24 พฤศจิกายน 2556 กสทช.สั้งทุกค่ายมือถือ ( ดูแลสัญญาณ ในพื้นที่ชุมนุม ) AIS ระบุ ทุกการใช้งาน คือ รายได้ของบริษัท!!! ติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่ม 2 จุด และเปลี่ยนอุกรณ์รองรับอีก 6 ไซต์ ตั้งทีมเฝ้าดูตลอด 24 ชั่วโมง
ประเด็นหลัก
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากหน่วยงานใดให้ตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในบริเวณที่มีการชุมนุมทางการเมืองทุกจุด ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะสามารถใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติ
ทั้งนี้ การใช้งานพร้อมกันในพื้นที่ชุมนุม อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรองรับโครงข่ายมือถือที่ลดลง ซึ่งกสทช.ได้สั่งการให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกรายดูแลและตรวจสอบคุณภาพสัญญาณให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากพบปัญหาจากการใช้บริการสามารถแจ้ง และร้องเรียนมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ได้ทันที
ส่วน นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ยืนยันว่าเครือข่ายของเอไอเอสไม่มีการตัดสัญญาณทุกพื้นที่การชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นราชดำเนิน สะพานมัฆวาน หรือสนามราชมังคลาฯ เพราะทุกการใช้งาน คือ รายได้ของบริษัท นอกจากนี้ ยังติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่ม 2 จุด และเปลี่ยนอุกรณ์รองรับอีก 6 ไซต์ ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวได้หลายหมื่นคน อีกทั้ง มีทีมเฝ้าดูตลอด 24 ชั่วโมง และถ้าพบว่าสัญญาณจุดไหนมีปัญหาก็จะแจ้งเข้ามาทันที ล่าสุดยังไม่ได้รับรายงาน พร้อมแนะนำประชาชนที่ใช้งานให้รอช่วงโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ เพราะการใช้งานอาจล่าช้าบ้างแต่ไม่ถึงกับไร้สัญญาณ.
______________________________________
กสทช.ยันไม่มีตัดสัญญาณมือถือพื้นที่ชุมนุม
กสทช. ยืนยันไม่มีการตัดสัญญาณมือถือในพื้นที่ชุมนุม พร้อมกำชับผู้ให้บริการดูแลคุณภาพสัญญาณ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานจากหน่วยงานใดให้ตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในบริเวณที่มีการชุมนุมทางการเมืองทุกจุด ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะสามารถใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติ
ทั้งนี้ การใช้งานพร้อมกันในพื้นที่ชุมนุม อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรองรับโครงข่ายมือถือที่ลดลง ซึ่งกสทช.ได้สั่งการให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกรายดูแลและตรวจสอบคุณภาพสัญญาณให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากพบปัญหาจากการใช้บริการสามารถแจ้ง และร้องเรียนมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ได้ทันที
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%
A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/260859/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8
%8A-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8
%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0
%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89
%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8
%B8%E0%B8%A1
______________________________________
ไอซีที ยันไร้ตัดสัญญาณมือถือผู้ชุมนุมทุกพื้นที่
รมว.ไอซีที ยืนยัน รัฐไม่มีนโนบายตัดสัญญาณมือถือทุกพื้นที่ชุมนุม ชี้ใช้งานมากช่องสัญญาณเต็ม ขณะที่ กสทช. ย้ำหากรัฐจะตัดสัญญาณ ต้องแจ้งล่วงหน้า ยกเว้นในเขตพื้นที่ประกาศใช้ พรบ.มั่นคง....
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสืื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงกระแสข่าวการตัดสัญญาณมือถือในเขตพื้นที่ชุมนุมว่า ขณะนีี้ รัฐบาลไม่มีนโยบายในการดำเนินการดังกล่าว เพราะการตัดสัญญาณทำให้กระทบกับการสื่อสารทุกฝ่าย และการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกับเรื่อง คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณ 117 ล้านบาท ให้กระทรวงกลาโหม จัดซื้อเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตระยะไกล เพื่อใช้การควบคุมสถานการณ์การชุมนุม เพราะการเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้ระยะเวลานาน อีกทั้ง ยังเป็นการบิดเบือนข้อมูล
"ยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายตัดสัญญาณในเขตพื้นที่ชุมนุมทุกแห่ง เรื่องนี้ถ้าคิดในทางกลับกันเจ้าหน้าที่รัฐก็ได้รับปัญหา และโดยหลักการเป็นไปไม่ได้ เพราะผิดหลักในการดูแลความสงบเรียบร้อย" รมว.ไอซีที กล่าว
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาการใช้งานสัญญาณมือถือที่เกิดขึ้น ประเมินว่าเป็นการใช้งานของหลายคนในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการใช้งานพร้อมกันในจำนวนมาก ช่องสัญญาณอาจเต็ม และทำให้เกิดสัญญาณขัดข้องได้ ซึ่งจุดนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายก็อาจมีวิธีขยายช่อง สัญญาณ
ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หากรัฐบาลจะตัดสัญญาณมือมือ จะต้องแจ้งมาที่ สำนักงาน กสทช. ให้ทราบล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง เพราะเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เหมือนครั้งเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา และยังเป็นสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่ฝ่ายรัฐบาลจะดำเนินการกับเรื่องคลื่นโทรศัพท์ ยกเว้นกรณีที่ รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องแจ้ง กสทช. เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ครอบคลุม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ซึ่งเป็นกฎหมายของ กสทช. อยู่ด้วย
ขณะเดียวกัน กสทช. ได้สั่งการให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายดูแลและตรวจสอบคุณภาพ สัญญาณให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากการกระทำการดังกล่าวของรัฐบาล สร้างความเดือดร้อนเรื่องการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตให้แก่ประชาชน และมีการร้องเรียนเข้ามาที่ สำนักงาน กสทช. ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใด กสทช.ก็ต้องทำหนังสือแจ้งไปที่รัฐบาลเพื่อขอดูรายละเอียดดังกล่าว
ส่วน นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ยืนยันว่าเครือข่ายของเอไอเอสไม่มีการตัดสัญญาณทุกพื้นที่การชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นราชดำเนิน สะพานมัฆวาน หรือสนามราชมังคลาฯ เพราะทุกการใช้งาน คือ รายได้ของบริษัท นอกจากนี้ ยังติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่ม 2 จุด และเปลี่ยนอุกรณ์รองรับอีก 6 ไซต์ ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวได้หลายหมื่นคน อีกทั้ง มีทีมเฝ้าดูตลอด 24 ชั่วโมง และถ้าพบว่าสัญญาณจุดไหนมีปัญหาก็จะแจ้งเข้ามาทันที ล่าสุดยังไม่ได้รับรายงาน พร้อมแนะนำประชาชนที่ใช้งานให้รอช่วงโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ เพราะการใช้งานอาจล่าช้าบ้างแต่ไม่ถึงกับไร้สัญญาณ.
โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/385018
ไม่มีความคิดเห็น: