยุ คลื่นความถี่ชนิดนี้ใช้กับโทรคมนาคม คลื่นความถี่ชนิดนี้ใช้เฉพาะกับทีวีเท่านั้น ทำให้สิ้นเปลืองหรือเสียคลื่นความถี่ แต่ในอนาคตอันใกล้จะไม่เป็นแบบนั้นอีกต่อไปแล้ว จากการมีเทคโนโลยีตัวใหม่ที่เรียกว่าการจัดสรรคลื่นความถี่พลวัตรนี้
4301 นวัตกรรม "Dynamic Spectrum Allocation" หรือ "การจัดสรรคลื่นความถี่...พลวัต" เป็นการทำงานโดยไม่ได้ใช้คนหรือองค์กรจัดสรร แต่เป็นการใช้คอมพิวเตอร์วิ่งหาคลื่นเอง โดยไม่จำกัดรูปแบบการใช้งานของคลื่นนั้นๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นโทรคมนาคม เทคโนโลยีตัวนี้สามารถวิ่งไปยังคลื่นความถี่ที่ว่างอยู่และสามารถนำที่ว่างนั้นมาให้ได้ใช้อย่างฟรีๆ และยังมีความเร็วทัดเทียม Super WI-FI
ทั้งนี้ในหลายๆ ประเทศในทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชียได้ร่วมกันทดลองคลื่นความถี่หรือเทคโนโลยีนี้แล้วโดยใช้คลื่นของเหลือหรือที่ยังว่างอยู่จากทีวีที่เรียกว่า TV White Space Spectrum โดยใช้คลื่นแบบ UHF เพราะครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกลและไม่ต้องตั้งเสามาก โดยนำมาใช้ในเรื่องของการศึกษา การแพทย์ การเตือนภัย และความมั่นคงของชาติ
ตัวอย่างการใช้งานในประเทศแอฟริกาใต้นั้น เนื่องจากแต่ละเมืองอยู่ไกลกันและการเดินทางไปมาแต่ละเมืองมีอันตราย ดังนั้นรัฐบาลแอฟริกาใต้จึงตั้งเสายิงคลื่นที่เมือง Cape Town ทำให้การสื่อสารสามารถครอบคลุมไปหลายเมืองรวมถึง Tanzania เลยทีเดียว โดยคลื่น UHF ตัวนี้ก็เหมือนกับที่ฟรีทีวีสถานีหนึ่งที่ครอบคลุมกว้างทำให้เครื่องรับโทรทัศน์รับภาพได้ในกลายท้องที่
นางสาวสายทิพย์ กล่าวว่า งานสัมมนาเรื่อง The Dawn of Spectrum Abundance ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ IMPACT เมืองทองธานีครั้งนี้ จะมีตัวแทนจากหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ร่วมคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น USAID บริษัท Google บริษัท Microsoft ผู้กำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคมจากประเทศสเปนและประเทศเคนยา มาประชุมกันที่ห้องฟินิกส์ ศูนย์ประชุมนานาชาติอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันเดียวกัน
นางสาวสายทิพย์กล่าวทิ้งท้ายว่า “ที่น่าตื่นเต้นก็คือจะมีการสาธิตการใช้คลื่นตัวนี้แบบสดๆ จาก 3 ประเทศ (ทวีป) ทั่วโลกให้ผู้ร่วมงานได้เห็นกันจะจะ โดยผู้ที่ควรมางานนี้เป็นอย่างยิ่งคือบริษัทที่เป็น Operator ทางด้านโทรคมนาคมทั้งหลาย บริษัทที่ประกอบธุรกิจ Network เรื่อง Cloud Computing ผู้ที่กำลังเตรียมตัวประมูลทีวีดิจิตอลทั้งหลาย เจ้าของ Content และเจ้าของช่องทีวีดาวเทียวและเคเบิลทีวี มาฟังแล้วมาดูแล้วอาจจะมีแนวความคิดใหม่ในเรื่องการคิดราคาประมูลหรือไม่ก็เปลี่ยนใจไม่ประมูลคลื่นความถี่เลยก็ได้ เพราะกลัวจะเป็นในสิ่งที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Winner’s Curse งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่มีจำนวนที่นั่งจำกัดโดยสามารถลงทะเบียนที่http://www.amiando.com/DSA-Conference.html หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ info.acethailand@gmail.com
■ คอลัมน์ : AEC รายงาน / ■ THAN AEC
■ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ AEC world ปีที่33 (1) ฉบับที่ 2,897 (38) วันที่ 17 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=207453:
--super-wi-fi&catid=231:aec-news&Itemid=621
ไม่มีความคิดเห็น: