28 พฤศจิกายน 2556 กสทช.สุภิญญา ระบุ พบว่าช่วงระยะเวลา 3 เดือน (ธ.ค.55- ก.พ.56) มีการโฆษณาที่เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภคผ่านวิทยุชุมชน เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม โฆษณาเกินจริง ถึง 102 ผลิตภัณฑ์
ประเด็นหลัก
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่ห้องกมลทิพย์ โรงแรมเดอะสุโกศล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า กสทช.ได้ดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายร้องเรียนการโฆษณาอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ทั้งนี้ พบว่าช่วงระยะเวลา 3 เดือน (ธ.ค.55- ก.พ.56) มีการโฆษณาที่เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภคผ่านวิทยุชุมชน เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีเนื้อหาการโฆษณาข้อความที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงในการให้ผลลัพธ์ทั้งสุขภาพร่างกาย ความสวยงามและลดความอ้วนถึง 102 ผลิตภัณฑ์ โดยแยกเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ 60 ผลิตภัณฑ์ ยา 32 ผลิตภัณฑ์และอาหาร 10 ผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กาแฟ น้ำผักผลไม้ น้ำสมุนไพรสกัดและเครืี่องดื่มลดน้ำหนักมีการโฆษณามากที่สุด
น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้ส่งให้คณะกรรมการอาหารและยา(อย.)พิจารณาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้อย.ชี้แจ้งว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ใดที่เกี่ยวข้องบ้าง เนื่องจาก กสทช.ไม่มีอำนาจในการตัดสินได้ว่าผลิตภัณฑ์แบบใดเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในขณะเดียวกันจะได้นำข้อมูลจากเครือข่ายการเฝ้าระวังนี้นำเสนอต่อที่ประชุม กสท.เนื่องจากจำเป็นต้องใช้พิจารณาประกอบกับการร้องเรียนของผู้บริโภค ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยในการตัดสินในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการอีก 2 ปี ของทีวีดาวเทียม
______________________________________
?กสทช. เผยโฆษณาเกินจริง 3 เดือน พุ่ง 102 ผลิตภัณฑ์?
กสทช. เผยโฆษณาเกินจริง 3 เดือน พบตัวเลขสูง 102 ผลิตภัณฑ์ เตรียมชงเสนอ กสท.ประกอบการตัดสินใจต่ออายุใบอนุญาตทีวีดาวเทียม - เคเบิลทีวี
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่ห้องกมลทิพย์ โรงแรมเดอะสุโกศล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า กสทช.ได้ดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายร้องเรียนการโฆษณาอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ทั้งนี้ พบว่าช่วงระยะเวลา 3 เดือน (ธ.ค.55- ก.พ.56) มีการโฆษณาที่เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภคผ่านวิทยุชุมชน เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีเนื้อหาการโฆษณาข้อความที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงในการให้ผลลัพธ์ทั้งสุขภาพร่างกาย ความสวยงามและลดความอ้วนถึง 102 ผลิตภัณฑ์ โดยแยกเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ 60 ผลิตภัณฑ์ ยา 32 ผลิตภัณฑ์และอาหาร 10 ผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กาแฟ น้ำผักผลไม้ น้ำสมุนไพรสกัดและเครืี่องดื่มลดน้ำหนักมีการโฆษณามากที่สุด
น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้ส่งให้คณะกรรมการอาหารและยา(อย.)พิจารณาเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้อย.ชี้แจ้งว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ใดที่เกี่ยวข้องบ้าง เนื่องจาก กสทช.ไม่มีอำนาจในการตัดสินได้ว่าผลิตภัณฑ์แบบใดเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในขณะเดียวกันจะได้นำข้อมูลจากเครือข่ายการเฝ้าระวังนี้นำเสนอต่อที่ประชุม กสท.เนื่องจากจำเป็นต้องใช้พิจารณาประกอบกับการร้องเรียนของผู้บริโภค ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยในการตัดสินในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการอีก 2 ปี ของทีวีดาวเทียม
"กสทช.มองว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของเครือข่ายเฝ้าระวังนี้ดีมาก แต่ด้าน กสทช.ไม่สามารถทำอะไรได้นอกเหนือจากการรอข้อมูลจาก อย.อีกครั้ง โดยขอให้ผู้บริโภคที่รับชมสื่อท้องถิ่นโดยเฉพาะวิทยุชุมชน ที่เป็นสถานีหลุมดำหรือสถานีเถื่อน อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณโอ้อวดเกินจริงว่าช่วยรักษาให้หายขาดได้ " น.ส.สุภิญญากล่าว
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=198230
ไม่มีความคิดเห็น: