20 พฤศจิกายน 2556 กสทช. จัดบูธ ITU Telecom World 2013 ทั้ง USO ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการTVมือถือ // ประมูล4G // Digital TV // กฏในการดูแล
ประเด็นหลัก
ในขณะเดียวกันในงาน ไอทียู เทเลคอม เวิล์ด กสทช.ได้จัดบูธนำเสนอเทคโนโลยี โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 1.กิจกรรมทางด้านบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO)ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงทั้งการใช้งานระบบเสียง และอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม 2. การอธิบายกฎเกณฑ์ หลักการ กำกับดูแลของกสทช. 3.เรื่องการประมูลคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิร์ตเพื่อให้บริการ เทคโนโลยีแอลทีอี หรือ4 จี และ4.การเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยทั้งหมดนี้ประชาชน ผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติจะได้รับข้อมูลจากกสทช.ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและวิทยุ-โทรทัศน์ อีกด้วย
______________________________________
?กสทช.ลงเอ็มโอยูโปแลนด์-ตุรกีแชร์ข้อมูลรองรับประมูลทีวีดิจิทัลและ4จี?
กสทช.คว้าโอกาสงาน "ไอทียู เทเลคอม เวิล์ด" จรดปากกาลงเอ็มโอยู 2 ประเทศ ช่วยเหลือด้านข้อมูล และบุคคลากร รองรับประมูลทีวีดิจิทัลและ4จี
วันนี้ (20พ.ย.) ที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ(เอ็มโอยู)กับองค์กรกำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคมและด้านกระจายเสียง 2 ประเทศ คือ ประเทศโปแลนด์ และประเทศตรุกี โดยการลงเอ็มโอยูดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือด้านข้อมูล และด้านบุคคลากรที่จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะมีการประมูลทีวีดิจิทัล รวมถึงการศึกษาเตรียมความพร้อมในการนำคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ ที่หมดสัญญาสัมปทานกลับมาประมูล4 จี ดังนั้นทั้ง 2 ประเทศจะมาช่วยอธิบาย นำเสนอปัญหาที่พบแต่ละประเทศมาเป็นกรณีศึกษาให้กับประเทศไทย
"เป็นเรื่องน่ายินดีที่จะมีการร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานระหว่างประเทศ โดยการใช้โอกาสในงาน ไอทียู เทเลคอม เวิล์ด( ITU Telecom World ) ครั้งนี้ เป็นการพบปะผู้นำของแต่ละประเทศ และยังมีประเทศที่สนใจร่วมลงเอ็มโอยู อาทิ แคนาดา ปาเลสไตน์ อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น "นายฐากรกล่าว
ในขณะเดียวกันในงาน ไอทียู เทเลคอม เวิล์ด กสทช.ได้จัดบูธนำเสนอเทคโนโลยี โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 1.กิจกรรมทางด้านบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO)ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงทั้งการใช้งานระบบเสียง และอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม 2. การอธิบายกฎเกณฑ์ หลักการ กำกับดูแลของกสทช. 3.เรื่องการประมูลคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิร์ตเพื่อให้บริการ เทคโนโลยีแอลทีอี หรือ4 จี และ4.การเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยทั้งหมดนี้ประชาชน ผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติจะได้รับข้อมูลจากกสทช.ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและวิทยุ-โทรทัศน์ อีกด้วย
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=196260
ไม่มีความคิดเห็น: