Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2556 Telenor(พ่อDTAC).ซิคเว่ เบรคเก้ ระบุการแข่งขันระดับโลกต่างกัน ไทย เน้นการให้บริการ "แฮปปี้" แต่ถ้า อินเดีย ต้อง "Best Price" ทำให้ลูกค้าจดจำได้ว่าเราถูกที่สุด


ประเด็นหลัก




โดยส่วนตัวเชื่อว่าแนวคิดในการบริหารที่ได้ใช้ตอนยังเป็นซีอีโอดีแทค ทั้งหมดยังอยู่ในตัวพนักงาน และกลายเป็นวัฒนธรรมของดีแทคไปแล้ว เชื่อ ว่าดีแทคยังเป็นองค์กรที่แฮปปี้อยู่ และยังมีความสำคัญกับเทเลนอร์มาก เพราะมีอัตราการเติบโตสูงสุด และเป็นฐานรายได้สำคัญให้เทเลนอร์ กรุ๊ป

ขณะเดียวกัน ต้องทำให้ลูกค้าเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย การสร้างแบรนด์ "แฮปปี้" ของดีแทค ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง เราใช้เวลา 3 อาทิตย์คิดหาแบรนด์ที่จะส่งความสุขให้ลูกค้า จน เกิดเป็น "แฮปปี้" แบรนด์ที่สื่อถึง Value (คุณค่า) ทุกอย่างที่เราต้องการส่งไปให้ลูกค้ารับรู้ได้ชัดเจน รวมกับการใช้สโลแกนให้โดนใจลูกค้า

Value ของแบรนด์ต้องตอบโจทย์ให้ตรงตลาด ในอินเดีย "Best Price" ทำให้ลูกค้าจดจำได้ว่าเราถูกที่สุด ส่วนในพม่าเรากำลังศึกษาทั้งหมดต้องเน้นให้จำได้ง่าย


______________________________________



บริหารคนสไตล์ "ซิคเว่ เบรคเก้" "เทเลนอร์" ดัน "ดีแทค" เกาะขบวน 4G



เมื่อครั้งที่ "ซิคเว่ เบรคเก้" ยังเป็นซีอีโอ "ดีแทค" (2545-2551) เขาเป็นผู้บริหารระดับสูงบริษัทชั้นนำของไทยไม่กี่คนที่ชาวบ้านร้านตลาด รู้จักและคุ้นเคย เนื่องจากลุกขึ้นมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แบรนด์สินค้าและองค์กรคู่กับ "โคซีอีโอ-วิชัย เบญจรงคกุล"และบรรดาแม่ทัพการตลาด

นำพาองค์กรก้าวข้ามความยากลำบาก จากปัญหาทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากไทยมาเป็นฝรั่ง (เทเลนอร์)
ซึ่งต่างฝ่ายต่างต้องปรับตัวไม่ใช่น้อย

ความ สำเร็จใน "ดีแทค" นำพาให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง "ซีอีโอ" เทเลนอร์ เอเชีย ดูแลการลงทุน 6 ประเทศ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศมีปัญหาไม่ใช่น้อย แตกต่างกันไป แต่ทุกอย่างก็คลี่คลายได้ในที่สุด

ล่าสุด "เทเลนอร์" ยังคว้าใบอนุญาตใน "พม่า" มาได้ในฐานะผู้บริหารมืออาชีพ อะไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านั้น "ประชาชาติธุรกิจ" มีคำตอบ

- หัวใจสำคัญของการบริหาร

จาก ประสบการณ์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร เป็นครู เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ จนถึงวันนี้ได้เห็นว่าการบริหารคนสำคัญที่สุด อย่างดีแทคเป็นการขายบริการบนอากาศ ไม่สามารถจับต้องได้ ตัวสินค้าไม่ได้แตกต่างจากคู่แข่ง ฉะนั้นการสร้างความแตกต่างให้ดีกว่า เหนือกว่าได้ คือการสร้างบริการด้วยคนที่แตกต่างออกไป

ขณะที่การ สร้างองค์กรให้เข้มแข็ง ไม่ได้อยู่ที่รายได้หรือผลกำไร แต่วัตถุดิบสำคัญคือพนักงานที่จะพาองค์กรให้เดินต่อได้ สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำ คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน และทำให้พนักงานเห็นคุณค่าของบริษัท

- อะไรคือวิธีของซิคเว่

ต้อง ลงมือทำ และการเข้าไปสัมผัสกับคน แค่การประชุมหรือการตอบอีเมล์ไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจ หลายคนพอมีตำแหน่งสูง ๆ แล้วต้องใส่สูทจะทำตัวเข้าถึงยาก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วทุก ๆ คน ทุกตำแหน่งในบริษัทต่างมีความสำคัญ ต่างกันแค่ทำงานต่างกันสิ่งที่ผู้นำต้องทำ คือ การกำหนดกลยุทธ์ กลยุทธ์ทุกอย่างต้องง่าย ง่าย ที่จะเข้าใจ ง่ายที่จะปฏิบัติ กลยุทธ์ที่ดีต้องทำให้ทุกคนในองค์กรทั้งซีอีโอและพนักงานจดจำและบอกได้ทันที เมื่อโดนถาม ไม่ใช่การหยิบพรีเซ็นเตชั่นหรือแผนงานประจำปีออกมาตอบว่า กลยุทธ์ของบริษัทคืออะไร

ขณะเดียวกัน ต้องทำให้ลูกค้าเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย การสร้างแบรนด์ "แฮปปี้" ของดีแทค ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง เราใช้เวลา 3 อาทิตย์คิดหาแบรนด์ที่จะส่งความสุขให้ลูกค้า จน เกิดเป็น "แฮปปี้" แบรนด์ที่สื่อถึง Value (คุณค่า) ทุกอย่างที่เราต้องการส่งไปให้ลูกค้ารับรู้ได้ชัดเจน รวมกับการใช้สโลแกนให้โดนใจลูกค้า

Value ของแบรนด์ต้องตอบโจทย์ให้ตรงตลาด ในอินเดีย "Best Price" ทำให้ลูกค้าจดจำได้ว่าเราถูกที่สุด ส่วนในพม่าเรากำลังศึกษาทั้งหมดต้องเน้นให้จำได้ง่าย

- เป็นผู้นำที่ชอบลงพื้นที่

ผู้ นำที่ประสบความสำเร็จต้องออกไปคุยกับลูกค้ามากกว่านั่งในออฟฟิศ ไปสัมผัสตลาดเพื่อให้ได้ฟีดแบ็กจริง ๆ แล้วนำกลับมาแก้ปัญหาได้ทันที การออกไปสัมผัสตลาดยังทำให้คุณค่าของแบรนด์เพิ่มขึ้น เมื่อผู้นำลงมือทำ พนักงานก็จะทำตาม จึงช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีด้วย

ผู้นำต้อง เป็นนักเล่าเรื่องตัวยงขององค์กร ทุกวันนี้ผมยังใช้เวลา 3 วันต่อสัปดาห์ออกไปเล่าเรื่องกับลูกค้า กับพนักงาน กับพาร์ตเนอร์ เล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสื่อสารให้คนเข้าใจว่า อะไรคือคุณค่าของบริษัท และสิ่งที่กำลังทำ ทำเพื่ออะไร

ผู้นำขององค์กรต้องทำหน้าที่นี้ ไม่ใช่ไปจ้างผู้เชี่ยวชาญข้างนอกมาบรรยาย เพราะใครจะรู้เรื่องภายในองค์กรได้ดีเท่ากับเรา

แม้ในการทำงานสำหรับพนักงาน เงิน เดือนและโบนัสคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ถ้าผู้นำสามารถเข้าถึงความรู้สึก ทำให้พนักงานกลับบ้านด้วยความรู้สึกที่ดีกับการทำงานในทุก ๆ วันได้ คือการสร้าง Value ให้เกิดขึ้นในใจ อย่างในบังกลาเทศผมใช้เวลาแค่ 1 วันลงไปคุยกับพนักงานทั้งหมดเพื่อขอบคุณในสิ่งที่พวกเขาทำให้ทั้งปี ฟีดแบ็กที่กลับมามีพลังมหาศาล

การบอกความจริงกับพนักงานด้วยความซื่อสัตย์ทั้งข่าวดีและข่าวร้าย โดยเฉพาะข่าวร้ายขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญมาก
หาก ซีอีโอสบายใจที่จะพูดถึงข่าวร้ายอย่างตรงไปตรงมาไม่ปกปิด พนักงานจะเชื่อมั่นว่า บริษัทจะไม่ปิดบังหรือปกปิดข้อมูลพวกเขา และแสดงถึงความจริงใจที่ซีอีโอมีต่อพนักงาน

ตอนที่เทเลนอร์ในอินเดียสูญเสียไลเซนส์ไป ก็ต้องแจ้งต้องพูดคุยกับพนักงานว่าเกิดอะไรขึ้น และบริษัทจะเดินไปทางไหนต่อ

ใน การทำงานต้องวางเป้าหมายชัดเจน และมีตัววัดที่จับต้องได้ ทุกวันที่พนักงานตื่นขึ้นมาต้องรู้ว่าเขาต้องทำอะไรในวันนี้ เป้าหมายที่วางไว้ ตอนนี้เราไปถึงไหนแล้ว เมื่อสำเร็จก็ต้องมีการฉลอง ทุกคนชอบความสนุกสนาน การสังสรรค์ ไม่จำเป็นต้องรอให้เป็นงานใหญ่หรือโอกาสสำคัญ ทุกวันในออฟฟิศทำให้สนุกได้ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานไปด้วย

- เป็นแนวทางที่ใช้ได้กับทุกองค์กร

ถ้า เป็นบริษัทที่โฟกัสไปที่คน ไม่ว่าจะพนักงานหรือลูกค้านำไปใช้ได้ และเชื่อว่าควรให้ความสำคัญมากกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำ ความรู้สึกของลูกค้าและพนักงานเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น

- แนวคิดนี้ยังเหลืออยู่ในดีแทค

เป็น ความท้าทายที่ซีอีโอทุกคนต้องเจอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารแต่ละคนย่อมมีสไตล์เป็นของตนเอง รวมถึงการบริหารงานบางอย่างอาจต้องเปลี่ยนไป เพราะความท้าทายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยต่างไปจากเดิมมาก

บริการ ไม่ใช่แค่ Voice หรือ SMS เพื่อฟีเจอร์โฟนอีกต่อไป แต่ทุกวันนี้คือสมาร์ทโฟนที่ทำให้เกิดบริการใหม่ ๆ มากมาย จึงมีหลายปัจจัยที่ลูกค้าต้องการมากขึ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจ ทั้งซิมการ์ด แฮนด์เซต และเน็ตเวิร์กที่มากขึ้นและดีขึ้น เป็นส่วนเปลี่ยนผ่านที่ไม่ว่าบริษัทใดก็ต้องเจอ

โดยส่วนตัวเชื่อว่าแนวคิดในการบริหารที่ได้ใช้ตอนยังเป็นซีอีโอดีแทค ทั้งหมดยังอยู่ในตัวพนักงาน และกลายเป็นวัฒนธรรมของดีแทคไปแล้ว เชื่อ ว่าดีแทคยังเป็นองค์กรที่แฮปปี้อยู่ และยังมีความสำคัญกับเทเลนอร์มาก เพราะมีอัตราการเติบโตสูงสุด และเป็นฐานรายได้สำคัญให้เทเลนอร์ กรุ๊ป

- ปีหน้าคาดหวังกับดีแทคไว้อย่างไร

ดี แทคต้องไม่ตกขบวนในการให้บริการดาต้ากับลูกค้า ซึ่งเทเลนอร์จะสนับสนุนดีแทคในทุกเรื่องเพื่อให้ได้เปิดใช้บริการ 4G บนคลื่น 1800 MHz เชื่อว่าจากจำนวนผู้ใช้ดาต้าที่มากขึ้นอย่างก้าวกระโดดจะทำให้ 4G เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินไปสำหรับคนไทย


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1385025034

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.