20 พฤศจิกายน 2556 TRUE ชี้ชอปผ่านมือถือเพิ่ม 35% สถิติของเว็บไซต์วีเลิฟชอปปิง ในเครือทรู ผู้เข้าเยี่ยมชมสินค้าในเว็บเพิ่มขึ้น 10% คาดปี 2556 ยอดการซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซเครือทรูราว 10,000 ล้านบาทเติบโตขึ้น 30%
ประเด็นหลัก
"ทรู" ชี้ชอปผ่านมือถือเพิ่ม 35%
ทั้งนี้ จากสถิติของเว็บไซต์วีเลิฟชอปปิง ในเครือทรู ผู้เข้าเยี่ยมชมสินค้าในเว็บเพิ่มขึ้น 10% ปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมราว 420,000 คนต่อวัน ขณะที่สัดส่วนผู้เข้าชมเว็บผ่านโมบายดีไวซ์เติบโตขึ้นเช่นกันจาก 12% เมื่อปี 2555 เป็น 35% ในปีนี้
"การเข้ามาทำตลาดของแบรนด์ใหญ่ๆ จากต่างประเทศเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับความสนใจและเติบโตมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่ การก้าวเข้าสู่เออีซีทำให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญในการเข้าถึงลูกค้าผ่านออนไลน์มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการขาย การทำอีคอมเมิร์ซแบบบีทูซีจึงเป็นช่องทางที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญ"
ปัจจุบันกลุ่มทรูมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ได้แก่ วีเลิฟชอปปิง มีสินค้าราว 8.9 ล้านชิ้น จากร้านค้ากว่า 340,000 ร้าน เว็บไอทรูมาร์ท (iTrueMart) เว็บบริการเน้นเจาะผู้ค้าระดับกลางและใหญ่ เปิดให้เจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาขาย โดยปี 2556 คาดยอดการซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซเครือทรูราว 10,000 ล้านบาทเติบโตขึ้น 30%
สำหรับสินค้าท็อปทรีในเว็บได้แก่ 1.สินค้าแฟชั่น 2.สมาร์ทโฟน 3.สินค้าความงาม นอกจากนี้ สินค้าที่มีสัดส่วนการซื้อขายเติบโตเป็นเท่าตัว ได้แก่ สินค้าแม่และเด็ก และสินค้าประเภทอาหารและสุขภาพ
______________________________________
จับตา 'ทุนข้ามชาติ' บุกอีคอมเมิร์ซไทย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
จับตา "กลุ่มทุนต่างชาติ" รุกตั้งบริษัททำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยปีหน้า "ราคูเท็น ตลาดดอทคอม"ชี้บริษัทยักษ์อีคอมเมิร์ซจีนโดดตั้งบริษัทในไทยแน่
ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ยังคงหอมหวานสำหรับกลุ่มทุนต่างชาติ ซึ่งที่ผ่านมาเข้ามาจับจองพื้นที่ในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยให้เห็นบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นราคูเท็น จากญี่ปุ่น ซาโลร่า ลาซาด้า กลุ่มยุโรป และล่าสุดคาดว่า ปีหน้าอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากจีน "อาลีบาบา" ก็พร้อมเข้ามาตั้งสำนักงานไทย เพื่อขับเคี่ยวในสมรภูมิอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบ
นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง ราคูเท็น ตลาดดอทคอม กล่าวว่า การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซปีหน้าจะคึกคักเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้ามาของกลุ่มทุนข้ามชาติ โดยเฉพาะจีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่คาดว่าจะเข้ามารุกตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยอย่างเต็มที่ ส่งผลให้มีเงินสะพัดในธุรกิจนี้มหาศาลมาก
ขณะเดียวกัน ผู้เล่นในตลาดแต่ละรายจะเริ่มแข่งขันกันเรื่อง "แพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ" กันมากขึ้นด้วย ทำให้การซื้อขายออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จับตากลุ่มทุนข้ามชาติ
"กลุ่มทุนข้ามชาติเหล่านี้ จะดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโตขึ้นมาก เพราะแต่ละรายจะพกกลยุทธ์การทำตลาดกันมาแบบเต็มที่เป็น Vertical Commerce เฉพาะกลุ่มมากขึ้น คาดว่าปีหน้าตลาดอีคอมเมิร์ซจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30%"
ส่วนภาพรวมการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซปีนี้มีราว 20% เทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน แทบเล็ตเติบโตอย่างก้าวกระโดด ขณะที่การซื้อขายผ่านโซเชียล เน็ตเวิร์คก็ยังเติบโตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2554 ตลาดรวมอีคอมเมิร์ซในกลุ่มบีทูซี มีมูลค่า 99,706 ล้านบาท ขณะที่ปี 2555 กลุ่มบีทูซี มีมูลค่าราว 119,647 ล้านบาท
ส่วนของเว็บไซต์ราคูเท็น ตลาดดอทคอม มียอดการซื้อขายเติบโตขึ้นมากกว่า 40% ซึ่งจากนี้ไปบริษัทเตรียมอัดกลยุทธ์เพิ่ม ล่าสุดรีแบรนด์ "ราคูเท็น ตลาดดอทคอม" ผุดเว็บไซต์ rakuten.co.th สยายปีกให้บริการผู้ค้าออนไลน์ในไทยเพิ่ม โดยเว็บนี้จะเริ่มให้บริการได้ราวปีหน้า
นายสืบสกุล สกลสัตยาทร ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเทนท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด กล่าวว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตลอด จากการให้บริการ 3จี ของค่ายต่างๆ ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านมือถือเติบโตรวดเร็ว และมีแนวโน้มแข่งขันเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดอย่างดุเดือด
ปีนี้ผู้ใช้บริการ 3จี มีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวคิดเป็นประมาณ 20 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 ล้านคน
"ทรู" ชี้ชอปผ่านมือถือเพิ่ม 35%
ทั้งนี้ จากสถิติของเว็บไซต์วีเลิฟชอปปิง ในเครือทรู ผู้เข้าเยี่ยมชมสินค้าในเว็บเพิ่มขึ้น 10% ปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมราว 420,000 คนต่อวัน ขณะที่สัดส่วนผู้เข้าชมเว็บผ่านโมบายดีไวซ์เติบโตขึ้นเช่นกันจาก 12% เมื่อปี 2555 เป็น 35% ในปีนี้
"การเข้ามาทำตลาดของแบรนด์ใหญ่ๆ จากต่างประเทศเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับความสนใจและเติบโตมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่ การก้าวเข้าสู่เออีซีทำให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญในการเข้าถึงลูกค้าผ่านออนไลน์มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการขาย การทำอีคอมเมิร์ซแบบบีทูซีจึงเป็นช่องทางที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญ"
เขากล่าวด้วยว่า ช่องทางการซื้อสินค้าที่เปลี่ยนไปในยุคนี้ การชอปออนไลน์ผ่านเว็บอีคอมเมิร์ซ และโซเชียล คอมเมิร์ซจะมีบทบาทมากขึ้นในการเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกและเข้าถึงสินค้าในตลาดมากขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องการเดินทาง เวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของการซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทดีไวซ์เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่คนส่วนใหญ่มีติดตัวและพร้อมใช้งานตลอดเวลา
สินค้าอาหารและสุขภาพมาแรง
ปัจจุบันกลุ่มทรูมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ได้แก่ วีเลิฟชอปปิง มีสินค้าราว 8.9 ล้านชิ้น จากร้านค้ากว่า 340,000 ร้าน เว็บไอทรูมาร์ท (iTrueMart) เว็บบริการเน้นเจาะผู้ค้าระดับกลางและใหญ่ เปิดให้เจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาขาย โดยปี 2556 คาดยอดการซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซเครือทรูราว 10,000 ล้านบาทเติบโตขึ้น 30%
สำหรับสินค้าท็อปทรีในเว็บได้แก่ 1.สินค้าแฟชั่น 2.สมาร์ทโฟน 3.สินค้าความงาม นอกจากนี้ สินค้าที่มีสัดส่วนการซื้อขายเติบโตเป็นเท่าตัว ได้แก่ สินค้าแม่และเด็ก และสินค้าประเภทอาหารและสุขภาพ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/
it/20131120/544484/%E0%B8%88%E0%B8%B
1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2-
%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0
%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8
%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95
%E0%B8%B4-
%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0
%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8
%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4
%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html
ไม่มีความคิดเห็น: